ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 193:
 
เวลาสิ้นรัชกาลที่ 2 นั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระมเหสีฝ่ายซ้ายพระชนมายุได้ 26 พรรษา วัยเบญจเพสพอดี เจ้าฟ้าพระราชโอรสพระองค์แรกคือเจ้าฟ้าอาภรณ์มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา พระองค์ที่สองคือ เจ้าฟ้ากลาง คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ มีพระชนมายุได้ 5 พรรษา พระองค์ที่สามคือ เจ้าฟ้าปิ๋ว พระชนมายุได้ 2 พรรษา พระองค์ย่อมทรงได้รับความลำบากอย่างแสนสาหัส เพราะพระโอรสยังทรงพระเยาว์มากทั้งสิ้น
 
ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตนั้น ทรงพระประชวรตรัสมิได้ จึงมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่เจ้านายพระองค์ใด ปัญหาเจ้านายที่จะเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติจึงเกิดขึ้น ตามราชประเพณี เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่อันเกิดด้วยพระอัครมเหสี ซึ่งขณะนั้นควรจะได้แก่เจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) แต่บังเอิญกำลังทรงผนวชและยังทรงพระเยาว์อยู่ พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงได้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ใหญ่ คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระองค์เจ้าทับ) ซึ่งเป็นหลักแผ่นดินอยู่ในรัชกาลที่ 2 ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ 3 สืบมา คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ในรัชกาลนี้ไม่โปรดตั้งพระชายาเจ้าจอมใดขึ้นเป็นพระอัครมเหสีเลย จึงไม่มีพระราชโอรสพระองค์ใดขึ้นเป็นเจ้าฟ้าเลยตลอดรัชกาลที่ 3 และในรัชกาลต่อมาก็ไม่ปรากฏว่า พระราชโอรสพระองค์ใดของรัชกาลที่ 3 ได้มีการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าเลยสักพระองค์เดียว
 
เจ้าฟ้าที่ประดับพระมหามงกุฎของรัชกาลที่ 3 อยู่ในเวลานั้น ก็มีแต่เจ้าฟ้าในรัชกาลก่อนทั้งสิ้น รวมความว่าในรัชกาลที่ 3 นั้น ไม่มีเจ้าฟ้าเกิดใหม่เลยตลอดรัชกาล ว่างเว้นเจ้าฟ้าเกิดใหม่อยู่ถึง 28 ปีเศษ เพิ่งมีเจ้าฟ้าเกิดใหม่เอาในรัชกาลที่ 4 พระองค์แรกซึ่งเป็นเจ้าฟ้าชาย คือ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ หรือ รัชกาลที่ 5
 
== พระเกียรติยศ ==