ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิสุยหยาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
'''จักรพรรดิสุยหยาง''' ({{zh|c=隋煬帝|p=Suí Yáng Dì}}; ค.ศ. 569 – 11 เมษายน ค.ศ. 618) ชื่อตัวว่า '''หยาง กวั่ง''' (楊廣) ชื่อเดิมว่า '''หยาง ยิง''' (英) และชื่อรองว่า '''อาหมัว''' (阿摩) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่ง[[ราชวงศ์สุย]] (隋朝) ของ[[จีนโบราณ]] และเป็นโอรสองค์ที่ 2 ของ[[จักรพรรดิสุยเหวิน]] (隋文帝)
 
หยาง กวั่ง เดิมชื่อ หยาง ยิง แต่หยาง เจียน (楊堅) ผู้เป็นบิดา ซึ่งต่อมาคือจักรพรรดิสุยเหวิน ให้เปลี่ยนชื่อเป็น หยาง กวั่ง ตามคำพยากรณ์ที่ได้รับ ต่อมาเมื่อหยาง เจียน ตั้งราชวงศ์สุยใน ค.ศ. 581 และขึ้นเป็นจักรพรรดิสุยเหวินแล้ว ก็ตั้งหยาง กวั่ง เป็นเจ้า ฐานันดรศักดิ์ว่า จิ้นหวัง (晋王) ครั้น ค.ศ. 588 จักรพรรดิสุยเหวินให้หยาง กวั่ง นำทหารห้ากองไปตี[[ราชวงศ์เฉิน]] (陳朝) ทางใต้เป็นผลสำเร็จ ทำให้หยาง กวั่ง เป็นที่ชื่นชมไปทั่ว ภายหลัง หยาง กวั่ง ทำเล่ห์กลใส่[[หยาง หย่ง]] (楊勇) ผู้เป็นพี่ชาย จนตนเองได้เป็นรัชทายาทใน ค.ศ. 600 ครั้นจักรพรรดิสุยเหวินสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 604 เกิดร่ำลือกันว่า การสิ้นพระชนม์เป็นฝีมือของหยาง กวั่ง แต่ไร้หลักฐานยืนยัน กระนั้น หยาง กวั่ง ในฐานะรัชทายาท ก็ได้สืบราชสมบัติต่อจากจักรพรรดิสุยเหวินผู้เป็นบิดา
 
หยาง กวั่ง ครองราชย์ช่วง ค.ศ. 604–618 ระหว่างนั้น เขาจัดทำโครงการใหญ่หลายอย่าง ที่ลือชื่อที่สุดเห็นจะเป็นการขุดเจาะ[[คลองใหญ่ (ประเทศจีน)|คลองสัญจรหลวง]] (大运河) รวมถึงการบูรณะ[[กำแพงเมืองจีน|กำแพงยาว]] (長城) ที่ทำให้แรงงานล้มตายราว 6 ล้านคน นอกจากนี้ เขายังจัดทัพไปโจมตีบ้านอื่นเมืองอื่นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้น คือ การโจมตี[[อาณาจักรจามปา]]ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเวียดนามตอนกลางและตอนใต้ ทำให้ทแกล้วทหารราชวงศ์สุยหลายพันนายล้มตายลงเพราะมาลาเรีย อนึ่ง เขายังส่งทัพไปตี[[อาณาจักรโคกูรยอ]]ในเกาหลี ซึ่ง[[สงครามโคกูรยอ–สุย|พ่ายแพ้ยับเยิน]] ทั้งทำให้ท้องพระคลังแห้งเหือด เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ชาวประชาลุกขึ้นต่อต้านราชวงศ์ ที่สุดแล้ว ขุนพล[[ยฺหวี่เหวิน ฮฺว่าจี๋]] (宇文化及) ยึดอำนาจสำเร็จ แล้วจับหยาง กวั่ง รัดคอตายในนคร[[เจียงตู]] (江都) ซึ่งปัจจุบันอยู่ใน[[หยางโจว]] (扬州) [[มณฑลเจียงซู]] (江苏)