ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคพลังประชารัฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8225211 โดย Horusด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Art Tititham Narak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
}}
 
'''พรรคพลังประชารัฐ''' ([[อักษรย่อ|ย่อ]]: พปชร.) เป็นพรรคการเมืองนิยมทหารและอนุรักษนิยมที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งถูกมองว่าเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างภาพแห่งความชอบธรรมให้แก่[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]ในระบอบประชาธิปไตย ภายในพรรคประกอบด้วยอดีตรัฐมนตรีใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61|คณะรัฐมนตรีประยุทธ์]] รวมทั้งมีการรับนักการเมืองหลายกลุ่มเข้าสังกัด ทั้งเครือญาติอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อดีตนักการเมืองท้องถิ่น อดีตแกนนำ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] อดีต ส.ส. [[พรรคไทยรักไทย]] และอดีต ส.ส. [[พรรคประชาธิปัตย์]] และอดีตแกนนำ [[กปปส.]] ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562]] พรรคเสนอชื่อพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] หัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง ให้เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อสืบอำนาจต่ออีกสมัย
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 23:
พรรคได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม "สามมิตร" ซึ่งมีแกนนำเป็นอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ได้แก่ [[สมศักดิ์ เทพสุทิน]], [[สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ]]และ[[สมคิด จาตุศรีพิทักษ์]]ซึ่งยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอยู่ กลุ่มดังกล่าวพยายามดึงตัวสมาชิกรัฐสภาทั้งจากพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มดังกล่าวสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ขณะที่ยังมีคำสั่ง คสช. ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น
 
พรรคจัดประชุมสามัญใหญ่ของพรรคเป็นครั้งแรกในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 ปรากฏว่า [[อุตตม สาวนายน]] อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม]]ในรัฐบาลประยุทธ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ[[สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์]] อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์]]ในรัฐบาลประยุทธ์เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
 
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีบุคคลกว่า 150 คนเข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ โดยมีทั้งอดีตสมาชิกรัฐสภา อดีตรัฐมนตรีและบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งในจำนวนนี้มีสมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย และสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา<ref>{{Cite news|url=http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/11/27/150-politicos-defect-to-new-pro-junta-party/|title=150+ Politicos Defect to New Pro-Junta Party|date=2018-11-27|work=Khaosod English|access-date=2018-11-27|language=en-US}}</ref> นักการเมืองท้องถิ่น รวมถึงอดีต[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]]<ref>{{Cite news|url=https://prachatai.com/journal/2019/03/81739|title=นับคะแนน 112 อดีต ส.ส./ผู้สมัคร ส.ส. ซบพลังประชารัฐลุยเลือกตั้ง 62|website=ประชาไท|access-date=2019-03-27}}</ref>
 
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/D/003/T_0221.PDF ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐ]</ref> ในเดือนมกราคม 2562 สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 4 คนที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งเพื่อมาหาเสียงเต็มเวลา หลังถูกวิจารณ์มาหลายเดือน<ref name=":6">{{Cite web|url=https://www.bangkokpost.com/news/politics/1619878/palang-pracharath-ministers-resign-from-cabinet|title=Palang Pracharath ministers resign from cabinet|website=Bangkokpost.com|access-date=2019-01-30}}</ref>
 
===การเลือกตั้งทั่วไปปี 2562===
{{บทความหลัก|การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562}}
 
พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] หัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ([[คสช.]]) และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวตามบัญญัติรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 แม้มีพรรคการเมืองหลายพรรคสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรคพลังประชารัฐถูกมองว่าเป็น "พรรคนิยมประยุทธ์อย่างเป็นทางการ" เพราะแกนนำพรรคหลายคนเป็นรัฐมนตรีและที่ปรึกษาในรัฐบาลประยุทธ์<ref name=":0">{{Cite news|url=http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/11/19/three-friends-join-pro-junta-party-say-charter-favors-them/|title=‘Three Friends’ Join Pro-Junta Party, Say Charter Favors Them|date=19 November 2018|newspaper=Khaosod English}}</ref><ref>{{Cite news|url=https://www.bangkokpost.com/news/general/1495034/parties-propose-poll-date|title=Parties propose poll date|date=30 June 2018|newspaper=Bangkok Post}}</ref>
 
ในการเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบ[[ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ<ref name="ks_dummy">{{cite news
บรรทัด 42:
| date = February 27, 2019
| access-date = 3-3-2019
}}</ref> ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐเสนอปรับ[[ค่าจ้างขั้นต่ำ]]เป็นวันละ 425 บาท ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม ทำไม่ได้จริง หรือทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน แต่พรรคยืนยันว่าสามารถทำได้จริง<ref>{{cite news
| author =
| title = รุมถล่มยับค่าจ้าง 425 บาท พรรคพลังประชารัฐฟุ้ง เป็นรัฐบาลทำได้จริง
บรรทัด 56:
พลเอกประยุทธ์ใช้อำนาจเต็มที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 สั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งวาดเขตเลือกตั้งใหม่<ref>{{Cite news|url=https://www.bangkokpost.com/news/politics/1577702/new-ec-boundary-ruling-under-fire|title=New EC boundary ruling under fire|website=Bangkokpost.com|access-date=2018-11-28}}</ref><ref>{{Cite news|url=http://www.nationmultimedia.com/detail/politics/30359125|title=EC under microscope for gerrymandering over designing of boundaries - The Nation|work=The Nation|access-date=2018-11-28|language=en}}</ref><ref>{{Cite news|url=http://www.nationmultimedia.com/detail/politics/30359473|title=EC completes redrawing of constituencies - The Nation|work=The Nation|access-date=2018-11-28|language=en}}</ref> นักวิจารณ์ระบุว่า การวาดเขตเลือกตั้งใหม่นี้เอื้อประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐ โดยบางคนให้ความเห็นว่า พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว<ref>{{Cite news|url=http://www.nationmultimedia.com/detail/opinion/30359420|title=Election has already been won, so what now? - The Nation|work=The Nation|access-date=2018-11-29|language=en}}</ref>
 
วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุนมูลค่า 600 ล้านบาท โดยมีแผนที่ซึ่งมีชื่อหน่วยงานของรัฐ เช่น [[กระทรวงการคลัง]] [[การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย]] และ[[กรุงเทพมหานคร]] เข้าร่วมด้วย ทำให้มีข้อกังขาว่ามีการใช้เงินภาษีหรือหาผู้บริจาคหรือผู้ซื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน่วยงานดังกล่าวซึ่งอาจต้องมีการตอบแทนในอนาคต<ref name="Limited">{{Cite web|url=https://www.bangkokpost.com/news/politics/1599110/sontirat-dinner-table-map-doesnt-belong-to-party|title=Sontirat: Dinner table map doesn't belong to party|website=Bangkokpost.com|access-date=2018-12-26}}</ref> ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 พรรคเปิดเผยชื่อผู้บริจาคในงานดังกล่าวตามระเบียบ 90 ล้านบาท โดยเป็นชื่อผู้ได้รับสัมปทานจากรัฐเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม พรรคไม่ได้เปิดเผยแหล่งที่มาของเงินบริจาคที่เหลือ<ref>{{Cite web|url=https://www.isranews.org/isranews-scoop/73301-isranews-73301.html|title=ต้องโชว์ทุกเดือน! กาง กม.เงินบริจาคพรรค-ลุ้นก้อน 532 ล.งานโต๊ะจีน พปชร.ใครทุนใหญ่?|date=2019-01-28|website=Isranews.org|language=th-th|access-date=2019-02-03}}</ref> วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562 กกต. เปิดเผยว่า ไม่พบความผิดที่พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุน เนื่องจากไม่พบบุคคลต่างชาติบริจาคเงิน จึงไม่มีความผิดและไม่ต้องยุบพรรค<ref>{{cite news
| author =<!--Staff writer(s); no by-line.-->
| title = เลือกตั้ง 2562 : "พลังประชารัฐ" รอดยุบพรรค ระดมทุนโต๊ะจีนไร้เงินต่างชาติ
บรรทัด 74:
}}</ref>
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นคำร้องไต่สวนยุบพรรค เนื่องจากเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาซึ่งถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามเพราะดำรงตำแหน่งทางการเมือง<ref>{{cite news
| author =<!--Staff writer(s); no by-line.-->
| title = ร้อง กกต.ยุบพลังประชารัฐคัดค้าน “ตู่” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
บรรทัด 90:
| date = 14 มีนาคม 2562
| access-date = 2019-03-14
}}</ref> วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นเอาผิดจากกรณีปราศรัยนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาหาเสียง เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมทรัพย์สินเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง<ref>{{cite news
| author =<!--Staff writer(s); no by-line.-->
| title = เพื่อไทยยื่นเอาผิด พลังประชารัฐ ปราศรัยหาเสียงสัญญาว่าจะให้ "บัตรคนจน"