ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คนครุ่นคิด (รอแด็ง)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7163307 สร้างโดย 223.206.147.86 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
 
== ประติมากรรม ==
ประติมากรรม "คนครุ่นคิด" เดิมชื่อ "กวี" เป็นงานที่จ้างโดย[[พิพิธภัณฑ์ศิลปะตกแต่งมัณฑนศิลป์]] ({{lang|fr|''Musée des Arts Décoratifs''}}) ในกรุงปารีสเพื่อเป็นรูปปั้นสำหรับประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ รอแด็งได้รับแรงบันดาลใจจาก[[ดีวีนากอมเมเดีย|ไตรภูมิดันเต]]ของ[[ดันเต อาลีกีเอรี]] และตั้งชื่อประตูว่า "[[ประตูนรก]]" ประติมากรรมแต่ละชิ้นเป็นตัวแทนชองของตัวละครจากมหากาพย์ เดิม "คนครุ่นคิด" ตั้งใจจะให้เป็นดันเต อาลีกีเอรี หน้า "[[ประตูนรก]]" ครุ่นคิดถึงมหากาพย์ ในประมากรรมประติมากรรมชิ้นสุดท้าย รูปปั้นเล็กนั่งอยู่เหนือประตูคิดถึงชะตาของผู้อยู่ข้างใต้ ประติมากรรมเป็นรูปเปลือยเพราะรอแด็งต้องการสร้างผู้ที่มีลักษณะเป็นวีรบุรุษทำนองเดียวกับ[[มีเกลันเจโล]] ที่แสดงให้เห็นทั้งด้านสติปัญญาที่เกิดขึ้นจากความยำเกรงในพระเจ้าและความสามารถทางกวีนิพนธ์
 
รอแด็งสร้างปูนหล่อขนาดเล็กในปี ค.ศ. 1880 รูปใหญ่หล่อเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1902 แต่มิได้ตั้งแสดงให้ประชาชนชมจนปี ค.ศ. 1904 ต่อมางานชิ้นนี้ตกไปเป็นของกรุงปารีส และถูกนำไปตั้งอยู่หน้าตึกป็องเตอง [[ตึกป็องเตอง]] (Panthéon) ใน ค.ศ. 1906 และในปี ค.ศ. 1922 ก็ถูกย้ายไปหน้าโรงแรมบีรงที่ต่อมาเป็น[[พิพิธภัณฑ์รอแด็ง]]
 
ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นชิ้นที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดชิ้นหนึ่งของรอแด็ง และมักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความมีสติปัญญา และต่อมาก็เป็นหัวเรื่องการเสียดสีที่เกิดขึ้นเมื่อรอแด็งยังมีชีวิตอยู่
 
== หล่อเพิ่ม ==
ประติมากรรม "คนครุ่นคิด" ถูกหล่ออีกห้าสิบรูป และนำไปตั้งหน้าพิพิธภัณฑ์ในหลายประเทศ ขนาดรูปก็ต่างกันไป บ้างก็ใหญ่กว่ารูปเดิม บ้างก็เล็กกว่า
 
== อ้างอิง ==