ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฮนุททาเนบ (พระราชธิดาในฟาโรห์อเมนโฮเทปที่สาม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nefernebet (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox royalty|name=เฮนุททาเนบ|image=Colossal Amenhotep III statue.jpg|image_size=180px|alt=Amenhotep III, Tiye and their daughter|caption=รู...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:32, 7 พฤษภาคม 2562

เฮนุททาเนบ เป็นเจ้าหญิงแห่งอียิปต์โบราณ

เฮนุททาเนบ
เจ้าหญิงแห่งอียิปต์โบราณ
Amenhotep III, Tiye and their daughter
รูปสลักหินมหึมาของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ร่วมพระนางทีเย กับพระนางเฮนุททาเนบ, พิพิธภัณฑ์อียิปต์, ณ กรุงไคโร
พระนามในอักษรเฮียโรกลิฟฟิก[1]
Hnw
t
tA
N21 Z1
nb
ราชวงศ์ราชวงศ์ที่ 18
พระราชบิดา อเมนโฮเทปที่ 3
พระราชมารดาติเย
ศาสนาศาสนาอียิปต์โบราณ

ครอบครัว

พระองค์เป็นหนึ่งในพระราชโอรสและพระราชธิดาในฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 จากราชวงศ์ที่ 18 แห่งอียิปต์ กับสมเด็จพระราชินีทีเย พระองค์เป็นพระภคินีหรือพระขนิษฐาของฟาโรห์อเคนาเตน พระองค์มีพี่น้องหลายพระองค์ โดยมีพระเชษฐาอีกหนึ่งพระองค์และพระภคินีหลายพระองค์

พระนาม เฮนุททาเนบ มีความหมายว่า "สตรีแห่งแดนอียิปต์" ซึ่งเป็นพระนามที่มักจะใช้กับตำแหน่งพระราชินี พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สาม โดยหลังประสูติหลังจากพระนางซิทอามุน และพระนางไอซิส (หรืออาจจะเรียกว่า ไอเซท)

พระประวัติ

พระองค์ปรากฎอยู่ที่รูปสลักหินมหึมาของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ร่วมพระนางทีเย[2] และมีความสูงถึง 7 เมตร (หรือ 23 ฟุต) ซึ่งเป็นรูปสลักของอเมนโฮเทปที่ 3 กับพระนางทีเยประทับนั่งเคียงกัน โดยมีรูปสลักหินยืนของสามพระราชธิดาด้านหน้าของทั้งสองพระองค์ และพระราชธิดาทั้งสาม พระนางเฮนุทาเนบจะอยู่ตรงกลางและมีขนาดใหญ่กว่าอีกสองพระองค์ที่เหลือ พระนางเนเบตาอยู่ด้านขวา และอีกหนึ่งพะองค์อยู่ทางด้านซ้ายซึ่งพระนามถูกทำลาย[3] ทั่งนี้พระองค์ยังปรากฎอยู่ร่วมกับพระนางไอเซท (พระภคินี) ที่วิหาร ณ เมืองโซเลบ

และยังคงไม่ชัดเจนว่าพระนางเฮนุททาเนบจะได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระมเหสีเช่นกันกับพระนางซิทอามุนและพระนางไอเซท และไม่มีบันทึกใดๆ กล่าวถึงพระองค์ในฐานะของพระมเหสีแห่งฟาโรห์ แต่ในบันทึกที่วิหารในเมืองโซเลบพระนามของพระองค์สลักอยู่ในคาร์ทูธ ซึ่งมีแต่ฟาโรห์และพระมเหสีเท่านั้นที่สามารถในคาร์ทูธได้

ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 พระองค์ก็มิได้ถูกกล่าวถึงในบันทึกใดๆ อีกเลย

อ้างอิง

  1. Hermann Ranke: Die Ägyptischen Personennamen. (Verlag von J. J. Augustin in Glückstadt, 1935)
  2. Aidan Dodson & Dyan Hilton, The Complete Royal Families of Ancient Egypt, Thames & Hudson (2004), p. 154
  3. O'Connor, David & Cline, Eric., Amenhotep III: Perspectives on his Reign, University of Michigan, 1998. p. 7