ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Uhuhook (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับปรุงบางส่วน
บรรทัด 16:
| casualties2 =
ฮิโรชิมะ:
* ทหาร 20,000+ คน เสียชีวิดชีวิต
* พลเรือน 70,000–146,000 คน เสียชีวิดชีวิต
นางาซากิ:
* 39,000–80,000 คน เสียชีวิดชีวิต
'''รวม: 129,000–246,000+ คน เสียชีวิดชีวิต'''
}}
'''การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ''' เป็นการโจมตี[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]ด้วย[[อาวุธนิวเคลียร์]]ของ[[สหรัฐอเมริกา]] เมื่อปลาย[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา [[แฮร์รี เอส. ทรูแมน]] เมื่อวันที่ [[6 สิงหาคม]] และวันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]] หลังจากการโจมตีทิ้ง[[ระเบิดเพลิง]]ตามเมืองต่าง ๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "[[ลิตเติลบอย]]" ใส่เมือง[[ฮิโรชิมะ (เมือง)|ฮิโรชิมะ]]ในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "[[แฟตแมน]]" ลูกที่สองใส่เมือง[[นางาซากิ (เมือง)|นางาซากิ]]โดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ใน[[ประวัติศาสตร์]]การทำ[[สงคราม]]
 
การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่[[ฮิโรชิมะ]] 140,000 คนและที่[[นางาซากิ (เมือง)|นางาซากิ]] 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับ[[กัมมันตรังสี]]ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน
 
หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อ[[ฝ่ายพันธมิตร]]เมื่อวันที่ [[15 สิงหาคม]] พ.ศ. 2488 และลงนามใน[[ตราสาร]]ประกาศยอมแพ้[[สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก]]ที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ [[2 กันยายน]] พ.ศ. 2488 ([[นาซีเยอรมนี]]ลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ [[5 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2488) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์