ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 16:
|e_next=แยกสามเหลี่ยมดินแดง
|w_next=แยกตึกชัย
}}<br />
<br />
 
'''อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ''' เป็น[[อนุสาวรีย์]]ใน[[กรุงเทพมหานคร]] โดยรอบเป็น[[วงเวียน]]อยู่กึ่งกลางระหว่าง[[ถนนพหลโยธิน]] [[ถนนราชวิถี]] และ[[ถนนพญาไท]] โดยตั้งอยู่ที่ กม. 0 ของถนนพหลโยธิน
 
== ประวัติ ==
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปใน[[กรณีพิพาทอินโดจีน|กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส]]เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับ[[อินโดจีนฝรั่งเศส]] ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 59 คน ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน พลเอก [[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และ[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] เป็นผู้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ [[หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล]]
 
ก่อนที่จะมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของ[[ถนนพญาไท]] [[ถนนราชวิถี]] และ[[ถนนพหลโยธิน]]นี้มีชื่อเรียกว่า สี่แยกสนามเป้า
 
=== ความหมาย ===
การออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจสี่ประการ คือ
 
* ปฏิบัติการของกองทัพทั้ง 5
* ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ
* อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ
* เหตุการณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ
 
ประติมากรรมทหาร 5 เหล่าหม่อมหลวงปิ่นใช้ดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร โดยใช้ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดสองเท่าคนธรรมดา ของนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, [[ศิลป์ พีระศรี|แช่ม ขาวมีชื่อ]] ภายใต้การควบคุมของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้มีทั้งสิ้น 160 นาย เป็นทหารบก 94 นาย ทหารเรือ 41 นาย ทหารอากาศ 13 นาย และตำรวจสนาม 12 นาย จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2483-พ.ศ. 2497 รวมทั้งสิ้น 801 นายความสำคัญอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยามค่ำคืนาติจากสงครามต่าง ๆ ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2483]]-[[พ.ศ. 2497]] รวมทั้งสิ้น 801 นาย.
 
== ความสำคัญ ==
[[ภาพ:Victory monument.jpg|thumb|อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยามค่ำคืน]]
นอกจากเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญ และเป็นที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิต ใน[[กรณีพิพาทอินโดจีน|กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส]] [[สงครามโลกครั้งที่ 2]] และ[[สงครามเกาหลี]]แล้ว ยังเป็นต้นทางของ[[ถนนพหลโยธิน]] รวมไปถึงศูนย์กลางการคมนาคมที่มีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง เป็นจำนวนมาก ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS และรถตู้ ผ่านตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นชุมทางการคมนาคมที่สำคัญของ[[กรุงเทพมหานคร]]ในปัจจุบัน
<br />
 
สิ่งก่อสร้างบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้แก่ [[โรงพยาบาลราชวิถี]] [[โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า]] [[วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า]] [[ทางพิเศษศรีรัช]] [[สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ|สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]] [[แฟชั่นมอลล์]] [[เซ็นเตอร์วัน]]
 
นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณา ptt performa gold เมื่อปี 2540 และ ยังเป็นฉากระเบิดอนุสาวรีย์ ในภาพยนตร์เรื่อง มหาอุตม์ เมื่อปี 2546 อีกด้วย
 
== การเดินทาง ==
การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะสู่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
 
{| class="wikitable"
|+ '''การขนส่งสาธารณะ'''
!บริการ!!สถานี/ที่หยุดรถประจำทาง!!เส้นทาง/สาย
|-
| rowspan="4"|[[ไฟล์:BMTA Logo2014.png|17px]] รถโดยสารประจำทาง || เกาะราชวิถี || 8, 12, 14, 18, 28, 92, 97, 108, 157, 171, 509, 515, 536, 538, 539, 542, R26E
|-
| เกาะพญาไท || 14, 17, 29, 34, 36, 38, 39, 54, 59, 62, 74, 77, 139, 140, 172, 177, 183, 187, 204, 503, 529, 536, 539, 542
|-
| เกาะดินแดง || 12, 24, 36, 36ก, 58, 69, 92, 168, 171, 172, 187, 528, 529, 538, R26E
|-
| เกาะพหลโยธิน || 8, 26, 27, 29, 34, 38, 39, 54, 63, 74, 77, 97, 108, 157, 166, 177, 204, 502, 503, 509, 510, 522, A2
|-
| [[ไฟล์:BTS LOGO.png|16px]] [[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] || [[ไฟล์:BTS N3.png|20px]] [[สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (รถไฟฟ้าบีทีเอส)|อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]] || [[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท|สายสุขุมวิท]]
|}
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[รายชื่ออนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานในประเทศไทย]]
 
== อ้างอิง ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Victory Monument in Bangkok|อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ}}
{{ภาพถ่ายทางอากาศ|url=http://maps.google.com/maps?t=k&q=Thailand&ll=13.764667,100.537884&spn=0.004377,0.010815&t=k&q=Thailand}}
{{Coord|13|45|53|N|100|32|19|E|type:landmark_region:TH:10|display=title}}
 
* [http://www.wing21.rtaf.mi.th/wboard/question.asp?GID=7651 สงครามอินโดจีน ไทยรบฝรั่งเศส พ.ศ. 2483] โดย สรศัลย์ แพ่งสภา
*
* [http://www.siamsewana.org/vbb/index.php?target=viewmesg&select=2581 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสรณ์สถาน "วันทหารผ่านศึก" 3 กุมภาพันธ์ รำลึก] โดย สุชาฎา ประพันธ์วงศ์
 
{{ทางแยกในกรุงเทพมหานคร}}