ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปลัด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนทางไปที่ ฐานานุกรม
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เปลี่ยนทางไม่ถูกต้อง การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 1:
#REDIRECT [[ฐานานุกรม]]
[[พระราชาคณะ]]ชั้นสามัญตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง คือ '''พระปลัด''' พระสมุห์ พระใบฎีกา สิทธิในการให้พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์สามารถแต่งตั้งพระฐานานุกรมได้ จะมีระบุไว้ในสัญญาบัตรพระราชทานสมณศักดิ์ ว่าให้สามารถตั้งได้เท่านั้นเท่านี้รูป ซึ่งพระสงฆ์ผู้ได้รับพระราชทานสิทธิในการตั้งพระฐานานุกรม จะตั้งหรือไม่ตั้งก็ได้ หรือจะตั้ง แต่ตั้งเพียงจำนวนเท่าที่เห็นควรก็ได้ ไม่จำต้องตั้งทั้งหมด
 
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งในลักษณะนี้เรียกว่า '''พระฐานานุกรม''' ทุกรูปจัดเป็นพระมีสมณศักดิ์เหมือนพระสมณศักดิ์ที่ทรงแต่งตั้ง พระในตำแหน่งเหล่านี้บางทีเรียก'''ประทวนสัญญาบัตร''' บ้าง '''ฐานาประทวน''' บ้าง และเนื่องจากสมณศักดิ์เหล่านี้[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]ไม่ได้พระราชทานเอง ดังนั้นเมื่อพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ที่ได้ตั้งฐานานุกรมไว้[[มรณภาพ]] ตำแหน่งฐานานุกรมต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นอันสิ้นสุดไปด้วย เรียกกันในภาษาปากว่า '''พระครูม่าย''' หรือ '''ฐานาม่าย''' จนกว่าจะได้รับแต่งตั้งฐานานุกรมใหม่
 
จัดอยู่ในประเภท ฐานานุกรมชั้นธรรมดา หมายถึง  ฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นสามัญ   ตำแหน่ง '''พระปลัด''' พระสมุห์ และ พระใบฎีกา ซึ่งไม่มีคำว่า ''“พระครู”'' นำหน้า  แต่พระปลัดมี ในฐานานุกรมนี้ มีสมณศักดิ์อันดับในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี เหนือกว่า เปรียญธรรม  ๓  ประโยค [[เปรียญธรรม 3 ประโยค]]
 
อนึ่ง  ในพระราชบัญญัติลักษณปกครองคณะสงฆ์รัตนโกสินทรศก ๑๒๑  กำหนด ให้เจ้าคณะตั้งฐานานุกรมได้ดังนี้
 
         ๑)  '''เจ้าคณะมณฑล'''     ตั้งได้  ๖  คือ    พระครูปลัด ๑    พระครูวินัยธร   ๑ พระครูธรรมธร ๑  พระสังฆรักษ์ ๑  พระสมุห์ ๑  พระใบฎีกา ๑   ถ้าในสัญญาบัตรระบุให้ตั้งตำแหน่งใดแล้ว มิให้ตั้งตำแหน่งนั้นอีก
 
         ๒)  '''เจ้าคณะเมือง'''  ตั้งได้  ๕  คือ '''พระปลัด''' ๑ พระวินัยธร ๑  พระธรรมธร ๑  พระสมุห์ ๑  พระใบฎีกา ๑
 
         ๓)  '''เจ้าคณะแขวง'''  ตั้งได้  ๒  คือ  พระสมุห์ ๑  พระใบฎีกา ๑  ถ้าเจ้าคณะแขวงเป็นพระครูสัญญาบัตรแล้ว  ตั้งได้อีก ๑   คือ '''พระปลัด'''
 
         แม้ในปัจจุบันนี้  มิได้ใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวและในพระราชบัญญัติที่ใช้อยู่มิได้บัญญัติไว้ แต่ยังปรากฏว่า เจ้าคณะอำเภอได้ตั้งฐานานุกรมในตำแหน่งทางการปกครองอยู่และไม่มีผู้ใดท้วงติง อันแสดงว่ายังคงใช้ได้