ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชุมนุมเจ้าพระฝาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ตรังกานู→เตอเริงกานู
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
ต่อมาหลังจากการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] ทรงทราบข่าวเรื่องที่เจ้าพระฝางยกทัพยึดชุมนุมพิษณุโลกได้ และถึงกับส่งกองทัพไปปล้นแย่งชิงข้าวปลาราษฎรลงมาถึงเมือง[[อุทัยธานี]] และ[[ชัยนาท]] พระองค์จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกทัพไปปราบในปี [[พ.ศ. 2313]] โดยมี[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยายมราช (บุญมา)]] เป็นแม่ทัพหน้า กองทัพหน้าของพระยายมราชได้เข้าโจมตีเมืองพิษณุโลกด่านหน้าของเจ้าพระฝาง ซึ่งมีหลวงโกษา (ยัง) คุมกำลังมาตั้งรับอยู่ภายในคืนเดียว แล้วจากนั้นกองทัพหลวงก็ยกไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้รบได้ 3 วัน เห็นศึกหน้าเหลือกำลังจึงพาพรรคพวกหลบหนีไปอยู่เมือง[[เชียงใหม่]] ซึ่งในขณะนั้น[[พม่า]]ปกครองอยู่ กองทัพหลวงจึงยึดเมือง[[สวางคบุรี]]ได้ และยังได้ลูก[[ช้างเผือก]]ซึ่งตกลูกระหว่างศึกมาอีกด้วย
 
ล่วงมาถึงปีขาล [[พ.ศ. 2313]] มีข่าวมาถึง[[กรุงธนบุรี]]ว่า เมื่อเดือน 6 ปี[[ขาล]] เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวณถึงเมือง[[อุทัยธานี]] และเมือง[[ชัยนาท]] เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียม[[กองทัพ]] จะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น ขณะนั้นพวกฮอลันดาจากเมืองยะกะตรา (จาร์กาตา) ส่ง[[ปืนใหญ่]]มาถวาย และแขกเมือง[[เตอเริงกานูตรังกานู]] ก็นำ[[ปืนคาบศิลา]]เข้ามาถวาย จำนวน 2,000 กระบอก พอเหมาะแก่พระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่จะใช้ทำศึกต่อไปในครั้งนี้
 
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวน[[ทัพเรือ]] ยกกำลังออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน จัดกำลังเป็น 3 ทัพ ทัพที่ 1 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินไปโดยขบวนเรือมีกำลังพล 12,000 คน ทัพที่ 2 [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยาอนุชิตราชา]] ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยายมราช ถือพล 5,000 คน ยกไปทางบกข้างฟากตะวันออกของแม่น้ำแควใหญ่ กองทัพที่ 3 [[พระยาพิชัยราชา|พระยาพิชัย]] ถือพล 5,000 คน ยกไปทางข้างฟากตะวันตก