ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดอุบลราชธานี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
founder มีบทความต่างหากแล้ว
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 87:
=== ภูมิประเทศ ===
[[ไฟล์:DPP 0015-2.JPG|250px|thumb|right|[[อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ]]]]
จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช (Khorat Basin) โดยสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 120-140 เมตร (395-460 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ เป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออกมี[[แม่น้ำโขง]] เป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับ[[ประเทศลาว]] มี[[แม่น้ำชี]]ไหลมาบรรจบกับ[[แม่น้ำมูล]]ซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่[[อำเภอโขงเจียม]] และมีลำน้ำใหญ่ๆ อีกหลายสาย ได้แก่ [[ลำเซบาย]] [[ลำเซบก]] [[ลำโดมใหญ่]] [[ลำโดมน้อย]] และมีภูเขาสลับซับซ้อนหลายแห่งทางบริเวณชายแดนตอนใต้ ที่สำคัญคือ [[ทิวเขาบรรทัด]]และ[[ทิวเขาพนมดงรัก]] ซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาวและ[[ประเทศกัมพูชา]]
 
ลักษณะภูมิสัณฐานของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกโดยสังเขป ดังนี้
* '''บริเวณที่เป็นสันดินริมน้ำ (river levee) ''' เกิดจากตะกอนลำน้ำที่พัดพามาทับถม สภาพพื้นที่เป็นเนินสันดินริมฝั่งแม่น้ำโขง และบางบริเวณสันดินริมฝั่งลำเซบาย
* '''บริเวณที่เป็นแบบตะพักลำน้ำ (terrace) ''' ที่เกิดจากการกระทำของขบวนการของน้ำนานมาแล้ว ประกอบด้วยบริเวณที่เป็นลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง ลักษณะพื้นที่ที่มีทั้งที่เป็นที่ราบแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน จะอยู่ถัดจากบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงขึ้นมา พื้นที่เหล่านี้จะพบในบริเวณทั่วไปของจังหวัด กล่าวคือทางตอนเหนือ ทางตะวันออก และทางใต้ บางแห่งใช้สำหรับทำนาและบางแห่งใช้สำหรับปลูกพืชไร่
* '''บริเวณที่เป็นแอ่ง (depression) หรือที่ลุ่ตวมต่ำหลังลำน้ำ (backswamp) ''' เกิดจากการกระทำของน้ำ พบบางแห่งในบริเวณริมแม่น้ำโขง แม่น้ำชี ลำเซบาย และลำโดมใหญ่ จะมีน้ำแช่ขังนานในฤดูฝน
* '''กำลังของน้ำจะมีมากจนสามารถพัดพาเอาตะกอนเหล่านั้นออกมานอกหุบเขาได้ เมื่อมาถึงนอกหุบเขาหรือเชิงเขา สภาพพื้นที่ก็จะเป็นที่ราบทางน้ำไหลกระจายออกไป ทำให้กำลังของน้ำลดลง ก็จะตกตะกอนในบริเวณน้ำ จะพบอยู่ทางตอนใต้และทางตะวันตกของจังหวัด
* '''บริเวณที่เป็นเนินที่เกิดจากการไหลของธารลาวา (lava flow hill) ''' เป็นเนินเขาที่เกิดจากการไหลของธารลาวา ดินบริเวณนี้จะมีศักยภาพทางการเกษตรสูง ซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวผุพังของหินบะซอลต์ บริเวณนี้จะพบอยู่ใน[[อำเภอน้ำยืน]]
* '''บริเวณที่ลาดเชิงเขา (foot hill slope) ''' เป็นที่ลาดเชิงเขาที่ตะกอนบริเวณที่เกิดจากการกระทำของน้ำนานมาแล้วทับถมกัน บริเวณนี้จะพบอยู่ในอำเภอโขงเจียม [[อำเภอพิบูลมังสาหาร]] [[อำเภอศรีเมืองใหม่]] และ[[อำเภอตระการพืชผล]]
* '''บริเวณที่ลาดเชิงซ้อน (slope complex) ''' ลักษณะเป็นภูเขาหรือทิวเขามีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จะพบบริเวณ[[ทิวเขาพนมดงรัก]]ในอำเภอน้ำยืน [[อำเภอนาจะหลวย]] และ[[อำเภอบุณฑริก]] อีกแห่งหนึ่งคือ ทิวเขาภูเขาซึ่งจะพบมากใน[[อำเภอโขงเจียม]]และ[[อำเภอศรีเมืองใหม่]]
 
=== ภูมิอากาศ ===