ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8118553 โดย Thammarithด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{Infobox country
| conventional_long_name = สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
| common_name = เยอรมนี
| native_name = {{small|''Bundesrepublik Deutschland'' <br> {{small|''บุนเดิสรีพูบลิค ดอยชลันท์'' {{de}}}}}}
| image_flag = Flag of Germany.svg
| image_coat = Coat of arms of Germany.svg
| national_motto = <br />"{{lang|de|Einigkeit und Recht und Freiheit}}" {{smaller|เพลงชาติในปัจจุบันนับเฉพาะเนื้อร้องในบทสาม<ref name=PresidentsOffice>{{cite web | url = http://www.bundespraesident.de/DE/Amt-und-Aufgaben/Wirken-im-Inland/Repraesentation-und-Integration/repraesentation-und-integration-node.html | title = Repräsentation und Integration | author = Bundespräsidialamt | authorlink = Bundespräsidialamt | language = German | accessdate = 8 March 2016 | quote = Nach Herstellung der staatlichen Einheit Deutschlands bestimmte Bundespräsident von Weizsäcker in einem Briefwechsel mit Bundeskanzler Helmut Kohl im Jahr 1991 die dritte Strophe zur Nationalhymne für das deutsche Volk. [In 1991, following the establishment of German unity, Federal President von Weizsäcker, in an exchange of letters with Chancellor Helmut Kohl, declared the third verse [of the Deutschlandlied] to be the national anthem of the German people.] | deadurl = no | archiveurl = https://web.archive.org/web/20160307221541/http://www.bundespraesident.de/DE/Amt-und-Aufgaben/Wirken-im-Inland/Repraesentation-und-Integration/repraesentation-und-integration-node.html | archivedate = 7 March 2016 }}</ref>|group=efn}}<br /> {{smaller|"เพลงแห่งเยอรมัน"}}<br /> <div style="display:inline-block;margin-top:0.4em;">[[ไฟล์:National anthem of Germany - U.S. Army 1st Armored Division Band.ogg]]</div>
 
