ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏแมนฮัตตัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
QueerEcofeminist (คุย | ส่วนร่วม)
Reverted good faith edits by 27.55.67.39 (talk): Rv. (TW)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
| conflict = กบฏแมนฮัตตัน
| partof =
| image = [[ภาพไฟล์:Manhattan Rebellion 26-6-2494.jpg|270px]]
| caption = นาวาตรี มนัส จารุภา กำลังวิ่งขึ้นเรือแมนฮัตตัน
| date = 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494
บรรทัด 12:
| combatant2 = กลุ่มทหารเรือชื่อ "คณะกู้ชาติ"
| commander1 = [[ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png|25px]] [[ฟื้น ฤทธาคนี|พลอากาศเอก ฟื้น ฤทธาคนี]]<br> [[ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png|25px]] [[ผิน ชุณหะวัณ|พลเอก ผิน ชุณหะวัณ]]<br> [[ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png|25px]] [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|พลโท สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] <br> [[ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png|25px]] [[เผ่า ศรียานนท์|พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์]]<br> [[ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png|25px]] น.ต. พร่างเพชร์ บุญยพันธ์
| commander2 = น.อ. อานนท์ ปุณฑริกกาภา <br> น.ต. มนัส จารุภา
| commander3 =น.ต.ประกายพุทธารี
| casualties3 =
บรรทัด 19:
}}
 
'''กบฏแมนฮัตตัน''' หรือ '''กรณีแมนฮัตตัน''' ชื่อเรียกเหตุการณ์การกบฏในวันที่ [[29 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2494]] เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะกู้ชาติ" นำโดย [[มนัส จารุภา|น.ต.มนัส จารุภา ร.น.]]ผู้บังคับการเรือหลวงรัตนโกสินทร์ พลเรือตรี [[ทหาร ขำหิรัญ]] นายทหารนอกราชการ อดีตผู้บังคับการกรมนาวิกโยธิน นาวาเอก [[อานนท์ ปุณฑริกาภา]] ผู้บังคับการกองสำรองเรือรบ นาวาตรี [[ประกาย พุทธารี]] สังกัดกรมนาวิกโยธิน และ นาวาตรี [[สุภัทร ตันตยาภรณ์]] สังกัดกรมนาวิกโยธิน ทำการกบฏจี้ตัว[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรี ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ "แมนฮัตตัน" ที่[[ท่าราชวรดิฐ]] โดยนำไปกักขังไว้ในเรือรบหลวงชื่อ "[[เรือรบหลวงศรีอยุธยา|ศรีอยุธยา]]" ที่จอดรออยู่กลาง[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]
 
ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะผู้ก่อการคิดจะก่อการในลักษณะเช่นนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่สบจังหวะที่เหมาะสม จึงได้แต่เลื่อนออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวลาลงมือจริง หลายฝ่ายที่ถูกชักชวนให้ลงมือก็คาดว่าจะต้องมีการเลื่อนอีกแน่นอน จึงมิได้ปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้
บรรทัด 27:
ในเหตุการณ์กบฏ หัวหน้าคณะก่อการ คือ [[อานนท์ ปุณฑริกกาภา|น.อ.อานนท์ ปุณฑริกกาภา]] ร.น. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง [[ชื้น จารุวัสส์|พระยาสารสาสน์ประพันธ์]] ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของ[[กรมการรักษาดินแดน]] (ร.ด.) โดยได้ให้[[นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |นายวรการบัญชา]] ประธาน[[สภาผู้แทนราษฎร]] รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่[[ทำเนียบรัฐบาล]] (ในขณะนั้นคือ [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]]) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ ซึ่งตามแผนการของผู้ก่อการแล้ว ฝ่ายก่อการต้องยึดโรงไฟฟ้าและสถานีโทรศัพท์กลาง ที่หน้าวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) ให้ได้ โดยเรือรบหลวงศรีอยุธยาจะต้องแล่นผ่าน[[สะพานพระพุทธยอดฟ้า]] ซึ่งเปิดรอ เพื่อไปตั้งกองบัญชาการที่ฝั่งพระนคร และมีกำลังทหารจากต่างจังหวัดยกเข้ามาสมทบทั้งทหารเรือและทหารบก แต่เมื่อลงมือจริง ๆ แล้วกลับไม่เป็นไปตามนั้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าก็ไม่เปิด และในที่สุดเครื่องยนต์เรือก็เสียจากการถูกโจมตีหนัก โดยในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร]] ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ใช้อำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ใช้กำลังทหารเพื่อปราบจลาจล<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/041/1.PDF</ref> และในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น. ต่อมาพระบรมราชโองการประกาศ[[กฎอัยการศึก]]ใน[[จังหวัดพระนคร]]และ[[จังหวัดธนบุรี]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/041/3.PDF</ref>โดยผ่าน[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร]] นับว่าเป็นการใช้[[กฎอัยการศึก]]ครั้งแรกในรัชกาลของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]มี[[นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)|วรการบัญชา]]เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
 
