ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิติธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2:
 
== อรรถาธิบาย ==
ในเบื้องต้น ไม่ควรสับสนระหว่างแนวคิดเรื่อง “หลักนิติธรรม” กับ “หลัก[[นิติรัฐ]]” (legalThe stateRule of Law) เพราะทั้งสองแนวคิดนั้นแม้จะมีที่มาที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างในตัวเองอย่างมีนัยสำคัญอยู่ กล่าวคือ หลัก[[นิติรัฐ]]นั้นจะเป็นแนวคิดทฤษฎีทางกฎหมายของรัฐในภาคพื้นทวีป (continental) ในสายโรมาโนเจอเมนิค (Romano-Germanic) ที่หมายถึงการที่[[รัฐ]]ซึ่งเคยทรงไว้ซึ่งอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดนั้นยอมลดตัวลงมาอยู่ภายใต้กรอบของ[[กฎหมาย]] ตลอดจนวางแนวทางที่มาของ[[อำนาจ]] การใช้อำนาจ ผ่านช่องทางของกฎหมายทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ “อำนาจที่ไม่จำกัด” ของรัฐสมัยใหม่ได้กลายเป็น “อำนาจตามกฎหมาย” (วรเจตน์, 2553)<ref>วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (2553). หลักนิติรัฐ และหลักนิติธรรม. เข้าถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 ใน
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1431.
</ref> ดังนั้น ในแง่นี้หลัก[[นิติรัฐ]]จึงมีระดับของการอธิบายที่เริ่มตั้งต้นจากระดับโครงสร้างรัฐ (methodological collectivism) ในการอธิบายความสูงสุดของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง[[กฎหมายลายลักษณ์อักษร]] หรือ [[รัฐธรรมนูญ]] ภายใต้การจัดโครงสร้างที่เป็นระบบไม่ว่าจะเป็นการวางลำดับชั้นของกฎหมาย หรือ การวางหลัก[[การแบ่งแยกอำนาจ]] และการตรวจสอบถ่วงดุลไว้ใน[[รัฐธรรมนูญ]] ทั้งนี้ก็เพื่อธำรงไว้ซึ่งความสูงสุดของกฎหมายในการจำกัดอำนาจรัฐ