ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอชะอำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
 
== ประวัติ ==
อำเภอชะอำตั้งขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2440]] ที่บ้านนายาง หมู่ที่ 3 ตำบลนายาง เดิมใช้ชื่อว่า '''อำเภอนายาง''' ต่อมาเมื่อปี [[พ.ศ. 2457]] ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอนายางไปตั้งที่บ้านหนองจอกและเปลี่ยนชื่อเป็นเป็น '''อำเภอหนองจอก''' (ปัจจุบันอยู่ในเขต[[อำเภอท่ายาง]]) จนกระทั่งหลัง[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]] กระทรวงมหาดไทยได้ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจอกมาตั้งที่บ้านชะอำ ตำบลชะอำ เมื่อวันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2487]] <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2487/D/062/1932.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจอก จังหวัดเพชรบุรี] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๑ ตอนที่ ๖๒ ง ประกาศ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ หน้าที่ ๑๙๓๒ </ref>เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สะดวกแก่การปกครองและภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น '''อำเภอชะอำ''' <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2487/A/077/1165.PDFพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอหนองจอกและอำเภอหนองโดน พุทธศักราช ๒๔๘๗ (เปลี่ยนชื่อ อำเภอหนองจอก เป็น อำเภอชะอำ และอำเภอหนองโดน เป็น อำเภอบ้านหมอ)] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๑ ตอนที่ ๗๗ ก ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ หน้าที่ ๑๑๖๕ </ref>ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2487
 
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
บรรทัด 56:
 
== เศรษฐกิจ ==
:[[ไฟล์:Cha Am Beach.jpg|200px|thumb|หาดชะอำ]]
[[ไฟล์:Cha-am - Phra Phi Thawan.jpg|200px|thumb|พระปิดทวาร]]
ธุรกิจเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าบทบาททางด้านการบริการ โดยเฉพาะการค้า การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมจะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของจังหวัดเพชรบุรี อำเภอชะอำจึงเป็นเมืองที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทำให้มีนักธุรกิจมาลงทุนหลายพันล้าน ส่วนการท่องเที่ยวอำเภอชะอำเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุดจึงทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตมากขึ้น
 
เส้น 69 ⟶ 70:
 
จะเห็นได้ว่า ศูนย์การพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ คือมีทั้งการศึกษาการทดลองและสาธิต เพื่อให้เห็นผลทุกด้าน ดังนั้นราษฎรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้อย่างแท้จริง จึงนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและเป็นการเพิ่มรายได้อีกต่อไป
== ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช ==
ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/A/080/1.PDF พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙] เล่มที่ ๑๒๓ ตอนที่ ๘๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หน้า ๑ </ref> มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ <ref>[http://www.pranburitravel.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%80.html ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช]</ref> เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่ <ref>[http://www.cha-amcity.go.th/news-detail.php?id=151 ประชาสัมพันธ์การเรียกชื่อชายฝั่งทะเล ตั้งแต่บริเวณหาดเจ้าสำราญ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ถึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ว่า"ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"]</ref>
{{โครง-ส่วน}}
 
== สถานที่ท่องเที่ยว ==
ชะอำ ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในจังหวัดเพชรบุรี เป็นชายหาดติดทะเลฝั่งอ่าวไทย แต่เดิม ชะอำ เป็นเพียงตำบลหนึ่ง ขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก แต่ภายหลังที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินแถบชายทะเลถูกจับจองหมด พวกเจ้านายชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้น จึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของสมเด็จกรมพระยานราธิปประพันธ์พงศ์ และได้ พบว่า หาดชะอำ เป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน ชะอำ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา ชะอำ ได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจอก มาตั่งที่ตำบลชะอำ และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอชะอำ
 
=== หาดชะอำ ===
อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 41 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าชายหาด ระยะทาง 2 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงาม และมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมชะอำเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก เป็นชายหาดที่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากตั้งแต่สมัยโบราณ ตามประวัติเล่ากันว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จมาที่นี่พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงพอพระราชหฤทัยในความงามของหาดแห่งนี้มาก ทรงประทับแรมอยู่หลายวัน จนกระทั่งชาวบ้านเรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้าสำราญ มาจนปัจจุบัน
 
=== พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ===
ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ตำบลห้วยทรายเหนือ ตรงหลักกิโลเมตรที่ 216 เลยหาดชะอำมา 8 กิโลเมตร เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2466 ได้รับขนานนามว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท
 
