ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทารก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Umbilical-newborn.jpg|thumb|right|alt=Newborn on yellow blanket being attended to by a nurse|'''ทารกแรกเกิด'''ในประเทศอินโดนีเซียกำลังจะถูกตัดสายสะดือ]]
[[ไฟล์:Being a twin means you always have a pillow or blanket handy.jpg|thumb|300px|'''ทารก'''ฝาแฝด อายุ 8 เดือน]]
'''ทารก''' ({{lang-en|infant}})''' คือ เด็กแบเบาะ หรือ เด็กเล็ก ๆ โดยทั่วไปหมายถึงเด็กอายุระหว่าง 1 เดือนขึ้นไป จนถึง 1-2 ปี ทารกอายุน้อยกว่า 1 เดือน เรียกว่า '''ทารกแรกเกิด''' ({{lang-en|newborn, neonate}}) เด็กอายุ 1-2 ปีขึ้นไป อาจเรียกว่า '''[[เด็กวัยหัดเดิน]]''' ({{lang-en|toddler}}) เด็กที่อยู่ในครรภ์ เรียกว่า '''[[ทารกในครรภ์]]''' ({{lang-en|fetus}})
==ลักษณะทางกายภาพของทารกแรกเกิด==
ทารกแรกเกิดโดยทั่วไปจะมีไหล่และสะโพกที่กว้าง ท้องยื่น และแขนขาค่อนข้างยาวเมื่อเทียบกับขนาดตัว ข้อมูลจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วพบว่าความยาวโดยเฉลี่ยของทารกแรกเกิดจะอยู่ที่ 35.6-50.8 เซนติเมตร ส่วนทารกแรกเกิดที่เกิดก่อนกำหนดจะมีขนาดเล็กกว่านี้
บรรทัด 7:
น้ำหนักแรกเกิดของทารกที่เกิดครบกำหนดโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 3.4 กิโลกรัม และมักอยู่ในช่วง 2.7-4.6 กิโลกรัม
 
ในช่วง 5-7 วันหลังเกิด ทารกแรกเกิดมักมีน้ำหนักตัวลดลงประมาณ 3-7% เป็นผลจากการปัสสาวะเอาน้ำส่วนเกินในร่างกายซึ่งปกติจะอยู่ในปอดและเนื้อเยื่ออื่นๆอื่น ๆ ออกมา ประกอบกับการที่ปริมาณน้ำนมแม่ในช่วงแรกยังน้อยอยู่ซึ่งจะเพิ่มขึ้นในวันหลังๆหลัง ๆ หลังจากพ้นสัปดาห์แรกไปแล้ว ทารกแรกเกิดปกติจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 10-20 กรัมต่อวัน
 
===ศีรษะ===
ศีรษะของทารกแรกเกิดจะมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดตัว และในกะโหลกศีรษะก็จะมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับใบหน้า ในขณะที่ผู้ใหญ่จะมีขนาดกะโหลกศีรษะเป็นหนึ่งในเจ็ดของความสูง แต่ทารกแรกเกิดจะมีขนาดกะโหลกศีรษะเป็นหนึ่งในสี่ของความยาวตัว ขนาดรอบศีรษะของทารกแรกเกิดโดยปกติจะอยู่ที่ 33-36 เซนติเมตร แต่ละชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดจะยังประสานกันไม่สนิทเกิดเป็นจุดที่ไม่มีกระดูกเรียกว่ากระหม่อม ซึ่งตำแหน่งที่ใหญ่ที่สุดจะมีอยู่สองตำแหน่งเรียกว่ากระหม่อมหน้า มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และกระหม่อมหลังมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นชิ้นส่วนแต่ละชิ้นของกะโหลกศีรษะจะค่อยๆค่อย ๆ โตขึ้นและเชื่อมเข้าด้วยกันตามธรรมชาติ
 
การที่ชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะไม่เชื่อมกันสนิทตั้งแต่แรกเกิดนี้ทำให้ทารกมนุษย์ที่มีศีรษะและสมองขนาดใหญ่สามารถคลอดผ่านช่องคลอดที่ถูกวิวัฒนาการมาให้รองรับการยืนเดินด้วยสองขาได้ เนื่องจากแผ่นกะโหลกแต่ละชิ้นสามารถเคลื่อนเข้าหาหรือแม้แต่เกยกันได้ระหว่างคลอด ทารกแรกเกิดบางคนจึงมีรูปร่างของศีรษะที่บิดเบี้ยวไปเล็กน้อย ซึ่งจะค่อยๆค่อย ๆ คืนกลับสู่รูปร่างปกติภายใน 2-3 วันหรือไม่กี่สัปดาห์หลังเกิด หนังศีรษะของทารกแรกเกิดอาจบวมหรือรอยช้ำได้โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่ไม่มีเส้นผม บริเวณรอบๆรอบ ๆ ตาก็อาจบวมฉุเล็กน้อยได้ ซึ่งเป็นผลจากการคลอด
 
===ผมและขน===
ทารกแรกเกิดบางคนจะมีขนตามร่างกาย เป็นขนเส้นเล็กละเอียด สีอ่อน เรียกว่า [[ขนอ่อน (ทารกแรกเกิด)|ขนอ่อน]] มักเห็นได้ชัดที่บริเวณหลัง ไหล่ หน้าผาก หู และใบหน้าของทารกเกิดก่อนกำหนด ขนอ่อนนี้จะหลุดร่วงหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์ ทารกแรกเกิดบางคนมีเส้นผมหนาเต็มศีรษะ ส่วนบางคนโดยเฉพาะทารกแรกเกิดชาวคอเคเซียนอาจมีเส้นผมเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเส้นผมเลย ซึ่งเส้นผมที่มีเล็กน้อยนี้อาจเป็นผมสีบลอนด์หรือสีน้ำตาลแม้พ่อแม่จะมีผมดำก็ได้
 
== อาหารเสริม สำหรับเด็ก ==
เมื่อลูกทารกเข้าสู่เดือนที่ 6  ลูกต้องได้รับอาหารเสริมอื่นนอกเหนือจากนม   ไข่มักจะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆต้น ๆให้เป็นอาหารสำหรับเด็ก เพราะไข่เป็นแหล่งสารอาหารชั้นดี หาง่าย ราคาไม่แพง เหมาะกับทารก ในช่วงเริ่มต้นของการเลี้ยงลูกอาจใช้ไข่เป็นอาหารเสริม เริ่มจากการต้มไข่ให้สุกทั้งฟอง แกะเปลือกเอาไข่ขาวออก เหลือไข่แดงที่สุกแข็งแล้ว เอามาบี้ผสมในข้าวตุ๋นให้ลูก ไข่ขาวเป็นอาหารที่เด็กเล็กอาจจะแพ้ได้ง่าย ดังนั้นอาหารเสริมประเภทไข่ ควรเริ่มจากเพิ่มไข่แดงลงในอาหารเสริมก่อน เพื่อป้องกันการแพ้อาจเริ่มให้ไข่ขาวเมื่อลูกอายุ 1 ขวบ   
 
==อ้างอิง==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ทารก"