ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มารี กูว์รี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
หลังจบการศึกษาระดับต้นแล้ว เธอกับพี่สาวก็ทำงานด้วยการเป็นครู[[โรงเรียนอนุบาล|สอนอนุบาล]] สอนหนังสือให้กับเด็ก ๆ แถว ๆ นั้น โดยทั้งสองมุ่งหวังอยากไปเรียนต่อที่[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] แต่เงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย เธอจึงให้พี่สาวคือ บรอเนีย ไปเรียนต่อด้าน[[แพทยศาสตร์]]ก่อน พอจบแล้วค่อยส่งเสียเธอเรียนต่อด้าน[[วิทยาศาสตร์]]ต่อไป จนพี่สาวจบมาเธอก็ได้ไปเรียนต่อที่[[มหาวิทยาลัยปารีส]] สมใจแต่ด้วยเงินอันน้อยนิดจากพี่สาวไม่พอต่อค่าใช้จ่าย เธอจึงดิ้นรนหางานทำจนได้เป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการทางเคมีของ[[ปีแยร์ กูว์รี]] จนทั้งสองแต่งงานมีลูกด้วยกัน แต่ปีแยร์เสียชีวิตก่อนเพราะอุบัติเหตุรถม้าชน ระหว่างที่เรียนไปทำงานไป เธอก็มุ่งมั่นศึกษาทดลองไปเรื่อย ๆ จนมาพบรังสีแร่[[เรเดียม|ธาตุเรเดียม]] โดยได้มาจากแร่[[พิตช์เบลนด์]]ที่เป็น[[ออกไซต์]]ชนิดหนึ่งสามารถ[[แผ่กระจายรังสี]]ได้ จากการเพียรพยายามทดลองมาหลายปีในการสกัดแร่ชนิดต่าง ๆ จนมาพบรังสีดังกล่าวทำให้เธอได้รับ[[ปริญญาเอก]]ในการค้นพบแร่ธาตุเรเดียม
 
จนในปี [[พ.ศ. 2445]] (ค.ศ. 1902) เธอก็สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า ''[[เรเดียมคลอไรด์]]'' ที่สามารถแผ่รังสีได้มากกว่า[[ยูเรเนียม]]หลายเท่า มีคุณสมบัติคือ ให้[[แสงสว่าง]]และ[[ความร้อน]]ได้ และเมื่อแร่นี้แผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็น[[ธาตุกัมมันตรังสี]] และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับแร่เรเดียม จนทำให้เธอได้รับ[[รางวัลโนเบล]]ต่อมา
 
[[ไฟล์:Marie_Curie_1903.jpg|thumb|มารี กูว์รีในปี 1903]]