ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวีปยุโรป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8395235 สร้างโดย 2001:44C8:4324:5863:ED80:392:717D:193 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 53:
[[ยุคเรืองปัญญา]]หลังจาก[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]]และ[[สงครามนโปเลียน]]ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ถึงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 [[การปฏิวัติอุตสาหกรรม]]ใน[[สหราชอาณาจักร]]ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมเป็นอย่างมากใน[[ยุโรปตะวันตก]]และขยายไปทั่วทั้งโลกในเวลาต่อมา [[สงครามโลก]]ทั้ง 2 ครั้งมีสมรภูมิส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรปนั้น ทำให้ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 [[สหภาพโซเวียต]]และ[[สหรัฐ]]ขึ้นมามีอำนาจในขณะที่ประเทศยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่มีอำนาจลดลง<ref name="natgeo 534">National Geographic, 534.</ref> ระหว่าง[[สงครามเย็น]]ยุโรปถูกแบ่งด้วย[[ม่านเหล็ก]]ระหว่าง[[เนโท]]ทางตะวันตกกับ[[กติกาสัญญาวอร์ซอ]]ในตะวันออก จนกระทั่งสิ้นสุดลงหลัง[[การปฏิวัติ ค.ศ. 1989]]และ[[กำแพงเบอร์ลิน#การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน|การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน]]
 
ใน ค.ศ. 1949 [[สภายุโรป]]ก่อตั้งขึ้นตามคำปราศรัยของ เซอร์[[เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล]] ซึ่งมีแนวคิดในการรวมยุโรปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ทุกประเทศในยุโรปเป็นสมาชิกยกเว้น[[เบลารุส]] [[คาซัคสถาน]]และ[[นครรัฐวาติกัน]] [[การบูรณาการยุโรป]]อื่น ๆ อย่างการรวมกลุ่มโดยบางประทศประเทศนำไปสู่การก่อตั้ง[[สหภาพยุโรป]] (อียู) ซึ่งเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งมีรูปแบบ[[สมาพันธรัฐ]]และ[[สหพันธรัฐ]]<ref>{{cite web|url=http://www.ies.ee/iesp/No11/articles/03_Gabriel_Hazak.pdf|title=The European union—a federation or a confederation?|publisher=}}</ref> สหภาพยุโรปก่อตั้งขึ้นในยุโรปตะวันตกแต่เริ่มเพิ่มสมาชิกในยุโรปตะวันออกตั้งแต่[[การล่มสลายของสหภาพโซเวียต]]ในปี 1991 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ใช้สกุลเงิน[[ยูโร]]ซึ่งชาวยุโรปนิยมใช้กันทั่วไป; และใน[[เขตเชงเก้น]]ของอียูจะยกเลิกการควบคุมชายแดนและการอพยพระหว่างประเทศสมาชิก [[เพลงประจำสหภาพยุโรป]]คือ "[[ปีติศังสกานท์]]"และมี[[วันยุโรป]]เพื่อการเฉลิมฉลองสันติภาพและเอกภาพประจำปีในทวีปยุโรป
{{TOC limit|3}}