ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 87:
โรสเวลต์เกิดในไฮย์ ปาร์ค รัฐนิวยอร์ก ในครอบครัวชาวอเมริกันเชื้อสายดัตช์ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ [[ธีโอดอร์ โรสเวลต์]] ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 26 และวิลเลียม เฮนรี แอสปินวอลล์(William Henry Aspinwall) แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกรอตัน วิลยาลัยฮาร์วาด์ และโรงเรียนกฏหมายโคลัมเบีย และได้ไปซักซ้อมทางด้านกฏหมายในนครนิวยอร์ก ในปี ค.ศ. 1905 เขาได้แต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องของเขาที่ย้ายออกไปคือ เอเลนอร์ โรสเวลต์ พวกเขามีลูกถึงหกคน ซึ่งมีเพียงแค่ห้าคนที่รอดชีวิตจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งวุฒิสภาแห่งรัฐนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1910 และหลังจากนั้นได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการแห่งกองทัพเรือภายใต้การนำโดยประธานาธิบดี[[วูดโรว์ วิลสัน]]ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] โรสเวลต์เป็นคู่หูกับเจมส์ เอ็ม ค็อกซ์ที่เข้าแข่งขันบนตั๋วแห่งชาติของพรรคเดโมแครต ปี ค.ศ. 1920 แต่ค็อกซ์พ่ายแพ่ให้กับ Warren G. Harding ฝ่ายพรรคริพับลิกัน ในปี ค.ศ. 1921 โรสเวลต์ได้มีอาการป่วยเป็นอัมพาตครึ่งท่อนที่มีความเชื่อกันในสมัยนั้นว่าเป็นโรค[[โปลิโอ]] และขาของเขาได้กลายเป็นอัมพาตอย่างถาวร ในขณะที่เขาได้พยายามที่จะฟื้นฟูจากสภาพอย่างนั้น โรสเวลต์ได้ก่อตั้งศูนย์บำบัดในเมืองวอร์มสปิรงส์ รัฐจอร์เจีย สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคโปลิโอ ในสภาพที่ไม่สามารถเดินได้โดยเพียงลำพัง โรสเวลต์ได้เดินทางกลับไปที่สำนักงานสาธารณะด้วยการได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งรับตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1928 เขาได้ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929 ถึง 1933 และทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการปฏิรูป ได้นำเสนอโครงการต่างๆเพื่อต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา
 
ในการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1932 โรสเวลต์ได้พ่ายแพ้ให้กับรับชัยชนะ​ต่อประธานาธิบดี [[เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์]] จากฝ่ายพรรคริพับลิกันที่เอาชนะได้อย่างถล่มทลาย โรสเวลต์ได้เข้ารับตำแหน่งในขณะที่สหรัฐอเมริกากำลังตกอยู่ในท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ วิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งได้เพียงร้อยวันในการประชุมสภาคองเกรสสหรัฐครั้งที่ 73 โรสเวลต์ได้กลายเป็นหัวหอกในการออกกฏหมายของสหรัฐอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนและได้ออกคำสั่งแก่ฝ่ายผู้บริหารจำนวนมาก เมื่อได้จัดตั้งสัญญาใหม่ โครงการต่างๆมากมายที่ถูกออกแบบมาเพื่อการบรรเทา ฟื้นฟู และการปฏิรูป เขาได้สร้างโครงการต่างๆมากมายเพื่อช่วยเหลือบรรเทาแก่ผู้ว่างงานและเกษตรกร ในขณะที่กำลังหาทางการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจด้วยฝ่ายบริหารการฟื้นฟูแห่งชาติ(National Recovery Administration)และโครงการอื่นๆ นอกจากนี้เขายังได้ทำการปฏิรูปทางด้านกฏระเบียบที่สำคัญเกี่ยวกับการเงิน การสื่อสาร และแรงงาน และปกครองในช่วงปลายของยุคต้องห้ามสุรา เขาได้กำกับควบคุมรายการวิทยุเพื่อที่จะได้พูดให้กับประชาชนชาวอเมริกันโดยตรง ด้วยการให้ที่อยู่ของสถานีวิทยุ"fireside chat" 30 แห่งในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และกลายเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้รับการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ เศรษฐกิจได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ถึง 1936 โรสเวลต์ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1936 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี ค.ศ. 1937 และ 1938 ภายหลังการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1936 โรสเวลต์ได้พยายามหาทางในกระบวนการแต่งตั้งผู้พิพากษา ปี ค.ศ. 1937(Judicial Procedures Reform Bill 1937)("แผนการบรรจุผู้พิพากษา") ซึ่งจะมีการขยายขนาดของ[[ศาลสูงสุดสหรัฐ]] สองพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ร่วมมือกันที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1937 ได้เข้าขัดขวางกระบวนการการจ่ายเงินและปิดกั้นการดำเนินงานของโครงการสัญญาใหม่และการปฏิรูปที่กำลังไปได้ไกล โครงการและกฏหมายที่สำคัญที่เหลือรอดซึ่งดำเนินการภายใต้การนำของโรสเวลต์ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(Securities and Exchange Commission) กฏหมายแรงงานสัมพันธ์แห่งชาติ(National Labor Relations Act) บริษัท์ค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลาง(Federal Deposit Insurance Corporation) และประกันสังคม(Social Security)
 
