ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จารึกพ่อขุนรามคำแหง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
}}
[[ไฟล์:Ram Khamhaeng Inscription (detail).jpg|thumb|260px|ลักษณะอักษรไทยที่ใช้ในจารึก]]
'''จารึกพ่อขุนรามคำแหง'''<ref name="sac"/> หรือ '''จารึกหลักที่ 1'''<ref name="sac"/> เป็น[[ศิลาจารึก]]ที่[[บันทึกเหตุการณ์]][[ประวัติศาสตร์]]สมัย[[กรุงสุโขทัย]] ศิลาจารึกนี้ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ (ต่อมาคือ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]) ขณะผนวชอยู่เป็นผู้ทรงค้นพบเมื่อวันกาบสี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จ.ศ. 1214 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1834 หรือ พ.ศ. 2376<ref>{{cite web|title=17 มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช|url=http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/pday.htm|publisher=มหาวิทยาลัยรามคำแหง|accessdate=17 มกราคม 2555}}</ref> ณ เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย [[อำเภอเมืองสุโขทัย]] [[จังหวัดสุโขทัย]] มีลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทรงกระโจม สูง 111 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินทรายแป้งเนื้อละเอียด<ref name="sac"/> มีจารึกทั้งสี่ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่[[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
 
เนื้อหาของจารึกแบ่งได้เป็นสามตอน ตอนที่หนึ่ง บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นการเล่าพระราชประวัติ[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]ตั้งแต่ประสูติจนเสวยราชย์ ใช้คำว่า "กู" เป็นหลัก ตอนที่ 2 ไม่ใช้คำว่า "กู" แต่ใช้ว่า "พ่อขุนรามคำแหง" เล่าถึงเหตุการณ์และธรรมเนียมในกรุงสุโขทัย และตอนที่สาม ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 12 ถึงบรรทัดสุดท้าย มีตัวหนังสือต่างจากตอนที่ 1 และ 2 จึงน่าจะจารึกขึ้นภายหลัง เป็นการสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตราชอาณาจักรสุโขทัย<ref name="sac">[http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=47 จารึกพ่อขุนรามคำแหง]. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้น 10 เมษายน 2557.</ref>