| image_map = EU-Germany.svg
| map_caption = {{map caption |location_color=เขียวเข้ม |region=ทวีปยุโรป |region_color=เทามืด |subregion=[[สหภาพยุโรป]] |subregion_color=เขียวอ่อน}}
| map2_width = 250px
| capital = [[เบอร์ลิน]]<small>{{efn|name=aa|[[เบอร์ลิน]]เป็นเมืองหลวงเพียงแห่งเดียวตามรัฐธรรมนูญและเป็นที่ตั้งรัฐบาลโดยนิตินัย แต่เดิมเมืองหลวงชั่วคราวของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีคือ [[บ็อน]] ซึ่งมีสถานะพิเศษเป็น "เมืองสหพันธ์" ({{lang|de|Bundesstadt}}) และเป็นที่ตั้งหลักของกระทรวงหกแห่ง กระทรวงทุกแห่งมีสำนักงานอยู่ในเมืองทั้งสองแห่ง}}</small>
| coordinates = {{Coord|52|31|N|13|23|E|type:city}}
| largest_city = เบอร์ลิน
| languages_type = ภาษาทางการ
| languages = [[ภาษาเยอรมัน|เยอรมัน]]
| ethnic_groups = {{plainlist|
* {{percent|67,027|82,973|1|pad=yes}} [[ชาวเยอรมัน]]
* {{percent|9,710|82,973|1|pad=yes}} ชาวยุโรป
* {{percent|4,069|82,973|1|pad=yes}} ตะวันออกกลาง
* {{percent|1,119|82,973|1|pad=yes}} เอเชียส่วนอื่นๆ
* {{percent|510|82,973|1|pad=yes}} แอฟริกา
* {{percent|451|82,973|1|pad=yes}} อเมริกา
* {{percent|87|82,973|1|pad=yes}} อื่นๆ
}}
| ethnic_groups_year = 2016<ref>https://www.destatis.de/DE/Publikationen/Thematisch/Bevoelkerung/MigrationIntegration/Migrationshintergrund2010220167004.pdf?__blob=publicationFile</ref>
| religion = {{plainlist |
* 59.3% คริสต์
* 34.4% อศาสนา
* 5.5% อิสลาม
* 0.8% ศาสนาอื่นๆ<ref name="EKD2016">[https://www.ekd.de/download/zahlen_und_fakten_2016.pdf Numbers and Facts about Church Life in Germany 2016 Report] {{webarchive|url=https://web.archive.org/web/20161030185813/http://www.ekd.de/download/zahlen_und_fakten_2016.pdf |date=30 October 2016 }}. Evangelical Church of Germany. Retrieved 6 December 2016.</ref>
}}
| demonym = เยอรมัน
| government_type = ระบอบสาธารณรัฐในระบบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญส่วนกลาง
| leader_title1 = [[ประธานาธิบดีเยอรมนี|ประธานาธิบดี]]
| leader_name1 = [[ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์]]
| leader_title2 = [[นายกรัฐมนตรีเยอรมนี|นายกรัฐมนตรี]]
| leader_name2 = [[อังเกลา แมร์เคิล]]
| legislature = <wbr />
| upper_house = สภาผู้แทนรัฐ (Bundesrat)
| lower_house = สภาผู้แทนราษฎร (Bundestag)
| area_km2 = 357,168
| area_rank = 62nd <!-- Area rank should match [[List of countries and dependencies by area]] -->
| area_sq_mi = 137,847 <!--Do not remove per [[WP:MOSNUM]]-->
| population_estimate = {{increase}} 82,800,000<ref>{{cite web|url=https://www.destatis.de/DE/PresseService/Presse/Pressemitteilungen/2018/01/PD18_019_12411.html|title=Bevölkerung in Deutschland zum Jahresende 2016 auf 82,5 Millionen Personen gewachsen|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20180116135358/https://www.destatis.de/DE/PresseService/Presse/Pressemitteilungen/2018/01/PD18_019_12411.html|archivedate=16 January 2018}}</ref>
| population_estimate_year = 2017
| population_estimate_rank = 16
| population_density_km2 = 232
| population_density_sq_mi = 601 <!--Do not remove per [[WP:MOSNUM]]-->
| population_density_rank = 58
| GDP_PPP = 4.150 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ<ref name="IMF database 2017">{{cite web |url=http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2017/02/weodata/weorept.aspx?sy=2017&ey=2017&scsm=1&ssd=1&sort=country&ds=.&br=1&pr1.x=68&pr1.y=13&c=134&s=NGDPD%2CPPPGDP%2CNGDPDPC%2CPPPPC&grp=0&a= |title=World Economic Outlook Database, April 2017, Germany |publisher=[[International Monetary Fund]] |date=April 2017 |accessdate=1 October 2017 |deadurl=no |archiveurl=https://web.archive.org/web/20180208184448/http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2017/02/weodata/weorept.aspx?sy=2017&ey=2017&scsm=1&ssd=1&sort=country&ds=.&br=1&pr1.x=68&pr1.y=13&c=134&s=NGDPD%2CPPPGDP%2CNGDPDPC%2CPPPPC&grp=0&a= |archivedate=8 February 2018 }}</ref>
| GDP_PPP_year = 2017
| GDP_PPP_rank = 5
| GDP_PPP_per_capita = $50,206<ref name="IMF database 2017" />
| GDP_PPP_per_capita_rank = 18th
| GDP_nominal = 3.652 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ<ref name="IMF database 2017" />
| GDP_nominal_year = 2017
| GDP_nominal_rank = 4th
| GDP_nominal_per_capita = $44,184<ref name="IMF database 2017" />
| GDP_nominal_per_capita_rank = 17th
| Gini = 29.5 <!--number only-->
| Gini_year = 2016
| Gini_change = decrease<!--increase/decrease/steady-->
| Gini_ref = <ref name=eurogini>{{cite web|title=Gini coefficient of equivalised disposable income (source: SILC)|url=http://appsso.eurostat.ec.europa.eu/nui/show.do?dataset=ilc_di12|publisher=Eurostat Data Explorer|accessdate=25 November 2017|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20160304045123/http://appsso.eurostat.ec.europa.eu/nui/show.do?dataset=ilc_di12|archivedate=4 March 2016}}</ref>
| Gini_rank =
| HDI = 0.926 <!--number only-->
| HDI_year = 2015<!-- Please use the year to which the data refers, not the publication year-->
| HDI_change = increase<!--increase/decrease/steady-->
| HDI_ref = <ref name="HDI">{{cite web |url=http://hdr.undp.org/sites/default/files/2016_human_development_report.pdf |title=2016 Human Development Report |year=2016 |accessdate=23 March 2017 |publisher=United Nations Development Programme |deadurl=no |archiveurl=https://web.archive.org/web/20170322153238/http://hdr.undp.org/sites/default/files/2016_human_development_report.pdf |archivedate=22 March 2017 }}</ref>
| HDI_rank = 4
| currency = [[ยูโร]] (€)
| currency_code = EUR
| time_zone = [[เวลายุโรปกลาง|CET]]
| utc_offset = +1
| utc_offset_DST = +2
| time_zone_DST = [[เวลาออมแสงยุโรปกลาง|CEST]]
| drives_on = ขวา
| calling_code = +49
| cctld = [[.de]] and [[.eu]]
| area_magnitude = 1 E11
}}
 
'''เยอรมนี''' ({{lang-en|Germany}}; {{lang-de|Deutschland}} ''ดอยฺชลันฺท'') หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ '''สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี''' ({{lang-en|Federal Republic of Germany}}; {{lang-de|Bundesrepublik Deutschland}}) เป็นสหพันธ์[[สาธารณรัฐแบบรัฐสภา]]ใน[[ยุโรปกลาง]] มี[[รัฐในประเทศเยอรมนี|รัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ]] มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดใน[[สหภาพยุโรป]] ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจาก[[สหรัฐ]] เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุง[[เบอร์ลิน]] ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รัวร์ โดยมีศูนย์กลางหลัก[[ดอร์ทมุนท์]]และ[[เอ็สเซิน]] นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ [[ฮัมบวร์ค]] [[มิวนิก]] [[โคโลญ]] [[แฟรงก์เฟิร์ต]] [[ชตุทท์การ์ท]] [[ดึสเซิลดอร์ฟ]] [[ไลพ์ซิช]] [[เบรเมิน]] [[เดรสเดิน]] [[ฮันโนเฟอร์]] และ[[เนือร์นแบร์ก]]
 
ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติด[[ทะเลเหนือ]] [[ประเทศเดนมาร์ก|เดนมาร์ก]] และ[[ทะเลบอลติก]] ทิศตะวันออกติด[[ประเทศโปแลนด์|โปแลนด์]]และ[[เช็กเกีย]] ทิศใต้ติด[[ประเทศออสเตรีย|ออสเตรีย]] และ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สวิตเซอร์แลนด์]] ทิศตะวันตกติด[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] [[ประเทศลักเซมเบิร์ก|ลักเซมเบิร์ก]] [[ประเทศเบลเยียม|เบลเยียม]] และ[[ประเทศเนเธอร์แลนด์|เนเธอร์แลนด์]] มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือ[[เบอร์ลิน]] เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก<ref>{{cite web|title=Germany Top Migration Land After U.S. in New OECD Ranking|url=http://www.bloomberg.com/news/2014-05-20/immigration-boom-propels-germany-past-u-k-in-new-oecd-ranking.html|publisher=Bloomberg|date=20 May 2014|accessdate=29 August 2014}}</ref>
 
เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม &nbsp;[[UNO]], [[OECD]], [[NATO]],&nbsp;[[G7]]&nbsp;และ&nbsp;[[G20]] เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก
 
หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก
 
== ประวัติศาสตร์ ==
{{ประวัติศาสตร์เยอรมนี}}
{{บทความหลัก|ประวัติศาสตร์เยอรมนี}}
การค้นพบโครงกระดูกฟันกรามเมาเออร์ 1 (Mauer 1) ได้ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์มีการตั้งรกรากในบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบันมาตั้งแต่ 600,000 ปีที่แล้ว<ref>{{cite journal|url=http://www.pnas.org/content/107/46/19726.full|title=Radiometric dating of the type-site for Homo heidelbergensis at Mauer, Germany|work=[[Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America|PNAS]]|date=27 August 2010|accessdate=27 August 2010|archivedate=1 January 2015|archiveurl=https://web.archive.org/web/20150101005057/http://www.pnas.org/content/107/46/19726.full|doi=10.1073/pnas.1012722107|volume=107|issue=46|pages=19726–19730|last1=Wagner|first1=G. A|last2=Krbetschek|first2=M|last3=Degering|first3=D|last4=Bahain|first4=J.-J|last5=Shao|first5=Q|last6=Falgueres|first6=C|last7=Voinchet|first7=P|last8=Dolo|first8=J.-M|last9=Garcia|first9=T|last10=Rightmire|first10=G. P|bibcode=2010PNAS..10719726W}}</ref> เครื่องไม้เครื่องมือในการล่าสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกถูกค้นพบในเหมืองถ่านหินบริเวณเมืองเชินนิงเงิน ซึ่งได้ค้นพบทวนไม้โบราณสามเล่มที่ฝังอยู่ใต้ผืนดินมาเป็นเวลากว่า 380,000 ปี<ref>{{cite web|url=http://archive.archaeology.org/9705/newsbriefs/spears.html|title=World's Oldest Spears|work=archive.archaeology.org|publisher=|date=3 May 1997|accessdate=27 August 2010|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20130208032250/http://archive.archaeology.org/9705/newsbriefs/spears.html|archivedate=8 February 2013}}</ref> นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบฟอสซิลมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ "[[นีแอนเดอร์ทาล]]" เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งคาดว่ามีอายุกว่า 40,000 ปี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบหลักฐานของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันในถ้ำของเทือกเขาแอลป์ชวาเบินใกล้กับเมือง[[อุล์ม]] และยังมีการค้นพบเครื่องเป่าที่ทำจากงาช้าง[[แมมมอธ]]และกระดูกของนกอายุกว่า 42,000 ปี ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการค้นพบ<ref>{{cite web|url=http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-18196349|title=Earliest music instruments found|publisher=BBC|date=25 May 2012|accessdate=25 May 2012|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20170903041534/http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-18196349|archivedate=3 September 2017}}</ref> นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรูปสลัก "ไลออนแมน" ที่ตัวเป็นคนหัวเป็นสิงโตจากยุคน้ำแข็งเมื่อ 40,000 ปีก่อน ถือเป็นงานศิลปะอุปมาเลียนแบบกายมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยมีการค้นพบ<ref>{{cite web|url=http://www.theartnewspaper.com/articles/Ice-Age-iLion-Mani-is-worlds-earliest-figurative-sculpture/28595|archiveurl=https://web.archive.org/web/20150215162121/http://www.theartnewspaper.com/articles/Ice-Age-iLion-Mani-is-worlds-earliest-figurative-sculpture/28595|archivedate=15 February 2015|title=Ice Age Lion Man is world's earliest figurative sculpture|work=[[The Art Newspaper]]|date=31 January 2013|accessdate=31 January 2013}}</ref>
 
