ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรอยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 470:
=== กลุ่มชาติพันธุ์ ===
[[ไฟล์:La_Loubere_Kingdom_of_Siam.jpg|thumb|right|225px|ภาพชาวสยามจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ [[พ.ศ. 2236]]]]
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยามีประชากรประมาณ 1,900,000 คน ซึ่งนับชายหญิงและเด็กอย่างครบถ้วน<ref>มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. ''จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์'', เล่มที่ 1, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า. 2510, หน้า 46</ref> แต่ลาลูแบร์กล่าวว่า ตังเลขดังกล่าวน่าจะไม่ถูกต้องเนื่องจากมีผู้หนีการเสียภาษีอากรไปอยู่ตามป่าตามดงอีกมาก<ref>มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. ''จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์'', หน้า 47</ref> แอนโธนี เรด นักวิชาการด้านอุษาคเนย์เทียบหลักฐานจากคำบอกเล่าต่างๆ แล้วประมาณว่า กรุงศรีอยุธยามีประชากร ในช่วงคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 ราว 200,000 ถึง 240,000 คน<ref>Anthony Reid, South East Asia in the Age of Commerce: Expansion and Crisis (1988), p.71-73</ref> มีกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือ[[ไทยสยาม]]ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ใช้[[ภาษาตระกูลขร้า-ไท]] ซึ่งบรรพบุรุษของไทยสยามปรากฏหลักแหล่งของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลขร้า-ไทเก่าแก่ที่สุดอายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งมีหลักแหล่งแถบ[[เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง|กวางสีกว่างซี]] คาบเกี่ยวไปถึง[[มณฑลกวางตุ้ง|กวางตุ้ง]]และแถบลุ่มแม่น้ำดำ-แดงใน[[เวียดนาม]]ตอนบน ซึ่งกลุ่มชนนี้มีความเคลื่อนไหวไปมากับดินแดนไทยในปัจจุบันทั้งทางบกและทางทะเลและมีการเคลื่อนไหวไปมาอย่างไม่ขาดสาย<ref name="อัก">สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''อักษรไทยมาจากไหน?''. หน้า 128</ref> ในยุค[[อาณาจักรทวารวดี]]ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหลังปี [[พ.ศ. 1100]] ก็มีประชากรตระกูลไทย-ลาว เป็นประชากรพื้นฐานรวมอยู่ด้วย<ref name="อัก"/> ซึ่งเป็นกลุ่มชนอพยพลงมาจากบริเวณสองฝั่งโขงลงทางลุ่มน้ำน่านแล้วลงสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกแถบ[[สุพรรณบุรี]] [[ราชบุรี]] ถึง[[เพชรบุรี]]และเกี่ยวข้องไปถึง[[นครศรีธรรมราช|เมืองนครศรีธรรมราช]]<ref name="ไทย">สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''อักษรไทยมาจากไหน?''. หน้า 130</ref> ซึ่งในส่วนนี้ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ให้ความเห็นส่วนตัวว่า ''ชาวลาวกับชาวสยามเกือบจะเป็นชาติเดียวกัน''<ref>มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, หน้า 45</ref> นอกจากนี้ลาลูแบร์ยังอธิบายเพิ่มว่าตามธรรมเนียมแต่โบราณแล้ว ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าตนรับกฎหมายของตนมาจากอีกฝ่าย กล่าวคือฝ่ายสยามเชื่อว่ากฎหมาย และเชื้อสายกษัตริย์ของตนมาจากลาว และฝ่ายลาวก็เชื่อว่ากฎหมาย และกษัตริย์ของตนมาจากสยาม<ref>Simon de La Loubère, The Kingdom of Siam (Oxford Univ. Press 1986) (1693), at 9</ref> นอกจากนี้ลาลูแบร์สังเกตเห็นว่าสังคมอยุธยานั้นมีคนปะปนกันหลายชนชาติ และ "เป็นที่แน่ว่าสายเลือดสยามนั้นผสมกับของชาติอื่น"<ref>La Loubère (1693), p.10</ref> เนื่องจากมีคนต่างชาติต่างภาษาจำนวนมากอพยบเข้ามาอยู่ในอยุธยาเพราะทราบถึงชื่อเสียงเรื่องเสรีภาพทางการค้า<ref>La Loubère (1693), p.10</ref>
 
เอกสารจีนที่บันทึกโดยหม่าฮวนได้กล่าวไว้ว่า ชาวเมืองพระนครศรีอยุธยาพูดจาด้วยภาษาอย่างเดียวกับกลุ่มชนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน<ref name="อัก"/> คือพวกที่อยู่ในมณฑลกวางตุ้งกับกวางสีกว่างซี และด้วยความที่ดินแดนแถบอุษาคเนย์เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์จึงมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายตั้งหลักแหล่งอยู่ปะปนกันจึงเกิดการประสมประสานทางเผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม และภาษาจนไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน<ref name="ษร">สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''อักษรไทยมาจากไหน?''. หน้า 129</ref> และด้วยการผลักดันของ[[ละโว้|รัฐละโว้]] ทำให้เกิดรัฐอโยธยาศรีรามเทพนคร ภายหลังปี [[พ.ศ. 1700]] ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมหลายอย่าง<ref name="ษร"/>
 
ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรือง กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ๆ ได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เชลยที่ถูกกวาดต้อน ตลอดจนถึงชาวเอเชียและชาวตะวันตกที่เข้ามาเพื่อการค้าขาย ในกฎมนเทียรบาลยุคต้นกรุงศรีอยุธยาได้เรียกชื่อชนพื้นเมืองต่าง ๆ ได้แก่ ''"[[แขก]][[ขอม]][[ชาวลาว|ลาว]][[พม่า]][[ชาวมอญ|เมง]][[ชาวมอญ|มอญ]]มสุมแสง[[ชาวจีน|จีน]][[ชาวจาม|จาม]][[ชาวชวา|ชวา]]..."''<ref name="กรุง"/> ซึ่งมีการเรียกชนพื้นเมืองที่อาศัยปะปนกันโดยไม่จำแนกว่า ''ชาวสยาม''<ref name="กรุง">สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. หน้า 188</ref> ในจำนวนนี้มี[[ชาวมอญ]]อพยพเข้ามาในสมัย[[สมเด็จพระมหาธรรมราชา]], [[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]], [[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]], [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] และ[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] เนื่องจากชาวมอญไม่สามารถทนการบีบคั้นจากการปกครองของพม่าในช่วง[[ราชวงศ์ตองอู]] จนในปี [[พ.ศ. 2295]] พม่าได้ปราบชาวมอญอย่างรุนแรง จึงมีการลี้ภัยเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก<ref>สุภรณ์ โอเจริญ. ''ชาวมอญในประเทศไทย:วิเคราะห์ฐานะและบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น.'' (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2519), หน้า 48-68</ref> โดยชาวมอญในกรุงศรีอยุธยาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ เช่น บ้านขมิ้นริมวัดขุนแสน ตำบลบ้านหลังวัดนก ตำบลสามโคก และวัดท่าหอย<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ''. พระนคร:คลังวิทยา, 2507, หน้า 145 และ 403</ref> ชาวเขมรอยู่วัดค้างคาว<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) '', หน้า 446</ref> ชาวพม่าอยู่ข้างวัดมณเฑียร<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) '', หน้า 463</ref> ส่วนชาวตังเกี๋ยและชาวโคชินไชน่า (ญวน) ก็มีหมู่บ้านเช่นกัน<ref>นิโกลาส์ แชรแวส. ''ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ''. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า, 2506, หน้า 62</ref> เรียกว่าหมู่บ้านโคชินไชน่า<ref>ประชุมพงศาวดารภาคที่ 36 ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, เล่ม 9. พระนคร:ก้าวหน้า, 2507, หน้า 150</ref> นอกจากนี้ชาวลาว หรือไทยวนก็มีจำนวนมากเช่นกัน โดยในรัชสมัยของ[[สมเด็จพระราเมศวร]]ครองราชย์ครั้งที่สอง ได้กวาดต้อนครัว[[ไทยวน]]จากเชียงใหม่ส่งไปไว้ยัง[[จังหวัดพัทลุง]], [[สงขลา]], [[นครศรีธรรมราช]] และ[[จันทบุรี]]<ref>พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด), หน้า 507-508</ref> และในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงยกทัพไปตีล้านนาในปี [[พ.ศ. 2204]] ได้[[ลำปาง|เมืองลำปาง]], [[ลำพูน]], [[เชียงใหม่]], [[เชียงแสน]] และได้กวาดต้อนมาจำนวนหนึ่ง<ref>สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ไทยรบพม่า. พระนคร:คลังวิทยา, 2514. หน้า 235-237</ref>เป็นต้น โดยเหตุผลที่กวาดต้อนเข้ามา ก็เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร<ref>บังอร ปิยะพันธุ์, หน้า 11</ref> และนอกจากกลุ่มประชาชนแล้วกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่เป็นเชลยสงครามและผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีทั้งเชื้อพระวงศ์ลาว, เชื้อพระวงศ์เชียงใหม่ (Chiamay), เชื้อพระวงศ์พะโค (Banca), และเชื้อพระวงศ์กัมพูชา<ref>บาทหลวงตาชารด์, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. ''จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชาร์ด.'' กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2517, หน้า 46</ref>