ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไดโจกัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ตามบทความหลัก
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ไดโจกังปรากฏครั้งแรกใน[[ประมวลกฎหมายอาซูกะคิโยมิฮาระ]] ฉบับ ค.ศ. 689 ในฐานะหน่วยงานราชการส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยเสนาบดีสามคน คือ [[ไดโจไดจิง]] (อัครมหาเสนาบดี), [[ซาไดจิง]] (มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย), และ[[อูไดจิง]] (มหาเสนาบดีฝ่ายขวา) ต่อมา นำไปรวมอยู่ใน[[ประมวลกฎหมายไทโฮ]] ฉบับ ค.ศ. 703<ref name="hall232">Hall, John Whitney ''et al.''. (1993). [https://books.google.com/books?id=nCJwEDzyxNgC&pg=PA232&dq=Asuka+code ''The Cambridge History of Japan'', p. 232.]</ref>
 
ไดโจกังเป็นหน่วยงานสูงสุดในโครงสร้างราชการญี่ปุ่น ไดโจกังและกรมต่าง ๆ ในสังกัดรับผิดชอบราชการฝ่ายอาณาจักร ส่วน[[จิงงิกัง]]เป็นกรมที่รับผิดชอบกิจการศาสนาโดยตรงฝ่ายศาสนจักร โครงสร้างเช่นนี้ค่อย ๆ ลดอำนาจหน้าที่ลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10–11 เนื่องจาก[[ตระกูลฟูจิวาระ]]ค่อย ๆ เข้ามาควบคุมการเมืองเรื่อย ๆ ในฐานะ[[เซ็ชโชและคัมปากุ|ผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิ]] จนกลายเป็นธรรมเนียมปรกติที่ผู้สำเร็จราชการจะดำรงตำแหน่งไดโจไดจิง (อัครมหาเสนาบดี) เสียเอง ทั้งยังควบตำแหน่งอื่นด้วยก็ได้ กระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ไดโจกังก็สิ้นอำนาจโดยสิ้นเชิง แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า ระบบไดโจกังนั้นถูกยุบเลิกอย่างเป็นทางการไปก่อน[[ยุคเมจิ]]หรือไม่<ref>[http://202.231.40.34/jpub/pdf/jr/IJ1508.pdf Mesheryakov, Alexander (2003). "On the Quantity of Written Data Produced by the Ritsuryō State"], ''Japan Review'', 15:187–199.</ref><ref>[http://202.231.40.34/jpub/pdf/jr/IJ1508.pdf Mesheryakov, Alexander (2003). "On the Quantity of Written Data Produced by the Ritsuryō State"], ''Japan Review'', 15:187–199.</ref>
 
==อ้างอิง==