ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pattara2001 (คุย | ส่วนร่วม)
Pattara2001 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
}}
 
'''โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์''' เป็น[[โรงเรียนวิทยาศาสตร์]]แห่งแรกของ[[ประเทศไทย]] มีฐานะเป็น[[องค์การมหาชน]] ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงศึกษาธิการ]] ก่อตั้งเมื่อวันที่ [[8 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2534]] และเปลี่ยนสถานภาพเป็นองค์การมหาชนเมื่อวันที่ [[25 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2543]]<ref name="history">{{cite web|url=httphttps://www.mwit.ac.th/index_Historycontent.php?content_title=HIST_TITLE&content=HIST_CONTENT|title= ประวัติโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์}}</ref> เคยตั้งอยู่ที่[[วัดไร่ขิง]] ในปัจจุบันตั้งอยู่ ณ [[ตำบลศาลายา]] [[อำเภอพุทธมณฑล]] [[จังหวัดนครปฐม]] โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และเป็นโรงเรียนที่มีเครือข่ายกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำในประเทศอื่น ๆ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีการใช้ระบบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนเอง โดยปรกติมีอัตราการรับเข้าประมาณ 1.5% (240 คนจากนักเรียนที่สมัครแต่ละปีประมาณ 20,000 คน)<ref name="Entrance Stats">{{cite web| url=httphttps://apply.mwit.ac.th/student/report_stat_entsch.php|title = จำนวนผู้สมัครสอบคัดเลือกทั้งหมด เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา (จำแนกตามโรงเรียนที่ผู้สมัครเลือกสอบเข้าเรียน) | accessdate =27 11 Januaryพฤษภาคม 20122562}}</ref> โดยนักเรียนทุกคนได้รับทุนการศึกษาเต็มตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ในโรงเรียน
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:ป้ายโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.jpg|thumb|200px|left|ป้ายทางเข้าโรงเรียน]]
=== แนวคิดริเริ่ม ===
[[มหาวิทยาลัยมหิดล]]ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากความขาดแคลนบุคลากรทางด้าน[[วิทยาศาสตร์]]และ[[เทคโนโลยี]] จึงมีความคิดที่จะผลิตบุคลากรที่มีความชำนาญในทางสาขาวิชานี้ เพื่อป้อนให้กับประเทศ ทั้งนี้บุคลากรเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับพื้นฐานที่ดีก่อนที่จะมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในการนี้ทางมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อันเป็นวิชาพื้นฐานสำคัญดีอยู่แล้ว จึงได้ร่วมมือกับ[[กรมสามัญศึกษา]] กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เพื่อสร้างนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษา และศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในสายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศ รูปแบบดังกล่าวนี้ หากขยายนำไปใช้ได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ก็จะผลิตกำลังคนได้สอดคล้อง กับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ <ref>[https://www.mwit.ac.th/content.php?content_title=REASON_TITLE&content=REASON_CONTENT เหตุผลของการจัดตั้งโรงเรียน]</ref> {{ต้องการอ้างอิงส่วน}}
 
=== โรงเรียนในช่วงแรก ===
ในวันที่ [[28 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2533]] [[ณัฐ ภมรประวัติ|ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ [[โกวิท วรพิพัฒน์|ดร.โกวิท วรพิพัฒน์]] อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้ร่วมลงนามในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้พื้นที่ 35 ไร่ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ให้กรมสามัญศึกษาใช้เป็นพื้นที่จัดตั้งโรงเรียน โดยทางมหาวิทยาลัยจะให้ความร่วมมือสนับสนุนทางด้านวิชาการ รูปแบบการเรียนการสอนว่าควรจะเป็นไปในรูปแบบใดเพื่อให้เหมาะสมในการพัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้ และพฤติกรรมของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีในอนาคต
 
โรงเรียนได้มหิดลวิทยานุสรณ์เปิดทำการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรุ่นแรกในปีการศึกษา 2534 เมื่อวันที่ [[3 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2534]] โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก[[พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ)|พระธรรมมหาธีรานุวัตร]] เจ้าอาวาส[[วัดไร่ขิง]]ให้ใช้บริเวณสถานที่ปฏิบัติธรรมของทางวัดเป็นสถานที่เรียนชั่วคราวไปจนกว่าอาคารเรียนของทางโรงเรียนในบริเวณของมหาวิทยาลัยจะเสร็จเรียบร้อย ในช่วงนั้นทางวัดไร่ขิงได้ให้ความอนุเคราะห์โรงเรียนใช้บริเวณวัดทำการเรียนการสอน บริการเรื่องสาธารณูปโภค โดยไม่คิดมูลค่า ให้ใช้ศูนย์คอมพิวเตอร์ของทางวัดทำการเรียนการสอน อนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ของวัดมาสอนวิชาพระพุทธศาสนา ทั้งยังมอบเงินทุนส่วนหนึ่งเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนทุกๆ ปีและยังได้รับความอุปการะจากนายแพทย์บุญ วนาสิน ในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนเรื่อยมาได้จ้างครูต่างชาติมาสอนวิชาภาษาอังกฤษปีละ 2 คนทุกปี จัดสร้างหอพักนักเรียนชายและหญิง ณ บริเวณโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ศาลายา
 