=== กลุ่มชนเจอร์แมนิกและอาณาจักรแฟรงก์ (ยุคสัมฤทธิ์–ค.ศ. 843) ===
{{บทความหลัก|กลุ่มชนเจอร์แมนิก|สมัยการย้ายถิ่น}}
คาดการณ์ว่า[[กลุ่มชนเจอร์แมนิก]]ตั้งแต่[[ยุคสัมฤทธิ์]]ไปจนถึง[[ยุคเหล็ก]]ก่อนการก่อตั้ง[[กรุงโรม]]นั้น เดิมอยู่อาศัยบริเวณทางใต้ของ[[สแกนดิเนเวีย]]ไปจนถึงตอนเหนือของเยอรมนี พวกเขาขยายอาณาเขตไปทางใต้ ตะวันตกและตะวันออก จนได้รู้จักและติดต่อกับ[[ชาวเคลต์]]ในดินแดน[[กอล]] รวมไปถึง[[กลุ่มชนอิหร่าน]], ชาวบอลติก, [[ชาวสลาฟ]] ซึ่งอาศัยอยู่ใน[[ยุโรปกลาง]]และ[[ยุโรปตะวันออก]]<ref>{{cite book |first =Jill N. |last = Claster |title =Medieval Experience: 300–1400 |publisher =New York University Press |year =1982 |page =35 |isbn=0-8147-1381-5}}</ref> ต่อมา กรุงโรมภายใต้[[จักรพรรดิเอากุสตุส]] เริ่มการรุกรานดินแดนที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน และแผ่ขยายดินแดนครอบคลุมทั่วลุ่ม[[แม่น้ำไรน์]]และ[[เทือกเขายูรัล]] ในค.ศ. 9 กองทหารโรมันสามกองนำโดยวาริอุสได้พ่ายแพ้ให้กับ[[อาร์มินีอุส]]แห่งชนเผ่าเครุสค์ ต่อมาในค.ศ. 100 ในช่วงที่[[ตากิตุส]]เขียนหนังสือ ''Germania'' กลุ่มชนเผ่าเยอรมันก็ต่างได้ตั้งถิ่นฐานตลอด[[แม่น้ำไรน์]]และ[[แม่น้ำดานูบ]] และเข้าครอบครองดินแดนเกือบทั้งหมดในส่วนที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน
 
ในศตวรรษที่ 3 ได้มีการเกิดขึ้นของเผ่าเยอรมันขนาดใหญ่หลายเผ่าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น[[ชนอลามันน์]] (Alemanni), [[ชาวแฟรงก์]] (Franks), ชาวชัตต์ (Chatti), [[ชาวแซกซอน]] (Saxons), ชาวซีกัม (Sicambri), และชาวเทือริง (Thuringii) ราวค.ศ. 260 พวกชนเผ่าเยอรมันเหล่านี้ก็รุกเข้าไปในดินแดนในความควบคุมของโรมัน<ref>{{cite book |series= The Cambridge Ancient History |title =The crisis of empire, A.D. 193–337 |volume =12 |page =442 |isbn=0-521-30199-8 |first =Alan K. |last =Bowman |first2 =Peter |last2 =Garnsey |first3 =Averil |last3 =Cameron |publisher =Cambridge University Press |year = 2005}}</ref> ภายหลังการรุกรานของ[[ชาวฮัน]]ในปี 375 และการเสื่อมอำนาจของโรมันตั้งแต่ปี 395 เป็นต้นไป พวกชนเผ่าเยอรมันก็ยิ่งรุกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ชนเผ่าเยอรมันขนาดใหญ่เหล่านี้เข้าครอบงำชนเผ่าเยอรมันขนาดเล็กต่างๆ เกิดเป็นดินแดนของชนเผ่าเยอรมันในบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน
 
=== อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 843–1815)===
[[ไฟล์:Franks expansion.gif|thumb|261px|อาณาจักรแฟรงก์และการขยายดินแดน และถูกแบ่งออกเป็นสามอาณาจักรในปี 843]]
{{บทความหลัก|อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก|จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์}}
ในค.ศ. 800 [[ชาร์เลอมาญ]] กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ได้ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน และสถาปนา[[จักรวรรดิการอแล็งเฌียง]] ต่อมาในปีค.ศ. 840 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นจากการแย่งชิงบัลลังก์ในหมู่พระโอรสของ[[จักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา]]<ref name="f11">Fulbrook 1991, p. 11.</ref> สงครามกลางเมืองครั้งนี้จบลงในปี 843 โดยการแบ่งจักรวรรดิการอแล็งเฌียงออกเป็นสามอาณาจักรอันได้แก่:
* [[อาณาจักรแฟรงก์กลาง]] – บริเวณเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ตะวันออกของฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และภาคเหนือของอิตาลี
* [[อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก]] – บริเวณเยอรมนี ออสเตรีย เช็กเกีย สโลวะเกีย ฮังการี สโลวีเนีย โครเอเชีย และบางส่วนของบอสเนีย
* [[อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก]] – บริเวณตอนกลางและตะวันตกของฝรั่งเศส
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกแผ่ขยายดินแดนอย่างมากมายครอบคลุมถึงอิตาลีในรัชสมัย[[ออทโทที่ 1 มหาราช|พระเจ้าออทโทที่ 1]] ในปีค.ศ. 962 พระองค์ก็ปราบดาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันตามแบบอย่างชาร์เลอมาญ และสถาปนา[[ราชวงศ์ออทโท]] ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของ[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] ซึ่งในศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้[[ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค]]มีดินแดนในอาณัติกว่า 1,800 แห่งทั่วยุโรป
 