ในส่วนของกองบัญชาการฝ่ายรัฐบาลที่ตั้งขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ฝ่ายกองทัพเรือ โดย พล.ร.อ.[[สินธุ์ กมลนาวิน]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารเรือ|ผู้บัญชาการทหารเรือ]] ได้ส่งผู้แทนหลายคนเข้าพบนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการระดับสูงของทางรัฐบาล เพื่อยืนยันว่า กรณีนี้ทางฝ่ายทหารเรือส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เป็นเพียงการกระทำการของนายทหารชั้นผู้น้อยไม่กี่นายเท่านั้น เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดระหว่างกองทัพ แต่กระนั้น ทาง พล.อ.[[ผิน ชุณหะวัณ]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารบก|ผู้บัญชาการทหารบก]] รวมถึง พล.ท.[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] แม่ทัพภาคที่ 1 ได้ยืนยันว่า การกระทำเช่นนี้นับว่าอุกอาจมาก เพราะเป็นการกระทำต่อหน้าทูตต่างชาติหลายประเทศ รวมทั้งจะให้ทางฝ่ายทหารเรือแอบขึ้นเรือรบหลวงศรีอยุธยาในยามวิกาลเพื่อบุกชิงตัวจอมพล ป. กลับคืนมาให้ได้ภายในเวลา 05.00 น. ของวันที่ [[30 มิถุนายน]] พ.ศ. 2494 ไม่เช่นนั้นจะยิงทุกจุดที่มีทหารเรืออยู่ เพราะถือว่าเป็นการถ่วงเวลาเพื่อรอกำลังฝ่ายกบฏมาสมทบ แต่ทางฝ่ายทหารเรือไม่กล้าที่จะทำเช่นนั้น โดยให้เหตุผลว่าหากทำเช่นนั้น เกรงว่าจอมพล ป. จะได้รับอันตรายได้
[[ไฟล์:HTMS Sri Ayutthaya before sinking.jpg|thumb|250px|left|เรือหลวงศรีอยุธยา ขณะถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก]]
 
การสู้รบกันขึ้นเมื่อเวลา 04.30 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เริ่มจากฝ่ายรัฐบาล โดยกองทัพบกภายใต้การนำของ พลโท [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] กองทัพอากาศภายใต้การบัญชาของพลอากาศเอก [[ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี]] และกำลังตำรวจโดยพลตำรวจโท [[เผ่า ศรียานนท์]] การสู้รบแพร่ขยายไปอย่างกว้างขวาง ทหารบกเริ่มโจมตีจากด้านพระนคร กองทัพอากาศเริ่มทิ้งระเบิดที่กรมอู่ทหารเรือ และตำแหน่งคลังเชื้อเพลิง
 