โรสเวลต์ได้ประสบความสำเร็จอีกครั้งในการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1940 ด้วยชัยชนะของเขาทำให้เขากลายเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งได้มากกว่าสองวาระ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ได้ปรากฏเป็นลางๆในช่วงปี ค.ศ. 1938 โรสเวลต์ได้ให้การสนับสนุนทางการฑูตและการเงินที่แข็งแกร่งแก่จีน [[สหราชอาณาจักร]] และท้ายที่สุดคือ[[สหภาพโซเวียต]] ในขณะที่สหรัฐยังคงวางตัวเป็นกลางจากสงครามอย่างเป็นทางการ ภายหลังจากญี่ปุ่น[[การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์|โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์]] เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เหตุการณ์นี้ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงจากคำกล่าวสุนทรพจน์ของเขาว่า "วันซึ่งที่จะมีชีวิตอยู่ในความอัปยศ"("a date which will live in infamy") โรสเวลต์ได้ประกาศสงครามกับ[[จักรวรรดิญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]ในรัฐสภาและอีกไม่กี่วันต่อมาก็ประกาศสงครามกับ[[นาซีเยอรมนี|เยอรมนี]]และ[[ราชอาณาจักรอิตาลี|อิตาลี]] ด้วยความช่วยเหลือจากผู้ช่วยระดับชั้นนำของเขา แฮร์รี่ ฮอปกิ้น และด้วยการสนับสนุนแห่งชาติที่แข็งแกร่งมาก เขาได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร [[วินสตัน เชอร์ชิล]] ผู้นำโซเวียต [[โจเซฟ สตาลิน]] และจอมทัพแห่งกองทัพจีน [[เจียง ไคเชก]] ในบทบาทเป็นผู้นำ[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]ในการต่อสู้รบกับ[[ฝ่ายอักษะ]] โรสเวลต์ได้กำกับดูแลในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของสหรัฐ เพื่อสนับสนุนความพยายามในการทำสงคราม และยุทธ์ศาสตร์ครั้งแรกในทวีปยุโรปได้ประสบความสำเร็จซึ่งทำให้เยอรมนีต้องพ่ายแพ้ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าญี่ปุ่น นอกจากนี้เขายังได้ริเริ่มการพัฒนา[[ระเบิดปรมาณู]]ลูกแรกของโลกและทำงานร่วมกับผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรคนอื่นๆเพื่อวางรากฐานสำหรับองค์กร[[สหประชาชาติ]]และสถาบันอื่นๆในช่วงหลังสงคราม โรสเวลต์ได้รับชัยชนะอีกครั้งในการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1944 แต่สุขภาพร่างกายของเขาได้ถดถอยลงในช่วงสงคราม เขาได้ถึงแก่อสัญกรรมในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เขาได้ดำรงตำแหน่งได้แค่เพียง 11 สัปดาห์ในวาระที่สี่ของเขา ฝ่ายอักษะได้ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงเดือนต่อมาหลังจากที่โรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรม ในช่วงที่ตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นได้ตกเป็นของ[[แฮร์รี เอส. ทรูแมน]]
 
==อ้างอิง==