ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะองคมนตรีไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ สกายดาวงามขำ (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย เอ็ดมัน
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3:
 
== ประวัติ ==
คำว่า "องคมนตรี" ในภาษาไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงตั้งสภาขึ้น 2 สภา คือ [[สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน]] (Council of state) จำนวน 12 คน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 (ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2437 ได้ยกเลิกไปและจัดตั้ง ''รัฐมนตรีสภา'' ขึ้นแทน) และ[[ปรีวีเคาน์ซิล]] (Privy council) หรือ ''ที่ปฤกษาในพระองค์'' จำนวน 49 คน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2417 (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น องคมนตรีสภา)
 
ในสมัยรัชกาลที่ 6 [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงแต่งตั้งองคมนตรี จำนวน 40 คน ตั้งเป็น [[สภากรรมการองคมนตรี]] ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี ขึ้นใหม่ทุกปีในวันที่ 4 เมษายน เนื่องใน[[พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา]] เมื่อสิ้นรัชกาลรัชสมัยจึงมีองคมนตรีมากถึง 233 คน
 
ในสมัยรัชกาลที่ 7 [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเป็น 3 องค์กร คือ [[อภิรัฐมนตรีสภา]] [[เสนาบดีสภา]] และ[[สภากรรมการองคมนตรี]] โดยอภิรัฐมนตรีสภาก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เทียบเท่าได้กับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จำนวน 5 พระองค์ ซึ่งทรงเคยรับราชการตำแหน่งสำคัญในรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย
* [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอจอมพล เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช|จอมพลเรือ [[สมเด็จพระเจ้าพระราชปิตุลาบรมวงศ์เธอพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช]]
* จอมพล จอมพลเรือ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต|จอมพล]]
* พลเอก [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]
* นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศดำรงรานุวัดติวงศ์ชานุภาพ]]
* มหาอำมาตย์เอก นายพลตรี [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพพระจันทบุรีนฤนาถ]]
* [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ]]
 
<gallery perrow="5">
บรรทัด 22:
</gallery>
 
ต่อมาเมื่อมี[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การปฏิวัติ]]เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]ไปเป็น[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] ในระยะแรก[[คณะราษฎร]]ได้มีประกาศยกเลิกอภิรัฐมนตรีสภา และพระราชบัญญัติองคมนตรี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 และว่างเว้นมาเป็นเวลา 15 ปี จนกระทั่งใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490]] จึงมีบทบัญญัติคล้ายคลึงกันโดยกำหนดให้มี "คณะอภิรัฐมนตรี" ทำหน้าที่นี้ ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะองคมนตรี" ใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492]] และใช้มาตราบจนถึงปัจจุบัน
 
[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560]] ระบุว่าเป็นคณะบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา รวมทั้งปฏิบัติภารกิจตามที่พระมหากษัตริย์ทรงกำหนดหรือทรงมอบหมาย การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย โดยประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี หรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี หรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง