ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอวังหิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sorawitlive (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 21:
 
== ประวัติ ==
อำเภอวังหิน จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ [[9 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2530]] ประกอบด้วยตำบลบุสูง ตำบลดวนใหญ่ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลศรีสำราญ และตำบลธาตุ และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอในปี [[พ.ศ. 2536]]
 
เดิมบริเวณพื้นที่อำเภอวังหิน พบว่ามีร่องรอยของอารยธรรมและการก่อตั้งชุมชนมาตั้งแต่สมัยยุคทวารวดี โดยมีการสร้างเมืองที่มีคูเมืองล้อมรอบตามแบบอย่างของเมืองยุคทวารวดี ครั้นถึงยุคกรุงศรีอยุธยา สัณนิษฐานว่าบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นที่ตั้งของเมืองศรีนครลำดวน ชุมชนเขมรป่าดง ในปี พ.ศ. ๒๓๐๓  สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่)  ขึ้นเป็นเมืองชื่อ   “เมืองศรีนครลำดวน”  และแต่งตั้งให้หลวงแก้วสุวรรณ (ตากะจะ)  เป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามที่  “พระยาไกรภักดี     ศรีนครลำดวน” ต่อมาในปี  พ.ศ.  ๒๓๒๑  พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ  ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน  เป็นที่  “พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน”  และในปีนี้เองพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(ตากะจะ) ได้ถึงแก่อนิจกรรม พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้หลวงปราบ (เชียงขัน)  เป็นเจ้าเมืองคนต่อมาในบรรดาศักดิ์และราชทินนามที่“พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน”   และมีพระบรมราชานุญาต   ให้พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(เชียงขัน)ย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่บ้านแตระ    (ริมฝั่งห้วยเหนือ)   ซึ่งมีทำเล    และชัยภูมิดีกว่าที่เดิม  ทั้งนี้เพราะมีลำห้วยเป็นคูน้ำธรรมชาติล้อมรอบ  และได้พระราชทานนามเมืองใหม่นี้ว่า     “เมืองคูขันธ์หรือเมืองขุขันธ์ ”  นอกจากนี้ยังได้พระราชทานนาม เจ้าเมืองใหม่ว่า  “พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน”  เมืองศรีนครลำดวนจึงกลายเป็นเพียงหมู่บ้าน  ตำบล  ต่อมาจนกระทั่งตั้งเป็นอำเภอไม่ได้เอาชื่อเดิมมาตั้งเป็นชื่ออำเภอคงตั้งชื่อตามวังน้ำว่า  “วังหิน”    เดิมอำเภอวังหินนั้น  ขึ้นอยู่กับการปกครองอำเภอเมืองศรีสะเกษ  ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ   วังหิน  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  เมื่อวันที่  ๙  มีนาคม  ๒๕๓๐  โดยอำเภอวังหินแยกการปกครอง    จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ  โดยตั้งชื่อตามห้วงน้ำใกล้ที่ตั้งกิ่งอำเภอ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห้วยคล้าเรียกว่า        “วังหิน” 
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==