[[ไฟล์:HRR.gif|thumb|261px|อาณาเขตของ[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]]]
===== การผงาดของปรัสเซีย =====
{{บทความหลัก|ปรัสเซีย}}
เดิมที ราชอาณาจักรปรัสเซียเป็นดินแดนหนึ่งในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และยอมรับนับถือจักรพรรดิในกรุงเวียนนาเป็นเจ้าเหนือหัว อย่างไรก็ตาม ปรัสเซียเริ่มแตกหักกับราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเมื่อ[[จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิคาร์ลที่ 6]] เสด็จสวรรคตในปี 1740 ทายาทของจักรพรรดิคาร์ลมีเพียงพระราชธิดาเท่านั้น [[พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย]] ทรงคัดค้านการให้สตรีครองบัลลังก์จักรวรรดิมาตลอด พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ทรงเปิดฉากรุกรานดินแดน[[ไซลีเซีย]]ของ[[ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค]] เกิดเป็นสงครามไซลีเซียครั้งที่หนึ่ง และบานปลายเป็น[[สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย]]ที่มีอังกฤษและสเปนเข้ามาร่วมอยู่ฝ่ายเดียวกับปรัสเซีย สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความเสียเปรียบของฮาพส์บวร์ค ราชสำนักกรุงเวียนนาต้องสูญเสียดินแดนจำนวนมากแก่ปรัสเซียและพันธมิตร ราชสำนักกรุงเบอร์ลินแห่งปรัสเซียได้ผงาดบารมีขึ้นมาเป็นขั้วอำนาจใหม่ในจักรวรรดิเทียบเคียงราชสำนักกรุงเวียนนา แม้ว่าโดยนิตินัยแล้ว ปรัสเซียจะยังคงถือเป็นดินแดนหนึ่งในจักรวรรดิภายใต้ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คก็ตาม
 
=== สมาพันธรัฐเยอรมันและจักรวรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1815–1918) ===
[[ไฟล์:Wernerprokla.jpg|thumb|261px|พระเจ้าวิลเฮล์มแห่งปรัสเซียประกาศตนขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ณ [[พระราชวังแวร์ซาย]]ในกรุงปารีส หลังมีชัยใน[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]]]]
{{บทความหลัก|สมาพันธรัฐเยอรมัน|จักรวรรดิเยอรมัน}}
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องสูญเสียดินแดนมากมายแก่ฝรั่งเศสในช่วง[[สงครามนโปเลียน]] ทำให้ในปีค.ศ. 1806 [[จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2]] ทรงประกาศยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสถาปนา[[จักรวรรดิออสเตรีย]]ขึ้นมาแทน เมื่อ[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1|นโปเลียน]]ถูกโค่นล้มและถูกเนรเทศไป[[เกาะเอลบา]]ในปี 1814 ได้มีการจัด[[การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา]]ขึ้นเพื่อจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ ราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรียได้ร่วมมือกันให้มีการรวมกลุ่มอย่างหลวมๆของรัฐเยอรมันทั้งหลาย จัดตั้งขึ้นเป็น "[[สมาพันธรัฐเยอรมัน]]" เพื่อรวมความเป็นรัฐชาติและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวเยอรมันอีกครั้ง แม้ปรัสเซียจะพยายามผลักดันให้[[พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย]] ดำรงตำแหน่งองค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมันแต่ก็ไม่เป็นผล รัฐสมาชิก 39 แห่งกลับลงมติยอมรับนับถือ[[จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย]] เป็นองค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมัน
 
ในปี 1864 ความขัดแย้งระหว่างออสเตรียกับปรัสเซียขึ้นอีกครั้ง และบานปลายเป็น[[สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย]] หรือที่เรียกว่า "สงครามพี่น้อง" สงครามครั้งนี้จบลงด้วยชัยชนะอย่างงดงามของปรัสเซีย ออสเตรียสูญเสียอิทธิพลเหนือรัฐเยอรมันตอนใต้ทั้งหมดและจำยอมยุบสมาพันธรัฐเยอรมันในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1866 และนำไปสู่การสถาปนา "[[สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ]]" ที่มีกษัตริย์แห่งปรัสเซียเป็นองค์ประธาน และภายหลังปรัสเซียมีชัยใน[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]]ในปี 1871 รัฐสภาแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อสมาพันธรัฐเป็นจักรวรรดิ และมีมติให้[[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี|พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย]] ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ถือเป็นการสถาปนา[[จักรวรรดิเยอรมัน]]อย่างเป็นทางการ
 
จักรวรรดิเยอรมันมีพัฒนาการด้านอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด มีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก และมีกองทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพเป็นลำดับสองรองจาก[[ราชนาวี|ราชนาวีอังกฤษ]] อย่างไรก็ตาม ความปราชัยใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ทำให้เกิดยุคข้าวยากหมากแพงจน[[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี|จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2]] สละราชสมบัติและลี้ภัยการเมืองในปี 1918 เยอรมนีเปลี่ยนไปใช้ระบอบระบอบ[[ประชาธิปไตย]]แบบสาธารณรัฐภายใต้ประธานาธิบดี
 