<gallery>
ภาพ:Phra Ratchaniwet Marukkhathaiyawan 2.jpg|พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ภาพ:Phra Ratchaniwet Marukkhathaiyawan 3.jpg|พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ภาพ:Phra Ratchaniwet Marukkhathaiyawan 4.jpg|พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ภาพ:Phra Ratchaniwet Marukkhathaiyawan 1.jpg|พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ภาพ:Phra Ratchaniwet Marukkhathaiyawan 5.jpg|พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
</gallery>
 
=== อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ===
เป็นศูนย์เรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ และการฝึกอบรมระดับสากลด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายครบวงจร ตั้งอยู่ภายในบริเวณค่ายพระรามหก ถนนเพชรเกษม ระหว่างชะอำและหัวหิน ทางเข้าทางเดียวกับพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 
อุทยานแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2548 และเพื่อเป็นการฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ในบริเวณนี้ให้กลับมาอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
 
=== วนอุทยานเขานางพันธุรัต ===
เป็นเทือกเขาหินปูนที่มีความสวยงามเอกลักษณ์ โดดเด่นมองเห็นได้จากริมถนนใหญ่ ทอดยาวตามแนวเหนือ - ใต้ มองดูคล้ายนางยักษ์ (นางพันธุรัต) นอนอยู่ มีโกศอยู่ทางทิศใต้ และมีปฏิมากรรมธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับตำนานเรื่องสังข์ทอง ตั้งอยู่ที่บ้านเขาไม้นวล หมู่ 2 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,562 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงให้อนุรักษ์พื้นที่บริเวณเขานางพันธุรัตไว้เป็นมรดกของชาติ
 
=== สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ===
ตั้งอยู่ที่ตำบลสามพระยา ในเนื้อที่ 340 ไร่ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประจำปี 2545 รางวัลยอดเยี่ยม ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์แห่งนี้ดำเนินการโดยมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำฟาร์มผสมผสานที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ในท้องถิ่นที่เคยแห้งแล้งเนื่องจากการบุกรุกถางป่า และได้รับการพัฒนาฟื้นฟูให้กลับคืนความสมบูรณ์ ด้วยการจัดหาแหล่งน้ำควบคู่กับการเพาะปลูกพืช และนำผลการทดลองที่ประสบผลสำเร็จนำไปขยายผลสู่เกษตรกร เป็นแนวทางสู่เกษตรยั่งยืน
=== อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) ===
เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ 3 ยอด ยอดที่สูงที่สุดสูง 95 เมตร แต่เดิมชาวบ้านเรียกภูเขานี้ว่า "เขาสมน" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะสร้างพระราชวังสำหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขาแห่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระสมุหกลาโหมเป็นแม่กองก่อสร้าง จนสำเร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2403 พระราชทานนามว่า พระนครคีรี แต่ชาวเมืองเพชรเรียกกันติดปากว่า "เขาวัง" สืบมาจนบัดนี้ พระนครคีรีมีพระที่นั่ง พระตำหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนิโอคลาสสิกผสมสถาปัตยกรรมจีน
 
=== พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ===
ภายในเก็บรักษาโบราณวัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปหล่อโลหะสำริดและทองเหลืองที่ใช้สำหรับตกแต่งห้องต่างๆ ในพระที่นั่ง และเครื่องกระเบื้องของจีน ญี่ปุ่น และยุโรป เฉพาะส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น. ทุกวัน
 
=== ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช ===
== สถานที่พัก==
ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/A/080/1.PDF พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙] เล่มที่ ๑๒๓ ตอนที่ ๘๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หน้า ๑ </ref> มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ <ref>[http://www.pranburitravel.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%80.html ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช]</ref> เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่ <ref>[http://www.cha-amcity.go.th/news-detail.php?id=151 ประชาสัมพันธ์การเรียกชื่อชายฝั่งทะเล ตั้งแต่บริเวณหาดเจ้าสำราญ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ถึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ว่า"ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"]</ref>
{{โครงส่วน}}
 
== รูปภาพอ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
<gallery>
ภาพ:Phra Ratchaniwet Marukkhathaiyawan 2.jpg|พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ภาพ:Phra Ratchaniwet Marukkhathaiyawan 3.jpg|พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ภาพ:Phra Ratchaniwet Marukkhathaiyawan 4.jpg|พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ภาพ:Phra Ratchaniwet Marukkhathaiyawan 1.jpg|พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ภาพ:Phra Ratchaniwet Marukkhathaiyawan 5.jpg|พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
</gallery>
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.cha-amcity.go.th/ เทศบาลเมืองชะอำ]
* [http://xn--b3c6akvb2ita3d.net/ เพชรบุรี]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{อำเภอจังหวัดเพชรบุรี}}