เมื่อวันที่ [[18 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2536]] ได้มีการลงนามร่วมกันอีกครั้งหนึ่งโดย [[บรรจง พงศ์ศาสตร์|นายบรรจง พงศ์ศาสตร์]] อธิบดีกรมสามัญศึกษาและ [[ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี|ศ.นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยเปลี่ยนแปลงมาให้ใช้พื้นที่ 25 ไร่ จำนวนระยะเวลา 30 ปี และตกลงให้ความร่วมมือสนับสนุนการเรียนการสอน รวมทั้งให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นตามความเหมาะสมปีการศึกษา 2538 โรงเรียนได้ย้ายสถานที่เรียนจากวัดไร่ขิง ตำบลไร่ขิง [[อำเภอสามพราน]] จังหวัดนครปฐม มายังที่ตั้งของโรงเรียน ณ ตำบลศาลายา [[อำเภอพุทธมณฑล]] จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดลจนถึงปัจจุบัน
บรรทัด 51:
ต่อมาในปี[[พ.ศ. 2544]] ได้มีแต่งตั้งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์การมหาชน คือ ดร. [[ธงชัย ชิวปรีชา]] อดีตผู้อำนวยการ[[สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]] ภายใต้การดำเนินงานในระบบองค์การมหาชนนี้ โรงเรียนได้รับการบริหารที่ยืดหยุ่นกว่าในระบบเดิมและได้รับงบประมาณที่มากขึ้น จึงสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว {{ต้องการอ้างอิง}}
 
ความคาดหวังให้โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนนำร่อง<ref name="abhisit">[http://www.mwit.ac.th/~person/Personel_M/Law/MWIT.pdf พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. 2543]</ref> ได้ส่งผลให้ในปี[[พ.ศ. 2551]] มีการขยายห้องเรียนวิทยาศาสตร์ไปสู่[[กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย]] 12 แห่งและจัดตั้ง[[โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย]] (โครงการ วมว.) อีก 5 แห่งโดยใช้หลักสูตรอ้างอิงจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะนำหลักสูตรไปดัดแปลงและปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพของมหาวิทยาลัย และยังมีแผนจะจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัด[[สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน]] ([[สพฐ.]]) อีกจำนวน 207 โรงเรียน
 
จากการประเมินองค์การมหาชนของสำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อปี พ.ศ. 2558 พบว่าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับการประเมินในระดับดีเด่น เป็นต้นแบบทางด้านวิธีการทำงาน กลไกการทำงาน หลักการดำเนินกิจการเพื่อประสบความสำเร็จ<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/673774 เปิดผลประเมิน 35 องค์การมหาชน]</ref>
 
== ผลงานและเกียรติประวัติของโรงเรียน ==
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้ก่อตั้ง [[:en:International_Student_Science_Fair|International Student Science Fair]] (ในอดีตเรียกว่า Thailand International Science Fair) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนชั้นนำทางวิทยาศาสตร์จากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งนักเรียนในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้นำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน สืบเนื่องจากความสำเร็จในการจัดครั้งแรกจึงได้รับการสานต่อโดยโรงเรียนต่าง ๆ และในปี[[พ.ศ. 2554]] ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ได้เวียนมาจัดที่โรงเรียนมหิดลวิทยานสุรณ์อีกครั้งหนึ่ง รายชื่อโรงเรียนที่เคยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ได้แก่เช่น [[:en:Ritsumeikan High School|Ritsumeikan High School]] [[:en:Korea Science Academy|Korea Science Academy]] [[:en:City Montessori School|City Montessori School]] [[:en:National Junior College|National Junior College]] และ [[:en:Australian Science and Mathematics School|Australian Science and Mathematics School]] <ref>{{cite web|url = http[https://www.mwit.ac.th/issf2011Content_MWITS/about1-2554/histrory10-11/2011-10-11/index_News.htm|titlephp =โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ Aboutจัดงาน “การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7”  (The 7<sup>th</sup> International Student Science Fair 2011 (ISSF: History}}2011))]</ref> นอกจากงานนี้แล้ว โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนกับโรงเรียนต่าง ๆ จากทั่วโลก เช่น สิงคโปร์ เยอรมัน ออสเตรเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น จีน สหราชอาณาจักร เป็นต้น<ref>{{cite web|url=httphttps://www.mwit.ac.th/mwit-eng/index_PartnerSchool.php|title=MWITSMWIT Partner Schools}}</ref>
 