=== สาธารณรัฐไวมาร์และไรช์ที่สาม (ค.ศ. 1919–1945) ===
{{บทความหลัก|สาธารณรัฐไวมาร์|นาซีเยอรมนี}}
[[ไฟล์:Hitler salute in front of lamppost.jpg|thumb|261px|[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] ผู้นำพายุโรปเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง]]
เมื่อระบอบจักรพรรดิล่มสลาย ได้มีการจัดประชุมสมัชชาแห่งชาติขึ้นที่เมืองไวมาร์และมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ตลอดช่วงเวลา 14 ปีของเยอรมนียุคสาธารณรัฐไวมาร์ ต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งเศรษฐกิจตกต่ำ, อภิมหาเงินเฟ้อ, อัตราการว่างงานสูงลิบ, เผชิญหน้ากับการแพร่ขยายของลิทธิคอมมิวนิสต์จากรัสเซีย รวมถึงการห้ามมีกองทัพจากผลของ[[สนธิสัญญาแวร์ซาย]] ความล่มจมของประเทศเช่นนี้ทำให้เกิดขบวนการชาตินิยมขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ[[พรรคกรรมกรเยอรมัน]] (DAP) ซึ่งมีอุดมการณ์แบบสุดโต่ง สิบตรี[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] ซึ่งเข้ามาสอดแนมในพรรคแห่งนี้ประทับใจกับอุดมการณ์ของพรรค ฮิตเลอร์ตัดสินใจเข้าร่วมพรรคจนก้าวขึ้นเป็นผู้นำพรรค ในปี 1920 ฮิตเลอร์เปลี่ยนชื่อพรรคแห่งนี้เป็น "[[พรรคนาซี|พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน]]" หรือที่รู้จักกันในชื่อ "พรรคนาซี"
 
[[ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่]]ในปี 1929 นั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเยอรมนีมาก ผู้คนนับล้านในเยอรมันตกงาน ฮิตเลอร์ได้ใช้โอกาสนี้หาเสียงและกวาดคะแนนนิยม ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 1932 พรรคนาซีกลายเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดใน[[ไรชส์ทาค (สาธารณรัฐไวมาร์)|สภาไรชส์ทาค]] ครองที่นั่ง 280 ที่นั่งจากทั้งหมด 584 ที่นั่ง จะเห็นได้ว่าแม้นาซีจะเป็นพรรคใหญ่สุดแต่ก็ยังไม่ได้ครองเสียงข้างมาก เมื่อเกิด[[เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค]]ขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1933 นายกรัฐมนตรีฮิตเลอร์กดดันให้[[เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก|ประธานาธิบดีฮินเดนบูร์ก]]ออก[[กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค]] และหว่านล้อมให้สภาลงมติอนุมัติ[[รัฐบัญญัติมอบอำนาจ]] ซึ่งทำให้ฮิตเลอร์กลายเป็น "[[ฟือเรอร์]]" ผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จในเยอรมนีไปโดยปริยาย
 
เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุด เขาได้ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายทิ้งและเร่งฟื้นฟูแสนยานุภาพของเยอรมันเป็นการใหญ่ ฮิตเลอร์ประกาศลดภาษีรถยนต์เป็นศูนย์และเร่งรัดให้มีการสร้างทางหลวง[[เอาโทบาน]]ทั่วประเทศ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมันเติบโตอย่างมโหฬาร เยอรมนีผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจอีกครั้งและกลายเป็นชาติที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าที่สุดในโลกในทุกด้าน ทั้งด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรม การแพทย์ และการทหาร แม้ว่าความรุ่งเรืองเหล่านี้ ส่วนหนึ่งจะเป็นผลมาจากการขูดรีดแรงงานในค่ายกักกันก็ตาม
===== สงครามโลกครั้งที่สอง =====
[[ไฟล์:Europe, 1942.svg|thumb|261px|แผนที่สงครามในทวีปยุโรป ค.ศ. 1942 <br>{{legend|#5881d0|ดินแดนในยึดครองของเยอรมัน|border=0}}{{legend|#7ea2e7|เขตอิทธิพล/รัฐหุ่นเชิดของเยอรมัน|border=0}}{{legend|#e51029|สหภาพโซเวียต|border=0}}{{legend|#41c36a|สหราชอาณาจักรและอาณานิคม|border=0}}]]
 
ในปี 1939 ฮิตเลอร์จุดชนวน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ในยุโรปโดย[[การบุกครองโปแลนด์]] ตามด้วยการรุกรานประเทศอื่นๆในยุโรปและยังทำ[[กติกาสัญญาไตรภาคี]]เป็นพันธมิตรกับอิตาลีและญี่ปุ่น เขตอิทธิพลของนาซีเยอรมันได้แผ่ไพศาลที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติเยอรมันในปี 1942 ครอบคลุมส่วนใหญ่ของ[[ยุโรปภาคพื้นทวีป]] ในปี 1943 ฮิตเลอร์เปลี่ยนชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของเยอรมนีจาก "[[ไรช์เยอรมัน]]" (''Deutsches Reich'') เป็น "ไรช์มหาเยอรมัน" (''Großdeutsches Reich'')
 
หลังความล้มเหลวใน[[ปฏิบัติการบาร์บารอสซา]] เยอรมันก็ถูกรุกกลับอย่างรวดเร็วจากทั้งสองด้าน เมื่อ[[กองทัพแดง]]บุกถึงกรุงเบอร์ลินในเดือนเมษายน 1945 ฮิตเลอร์ก็ยิงตัวตาย หนึ่งสัปดาห์ต่อมา เยอรมนีก็[[ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี|ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร]]
 
=== เยอรมนีตะวันออกและตะวันตก (ค.ศ. 1945–1990) ===
หลังเยอรมนียอมจำนนแล้ว ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้แบ่งกรุงเบอร์ลินและประเทศเยอรมนีออกเป็น 4 เขตในยึดครองทางทหาร เขตฝั่งตะวันตกซึ่งควบคุมโดยฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ได้รวมกันและจัดตั้งขึ้นเป็นประเทศที่ชื่อว่า "สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี" เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 ส่วนเขตทางตะวันออกซึ่งอยู่ในควบคุมของสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งขึ้นเป็นประเทศที่ชื่อว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี" เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ทั้งสองประเทศนี้ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "[[ประเทศเยอรมนีตะวันตก]]" มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุง[[บ็อน]] และ "[[ประเทศเยอรมนีตะวันออก]]" มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุง[[เบอร์ลินตะวันออก]]
 
เยอรมนีตะวันตกมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐภายใต้รัฐสภากลาง และใช้ระบบเศรษฐกิจการตลาดเพื่อสังคม (Social Market Economy) เยอรมนีตะวันตกรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจำนวนมากตาม[[แผนมาร์แชลล์]]เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมของตน เศรษฐกิจของเยอรมนีตะวันตกฟื้นฟูอย่างรวดเร็วจนถูกเรียกว่า "ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ" (Economic miracle) เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วม[[องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ]] (NATO) ในปี 1955 และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง[[ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป]] (EEC) ในปี 1957
 
เยอรมนีตะวันตกเป็นรัฐใน[[กลุ่มตะวันออก]] (Eastern Bloc) ซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองและทางทหารของสหภาพโซเวียต และยังเป็นรัฐร่วมภาคีใน[[กติกาสัญญาวอร์ซอ]] และแม้ว่าเยอรมนีตะวันออกจะอ้างว่าตนเองปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่อำนาจทางการเมืองการปกครองทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของ[[โปลิตบูโร]]แห่ง[[พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี]] (SED) ซึ่งมีหัวแบบคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ พรรคฯยังมีการหนุนหลังจาก "กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ "หรือที่เรียกว่า "[[สตาซี]]" (Stasi) อันเป็นหน่วยงานรัฐขนาดใหญ่ที่ควบคุมเกือบทุกแง่มุมของสังคม<ref name="spiegel_20080311">{{cite web|url = http://www.spiegel.de/international/germany/east-german-spies-new-study-finds-more-stasi-spooks-a-540771.html|title = New Study Finds More Stasi Spooks|author = maw/dpa|date = 11 March 2008|work = [[Der Spiegel]]|accessdate = 30 October 2011|deadurl = no|archiveurl = https://web.archive.org/web/20121119094328/http://www.spiegel.de/international/germany/east-german-spies-new-study-finds-more-stasi-spooks-a-540771.html|archivedate = 19 November 2012}}</ref> เยอรมนีตะวันออกใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ อันเป็นระบบเศรษฐกิจที่ทุกอย่างถูกวางแผนโดยรัฐ
 
[[ไฟล์:West and East Germans at the Brandenburg Gate in 1989.jpg|261px|thumb|ที่หน้า[[ประตูบรันเดินบวร์ค]] ผู้คนออกมาชุมนุมยินดีต่อการพังทลายลงของ[[กำแพงเบอร์ลิน]]ในปี 1989]]
ชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากพยายามข้ามไปยังเยอรมนีตะวันตกเพื่ออิสรภาพและชีวิตที่ดีกว่า ทำให้เยอรมนีตะวันออกตัดสินใจสร้าง[[กำแพงเบอร์ลิน]]ขึ้นมาเพื่อป้องกันการลักลอบข้ามแดน กำแพงเบอร์ลินถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 1961 กำแพงแห่งนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ[[สงครามเย็น]]ระหว่างฝ่ายเสรีกับฝ่ายคอมมิวนิสต์.<ref name="state">{{cite web|url=https://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/3997.htm|title=Germany|publisher=U.S. Department of State|date=10 November 2010|accessdate=26 March 2011|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20110324180706/http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/3997.htm|archivedate=24 March 2011}}</ref> <ref>{{cite web|url=http://www.bbc.co.uk/history/places/berlin_wall|title=The Berlin Wall|access-date=8 February 2017|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20170226011158/http://www.bbc.co.uk/history/places/berlin_wall|archivedate=26 February 2017}}</ref> การพังทลายลงของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ[[การปฏิวัติ ค.ศ. 1989|การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์]] นำมาซึ่ง[[การรวมประเทศเยอรมนี]]ในปีถัดมา ก่อนที่จะตามมาด้วย[[การล่มสลายของสหภาพโซเวียต]]ในปีให้หลัง
 
== ภูมิศาสตร์กายภาพ ==
[[ไฟล์:Deutschland topo.png|250px|left|thumb|แผนที่แสดงความสูงต่ำของประเทศ]]
เยอรมนีเป็นประเทศที่อยู่ตรงยุโรปกลางทำให้เรียกได้ว่าเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางของ[[ทวีปยุโรป]]มีพรมแดนทางทิศเหนือติด[[ทะเลเหนือ]] [[ประเทศเดนมาร์ก|เดนมาร์ก]] และ[[ทะเลบอลติก]] ทิศตะวันออกติด[[ประเทศโปแลนด์|โปแลนด์]]และ[[ประเทศเช็กเกีย|เช็กเกีย]] ทิศใต้ติด[[ประเทศออสเตรีย|ออสเตรีย]] และ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สวิตเซอร์แลนด์]] ทิศตะวันตกติด[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] [[ประเทศลักเซมเบิร์ก|ลักเซมเบิร์ก]] [[ประเทศเบลเยียม|เบลเยียม]] และ[[ประเทศเนเธอร์แลนด์|เนเธอร์แลนด์]] และยังมีพนมแดนติดกับ[[ทะเลสาบโบเดิน]]ที่เป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ3ในทวีปยุโรป<ref>[http://library.mcmaster.ca/maps/fc1999.htm Image #432, Flying Camera Satellite Images 1999], Lloyd Reeds Map Collection, McMaster University Library.</ref>
 
ประเทศเยอรมนีมีขนาด357,021 ตารางกิโลเมตรโดยแบ่งเป็นพื้นดิน349,223 ตารางกิโลเมตรและพื้นน้ำ,798 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ใน[[ทวีปยุโรป]]และใหญ่เป็นอันดับ 62 ของโลก<ref name="CIA">{{cite web| url = https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/gm.html| title =Germany|work=CIA World Factbook|accessdate =30 August 2014|publisher=Central Intelligence Agency}}</ref>และด้วยพรมแดนมีความยาวทั้งหมดรวม 3,757 กิโลเมตรมีประเทศเพื่อนบ้านถึง 9 ประเทศ ทำให้เยอรมนีเป็นประเทศที่มีประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุดใน[[ทวีปยุโรป]]<ref>[http://www.reformsyria.org/%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3/ 0eo;ogrnjvo[hko]</ref>
 
เยอรมนีมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันไปจากทางตอนเหนือถึงทางตอนใต้ โดยมีทั้งที่ราบทางตอนเหนือและเทือกเขาทางตอนใต้ เอยรมนียังมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แร่เหล็ก, ถ่านหิน, โพแทช, ไม้, ลิกไนต์, ยูเรเนียม, ทองแดง, ก๊าซธรรมชาติ, เกลือ, นิกเกิล, พื้นที่เพาะปลูกและน้ำ<ref name="CIA"/>
 
=== ภูมิอากาศ ===
ประเทศเยอรมนีไม่มีฤดูแล้งและฤดูหนาวจะมีอากาศที่เย็นถึงหนาวจัดและฤดูร้อนจะมีความอบอุ่นโดยอุณหภูมิจะไม่เกิน 30 ° C
=== ความหลากหลายทางชีวภาพ ===
ในปี 2008 อาณาเขตของประเทศเยอรมนีสามารถแบ่งสภาพพื้นดินได้โดยแบ่งเป็นพื้นที่ทำกิน (34%) ป่าไม้ (30.1%) ทุ่งหญ้าถาวร 11.8%<ref>{{cite web|last=Strohm|first=Kathrin|url=http://www.agribenchmark.org/fileadmin/Dateiablage/B-Cash-Crop/Conferences/2010/Presentations/Poster_Germany.pdf|title=Arable farming in Germany|publisher=Agri benchmark|date=May 2010|accessdate=14 April 2011}}</ref>พืชและสัตว์ในเยอรมนีส่วนใหญ่เป็นพืชและสัตว์ในยุโรปกลางโดยต้นไม้ส่วนใหญ่ก็จะเป็น [[เบิร์ช]], [[โอ๊ก]]และต้นไม้ผลัดใบอื่น ๆ ที่พบตามพื้นก็จะเป็น [[มอสส์]], [[เฟิร์น]], [[คอร์นฟลาวเวอร์]], [[เห็ดรา]] สัตว์ป่าก็จะเป็น [[กวาง]], [[หมูป่า]], [[แพะภูเขา]], [[หมาจิ้งจอกแดง]], [[แบดเจอร์ยุโรป]],[[กระต่ายป่า]]และอาจมี[[บีเวอร์]]บริเวณชายแดน[[ประเทศโปแลนด์]]ด้วย<ref>{{cite book| last=Bekker |first=Henk |title=Adventure Guide Germany |year=2005 |publisher=Hunter |isbn =978-1-58843-503-3 |page=14}}</ref>:ซึ่ง[[คอร์นฟลาวเวอร์]]สีฟ้าเคยเป็นดอกไม้ประจำชาติด้วย<ref>{{cite book| author = Marcel Cleene|author2=Marie Claire Lejeune| title = Compendium of Symbolic and Ritual Plants in Europe: Herbs| url = https://books.google.com/?id=g5GBAAAAMAAJ| year = 2002| publisher = Man & Culture| quote=The Cornflower was once the floral emblem of Germany (hence the German common name Kaiserblume).}}</ref>
 
== การเมืองการปกครอง ==
การรวมประเทศในปี 1990 นั้น เสมือนเป็นการผนวกประเทศเยอรมนีตะวันออกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีตะวันตก ดังนั้นระบบระเบียบการปกครองทั้งหมดในประเทศเยอรมนีใหม่นี้ จึงยึดเอาระบบระเบียบเดิมของเยอรมนีตะวันตกมาทั้งหมด กฎหมายสูงสุดหรือรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมนีเรียกว่า ''กรุนด์เกเซ็ทท์'' (''Grundgesetz'') หรือแปลอย่างตรงตัวได้ว่า "กฎหมายพื้นฐาน" ถูกบัญญัติขึ้นในปี 1949 เพื่อใช้เป็นรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมนีตะวันตก การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จำเป็นต้องได้รับเสียงอย่างน้อยสองในสามจากที่ประชุมร่วมสองสภาและ อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐาน, [[การแยกใช้อำนาจ]], โครงสร้างสหพันธ์ และสิทธิในการต่อต้านความพยายามล้มล้างมิอาจถูกแก้ไขได้