ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฐมจุลจอมเกล้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 31:
ส่วนฝ่ายใน ([[สตรี]]) นั้น พระองค์ทรงสร้างกล่องหมากและหีบหมากเป็นเครื่องยศสำหรับพระราชทานในทำนองเดียวกันกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า แต่ไม่ได้พระราชทานโดยทางสืบสกุลและไม่จำกัดจำนวน โดยชั้นสูงที่สุด เรียกว่า ''กล่องปฐมจุลจอมเกล้า'' เทียบได้กับชั้นปฐมจุลจอมเกล้าสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า<ref>สมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ, ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, โรงพิมพ์พระจันทร์, พ.ศ. 2512</ref> โดยมีลักษณะเป็นกล่องหมากทำด้วยเงินกาไหล่ทองจำหลักเป็นลายชัยพฤกษ์พื้นลงยาสีขาบ ฝากล่องมีดวงดาราปฐมจุลจอมเกล้าอยู่กลางอยู่กลาง ขอบนอกเป็นอักษรว่า "''การพระราชพิธีบรมราชภิเษก ปีระกาเบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕''" มีตลับข้างใน 4 ใบจัดเป็นครึ่งซีกตามรูปกล่อง จนกระทั่ง ในปี [[พ.ศ. 2436]] พระองค์จึงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในขึ้น เพื่อให้สมาชิกผู้ได้รับพระราชทานได้ประดับตนเป็นที่แสดงเกียรติยศเพิ่มขึ้น โดยชั้นสูงที่สุดสำหรับพระราชทานแก่ฝ่ายใน คือ ปฐมจุลจอมเกล้า สำหรับพระราชทานแก่มหาสวามินีหรือคณาธิปตานี 1 ดวง และพระราชทานสำหรับฝ่ายในอีก 15 ดวง รวมทั้งสิ้น 16 ดวง<ref name="ฝ่ายใน1">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/032/346.PDF พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า รัตนโกสินทร์ ศก ๑๑๒ (ฝ่ายใน)], เล่ม ๑๐, ตอน ๓๒, ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๑๘๙๓, หน้า ๓๔๖ </ref>
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]] ได้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า โดยกำหนดจำนวนเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้าไว้ 30 สำรับ และสำหรับพระราชทานฝ่ายใน 20 สำรับ โดยไม่นับรวมกับจำนวนสำรับที่พระราชทานแก่ผู้มีเกียรติจากต่างประเทศ<ref name="พรบ2484">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/1553.PDF พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พุทธศักราช ๒๔๘๔], เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ก, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๑๕๕๓ </ref>
 
== ลักษณะและองค์ประกอบ ==