ในที่สุดมีการทิ้งระเบิดขนาด 50 กก. จากเครื่องบินแบบ [[Spitfire]] และ T6 ใส่[[เรือรบหลวงศรีอยุธยา]]ที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ลูกระเบิดดังกล่าวทะลุดาดฟ้าลงไประเบิดในคลังกระสุนใต้ท้องเรือ<ref>{{cite web | url = https://www.silpa-mag.com/old-photos-tell-the-historical-story/article_1309 | title = นายทหารผู้ทำลาย “เรือหลวงศรีอยุธยา” เผย “เสียใจ-ไม่ได้ตั้งใจ” แต่เป็นเพราะ “ระเบิดเสื่อม” | publisher = ''ศิลปะวัฒนธรรม'' | date = 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 | quote = แต่ระเบิดที่เอาไปใช้มันเสื่อม ถ้าเป็นระเบิดใหม่กระทบดาดฟ้าก็ระเบิด ถึงไฟไหม้ก็ไหม้เพียงบนดาดฟ้าพอดับได้ไม่ถึงกับจม แต่นี่มันเป็นระเบิดเก่าทะลวงดาดฟ้าลงไประเบิดข้างล่าง แถมเจอกองกระสุนในเรือเข้าอีก เลยระเบิดกันใหญ่ (น.ต. พร่างเพชร์ บุญยพันธ์)}}</ref> จึงจนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน [[พ.ศ. 2494]] เรือก็จม และในเวลา 17.00 เรือหลวงคำรณสินธุ์ ซึ่งทำหน้าที่คุ้มครองคลังน้ำมันอยู่ที่บริเวณกรมอู่ทหารเรืออับปางลงอีกลำหนึ่ง ส่วน[[กรมอู่ทหารเรือ]]ไฟไหม้เสียหายทั้งหมด จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือสวมเสื้อชูชีพนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ ที่สุดทั้งฝ่ายกบฏและรัฐบาลเปิดการเจรจากัน ฝ่ายกบฏได้ปล่อยตัวจอมพล ป. ให้กับฝ่ายรัฐบาล โดยผ่านทางทหารเรือด้วยกัน ซึ่ง พล.ร.อ.สินธุ์ ก็ได้นำตัวคืนสู่[[วังปารุสกวัน]] กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในเวลาประมาณ 23.00 น. ของวันนั้น
 
ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 22]] และกระทรวงกลาโหมได้มีประกาศและคำสั่ง ให้ [[หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)]] ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือโท หลวงเจริญราชนาวา (เจริญ ทุมมานนท์) รองผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือโท ผัน นาวาวิจิต ผู้บัญชาการกองเรือรบ พลเรือตรี ชลิต กุลกำม์ธร รองผู้บัญชาการกองเรือรบ พลเรือตรี กนก นพคุณ ผู้บังคับการมณฑลทหารเรือที่ 1 พลเรือตรี ประวิศ ศรีพิพัฒน์ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ พลเรือตรี ดัด บุนนาค เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ ผู้บังคับการกองสัญญาณทหารเรือ และ พลเรือตรี สงวน รุจิราภา นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ ถูกพักราชการและปลดออกจากตำแหน่ง และในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกองทัพเรือในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2494<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/045/4.PDF พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกองทัพเรือในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2494]</ref> ต่อมาในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2494 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกเลิก[[กฎอัยการศึก]]ใน[[จังหวัดพระนคร]]และ[[จังหวัดธนบุรี]] ในวันที่ โดยผ่าน[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/056/1.PDF</ref> และในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 คณะบริหารประเทศชั่วคราวก่อ [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494]] และได้แต่งตั้ง พลตำรวจโท [[เผ่า ศรียานนท์]] อธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้รักษาความสงบทั่วราชอาณาจักร<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/071/9.PDF</ref>เป็นอันสิ้นสุดเหตุการณ์
 
ในส่วนของผู้ก่อการได้ถูกบีบบังคับให้ขึ้นรถไฟไปทางภาคเหนือ จากนั้นจึงแยกย้ายกันหลบหนีข้ามพรมแดนไป[[พม่า]]และ[[สิงคโปร์]] ในส่วนของ น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี [[พ.ศ. 2495]]
 
โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เฉพาะผู้เสียชีวิตมีจำนวนประมาณ 187 ราย<ref>[http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8E%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99กบฎแมนฮัตตัน กบฎแมนฮัตตัน ฐานข้อมูลการเมืองสถาบันพระปกเกล้า]</ref> แบ่งเป็นประชาชน 118 ราย ทหารเรือ 43 ราย ทหารบก 17 ราย และ ตำรวจ 9 ราย นับเป็นเหตุการณ์สงครามกลางเมืองที่คนไทยฆ่าคนไทยมากที่สุดจวบจนปัจจุบัน ความเสียหายที่เป็นสิ่งของและอาวุธยุทโธปกรณ์ในส่วนของประชาชน ทางราชการได้แถลงว่าทรัพย์สินของประชาชนที่เสียหายมีจำนวนถึง 670,000 บาท ไม่นับทรัพย์สินที่ถูกลักขโมยไปในช่วงที่เกิดความวุ่นวายและค่าทำศพของราษฎรอีกเป็นจำนวนมาก โดยรัฐบาลจ่ายให้แก่ผู้เสียชีวิตคนละ 1,500 บาท ผู้ทุพพลภาพคนละ 1,200 บาท และผู้บาดเจ็บสาหัสคนละ 400 บาท ทางด้านความสูญเสียและความเสียหาย กองทัพบกเสียหายประมาณ 6,000,000 บาท กองทัพเรือเสียหายมากที่สุด เป็นทรัพย์สินประมาณ 5,000,000 บาท ทั้งนี้ไม่นับรวมมูลค่าเสียหายของเรือหลวงศรีอยุธยาและเรือคำรณสินธ์ที่อับปางลง เรือหลวงศรีอยุธยานั้นเป็นเรือรบที่เรียกว่าเรือปืนหนัก เป็นเรือที่สั่งต่อพิเศษจากประเทศญี่ปุ่น เรือคำรณสินธ์เป็นเรือขนาดเล็ก นอกจากนี้ กรมอู่ทหารเรือยังถูกไฟไหม้วอด มีเชื้อเพลิงและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สูญหายอีกจำนวนมาก เหล่าที่สูญเสียน้อยที่สุดคงเป็นกองทัพอากาศ ซึ่งรัฐบาลถือว่าเป็น “ อัศวินขี่ม้าขาว ”ขาว” ที่ทำให้กบฏครั้งนี้จบลงเร็วขึ้น ส่วนกรมตำรวจเสียหายประมาณ 380,000 บาท งบประมาณที่ใช้ปราบกบฏมีมูลค่าเป็นเงินทั้งหมด 15 ล้านบาท
 
การดำเนินคดีมีการจับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ซึ่งควบคุมตัวไว้ที่สนามกีฬาแห่งชาติ เนื่องจากมีจำนวนมาก ในที่สุดก็ต้องปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เพียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อปี [[พ.ศ. 2500]] เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ ในส่วนของ[[กองทัพเรือไทย|กองทัพเรือ]] แม้ทหารที่ก่อการจะไม่ใช่ทหารระดับสูงและทหารเรือส่วนใหญ่ก็ไม่เกี่ยวข้องด้วย กระนั้น พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ และนายทหารเรือระดับสูงหลายคน ก็ยังต้องโทษตัดสินจำคุกนานถึง 3 ปี โดยที่ไม่มีความผิด และได้มีการปรับลดอัตรากำลังพลของกองทัพเรือลงไปมาก เพราะถือเป็นความพยายามก่อรัฐประหารเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันของทหารเรือ ต่อจาก[[กบฏวังหลวง]] ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นเพียง [[พ.ศ. 2492|2 ปี]] โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ยุบกรมนาวิกโยธินกรุงเทพ, ยุบกองการบินกองทัพเรือไปรวมกับ[[กองทัพอากาศไทย|กองทัพอากาศ]], ย้ายกองสัญญาณทหารเรือที่[[ถนนวิทยุ]] ที่ต่อมากลายเป็นที่ตั้งของ[[โรงเรียนเตรียมทหาร]] ซึ่งในปัจจุบันคือที่ตั้งของ [[วัน แบงค็อก]] นั่นเอง<ref>{{cite news|url=http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=326&contentID=75395|title= 29 มิถุนายน |first=นรนิติ|last=เศรษฐบุตร|date=July 2, 2012|work=เดลินิวส์}}</ref><ref>{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง=[[วินทร์ เลียววาริณ]]
| ชื่อหนังสือ=ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน