ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนกาญจนาภิเษก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Cassius12 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
| length_round =
| length_ref =
| established = [[พ.ศ. 2521]]
| history = ก่อสร้าง [[พ.ศ. 2521]], [[พ.ศ. 2534, พ.ศ. 2538]], [[พ.ศ. 2541]], [[พ.ศ. 2546]] และ [[พ.ศ. 2550]]
| allocation =
| ahn = {{AH|2|T}} (ตลอดทั้งสาย)
บรรทัด 37:
 
== ประวัติ ==
ถนนสายนี้เดิมมักเรียกกันว่า '''ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก''' มีเส้นทางเริ่มตั้งแต่[[ถนนพระรามที่ 2]] ตัดผ่าน[[ฝั่งธนบุรี]] เข้าสู่[[จังหวัดนนทบุรี]] [[จังหวัดปทุมธานี]] ไปสิ้นสุดที่[[ถนนพหลโยธิน]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] ซึ่ง[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญชื่อ [[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539|พระราชพิธีกาญจนาภิเษก]] ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีในปี [[พ.ศ. 2539]] มาเป็นชื่อเรียกถนนสายนี้ คือ '''ถนนกาญจนาภิเษก''' และเดิมกรมทางหลวงได้กำหนดเส้นทางสายนี้ให้เป็น '''ทางหลวงหมายเลข 37''' ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนหมายเลขทางหลวงของถนนสายนี้ให้เป็น '''ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9''' ตามแผนพัฒนาระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในปี พ.ศ. 2539<ref>[http://thaimotorway.com/Develop.html แผนกลยุทธ์พัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย] [http://archive.is/XME2S อาร์ไคฟ์]</ref> หลังจากนั้นจึงได้มีการสร้างถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกและด้านใต้ขึ้นตามมาเป็นตอน ๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการสร้างสูงมาก
 
== รายละเอียดของเส้นทาง ==
บรรทัด 64:
'''ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)''' เดิมมีชื่อว่า "ทางพิเศษสายบางพลี–สุขสวัสดิ์" ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อทางพิเศษว่า "ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)" เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553<ref name="กทพ.">{{cite web|url=http://www.exat.co.th/index.php/th_TH/news/article/view/5/12/ |title=ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) |publisher=[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] |date= 14 พฤษภาคม 2556 |accessdate=1 มีนาคม 2558}}</ref> เป็นส่วนหนึ่งของการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ดำเนินการโดย[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ (ช่วงถนนพระรามที่ 2 ถึงถนนสุขสวัสดิ์) ทางพิเศษเริ่มต้นจากถนนสุขสวัสดิ์ บริเวณ[[อำเภอพระประแดง]]ข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ไปทางทิศตะวันออกผ่าน[[ถนนสุขุมวิท]] [[ถนนศรีนครินทร์]] และ[[ถนนเทพารักษ์]] ไปบรรจบกับ[[ถนนเทพรัตน]] (บางนา–หนองไม้แดง) บริเวณ[[อำเภอบางพลี]] ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางแยกต่างระดับ 5 แห่ง เปิดให้บริการโดยยกเว้นการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษชั่วคราวในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเปิดให้บริการโดยจัดเก็บค่าผ่านทาง ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552
 
ทางพิเศษสายนี้มีการก่อสร้างสะพานแขวนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง ที่ตำบลบางจาก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]พระราชทานนามสะพานแห่งนี้ว่า "[[สะพานกาญจนาภิเษก]]" พร้อมด้วยระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจร ซื่งเป็นระบบปิด เปิดให้บริการเมื่อวันที่ [[23 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2552]] รวมจำนวน 29 ด่าน
 
ทางพิเศษสายนี้ผ่านจังหวัด[[จังหวัดสมุทรปราการ]]เพียงจังหวัดเดียว เริ่มจากถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก โดยมีทางเชื่อมต่อกับ[[ทางพิเศษบูรพาวิถี]]ที่ทางแยกต่างระดับวัดสลุด [[อำเภอบางพลี]] แล้วไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปยัง[[อำเภอเมืองสมุทรปราการ]] แล้วไปทางทิศตะวันตก ผ่านทางแยกเชื่อมต่อกับ[[สะพานภูมิพล]] ผ่าน[[สะพานกาญจนาภิเษก]]ข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] และสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับสุขสวัสดิ์ เชื่อมต่อกับ[[ถนนสุขสวัสดิ์]]ใน[[อำเภอพระประแดง]]
บรรทัด 75:
'''ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก''' (บางปะอิน–บางบัวทอง–บางขุนเทียน) เป็นถนนส่วนที่สร้างขึ้นก่อนด้านอื่น ๆ มีระยะทางรวม 68 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงต่าง ๆ ได้แก่ ช่วงบางปะอิน–บางบัวทอง เป็นทางขนาด 4–6 ช่องจราจร ระยะทาง 44 กิโลเมตร และช่วงบางบัวทอง−บางขุนเทียน เป็นทางขนาด 10–12 ช่องจราจร ระยะทาง 24 กิโลเมตร<ref name="กรมทางหลวง"/> สัญลักษณ์ทางหลวงแสดงด้วยป้ายหมายเลข 9 พื้นหลังสีเขียว เนื่องจากมีลักษณะของถนนเป็นทางหลวงพิเศษแต่ไม่มีการเก็บค่าผ่านทาง
 
[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340|ถนนตลิ่งชัน–สุพรรณบุรี]] (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340) สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี [[พ.ศ. 2521]] ต่อมาได้สร้างช่วงบางบัวทอง–บางปะอินแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจาก[[อำเภอบางบัวทอง|บางบัวทอง]]ไปบรรจบกับ[[ถนนพหลโยธิน]] บริเวณ[[ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1]] แล้วได้ยุบรวมกับถนนสายบางขุนเทียน–ตลิ่งชันเป็น '''ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37''' ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2534 จากนั้นมีการขยายทางช่วงบางขุนเทียน–บางบัวทอง ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 มีระยะทางรวมตลอดทั้งสาย 68 กิโลเมตร โดยเมื่อรวมช่วงบางขุนเทียน-สุขสวัสดิ์ หรือถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ที่เป็นของกรมทางหลวง จะมีระยะทาง 84 กิโลเมตร<!--(ตามหลักกิโลเมตร)--> อยู่ในการดูแลของสำนักทางหลวงที่ 11 (กรุงเทพมหานคร)
 
ในเขต[[กรุงเทพมหานคร]] เริ่มตั้งแต่ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน [[เขตบางขุนเทียน]] ตัด[[ทางรถไฟสายแม่กลอง]]เข้าสู่[[เขตบางบอน]] ตัด[[ถนนเอกชัย]]ที่กิโลเมตรที่ 15 ข้ามคลองบางโคลัดเข้าสู่พื้นที่[[เขตบางแค]] ตัด[[ถนนกัลปพฤกษ์]]ที่กิโลเมตรที่ 17 ข้าม[[คลองภาษีเจริญ]] ตัด[[ถนนเพชรเกษม]]ที่กิโลเมตรที่ 21 ช่วงตั้งแต่สะพานข้ามคลองบางเชือกหนังถึงสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่าง[[เขตทวีวัฒนา]]กับ[[เขตตลิ่งชัน]] (จนถึงกิโลเมตรที่ 29+599) ส่วนบริเวณ[[คลองมหาสวัสดิ์]]เชื่อมต่อกับ[[ทางพิเศษศรีรัช]] ช่วงบางซื่อ–วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก บริเวณจุดตัดทางรถไฟสายใต้ ใกล้โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ โดยแนวสายทางหลักจะลอดใต้สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ และก่อสร้างทางต่างระดับสำหรับทางขึ้นลงทางพิเศษฯ