ทางด้านผลงานของนักเรียนและศิษย์เก่า นักเรียนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับรางวัลจากการแข่งขันทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ เช่น การแข่งขันเพชรยอดมงกุฎ การแข่งขัน[[โอลิมปิกวิชาการ]]ระดับประเทศและระดับนานาชาติ การแข่งขันประลองความรู้ในหลากหลายสาขาวิชาเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า [[:en:World Scholar's Cup|World Scholar's Cup]]<ref>{{cite web|url=http://www.mwit.ac.th/mwit-eng/News/1-2553/06-10/30-06-10/index_News4.php|accessdate=11 January 2012|title = World Scholar’s Cup Success}}</ref> ทางโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนได้เข้ารับการศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของโลก ศิษย์เก่าของโรงเรียนได้รับทุนการศึกษาทั้งจากการสมัครสอบผ่านทาง[[สำนักงานข้าราชการพลเรือน]] และมีอีกจำนวนมากได้สมัครเข้าเรียนโดยตรงผ่านทางมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งที่มีความร่วมมือโดยตรงกับโรงเรียน เช่น KSA of [[:en:KAIST|KAIST]] และที่ไม่ได้มีความร่วมมือโดยตรงกับโรงเรียน เช่น [[:en: Stanford University|Stanford University]] [[:en:Purdue University|Purdue University]] และ [[:en: University of Illinois at Urbana-Champaign|University of Illinois at Urbana-Champaign]] เป็นต้น<ref>{{cite web|url=http[https://www.mwit.ac.th/mwit-eng/Document/MWITSeBROCHUREindex_scholar.pdf|title=Mahidol Wittayanusorn School Newsletter, July 2010| accessdate =php 11MWIT JanuaryStudent 2012}}Achievements]</ref>
 
== หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ==
บรรทัด 66:
 
== ระบบคัดเลือกนักเรียน ==
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีระบบการคัดเลือกนักเรียน ที่ดำเนินการโดยบุคลากรของโรงเรียนเอง เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเป้าหมายของโรงเรียน ในอดีต การสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าโรงเรียนทำควบคู่ไปกับการคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการ [[พสวท.]] จนถึงรุ่นที่ 16 หรือรุ่นที่เข้าปีการศึกษา[[พ.ศ. 2549]] โดยมีการสอบแบ่งเป็น 2 รอบ โดยในรอบแรกเป็นข้อสอบประเภทข้อเขียน ซึ่งมีทั้งข้อสอบประเภทปรนัยและอัตนัย ส่วนในรอบที่สองนั้น จนถึงรุ่น 17 หรือรุ่นที่เข้าปีการศึกษา[[พ.ศ. 2550]] เป็นการสอบพร้อมกับการเข้าค่ายที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยมีทั้งการสอบข้อเขียนแบบอัตนัย และการฟังบรรยายแล้วสอบจากเรื่องที่บรรยาย รวมถึงมีการให้นักเรียนได้เข้าใช้ห้องปฏิบัติการของทั้งสาขาวิชาชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ ทั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนหอพัก เพื่อช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงเป็นการวัดความสามารถในการเรียนรู้ ที่ไม่สามารถเตรียมมาล่วงหน้าได้ อย่างไรก็ตาม จากรุ่น 18 หรือรุ่นที่เข้าปีการศึกษา[[พ.ศ. 2551]] เป็นต้นไป เนื่องจากได้ปรับเปลี่ยนระบบการคัดเลือกนักเรียน ให้สามารถใช้ร่วมกับการคัดเลือกนักเรียนเข้า[[โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย]]ทั้ง 12 แห่ง และโครงการ วมว. จึงมีการปรับใช้การอ่านบทความแทนการฟังบรรยาย และเปลี่ยนให้การเข้าร่วมค่ายที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นไปตามความสมัครใจแทน
 
การคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ถือว่ามีความเข้มข้นสูงมาก โดยปกติแล้วตั้งแต่รุ่น 17 เป็นต้นมา มีนักเรียนมาสมัครเข้ารับการคัดเลือกประมาณ 20,000 คน สถิตินักเรียนสมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์สำหรับรุ่นที่เข้าปีการศึกษา[[พ.ศ. 2555|พ.ศ. 2562]] มีจำนวน 1922,993321 คน<ref name="Entrance Stats" />โดยโรงเรียนจะทำการคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนเป็นจำนวน 240 คน โดยนักเรียนที่ได้คะแนนเท่ากันเป็นอันดับสุดท้าย ทางโรงเรียนจะรับเข้าศึกษาด้วย
 
== อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ==