ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้ามังระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
}}
 
'''พระเจ้ามังระ''' หรือ '''พระเจ้าซินพะยูชิน''' ({{lang-my|ဆင်ဖြူရှင်}};‌ {{lang-roman| Hsinbyushin}}) เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในจำนวน 6 พระองค์ของ[[พระเจ้าอลองพญา]] ปฐมกษัตริย์[[ราชวงศ์อลองพญา]]หรือราชวงศ์คองบโก้นบอง ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์อลองพญา ในปี พ.ศ. 2306 พระองค์ได้ตามเสด็จพระเจ้าอลองพญาออกรบตั้งแต่อายุ15ปี เมื่ออายุ17ปี ก็สามารถเป็นผู้นำทัพเข้ายึดกรุงอังวะจากทหารมอญทั้งที่มีกำลังพลน้อยกว่ามากได้อย่างน่าประหลาดใจ ครั้นอายุ20 ก็ช่วย[[พระเจ้าอลองพญา]]รวมแผ่นดินสถาปนาราชวงค์คองวงค์โก้นบองได้สำเร็จ อีกทั้งยังได้เป็นผู้ติดตามพระราชบิดามาทำสงครามกับอยุธยาในการบุกครั้งแรกด้วย โดยในพงศาวดารของฝั่งพม่าได้กล่าวถึงราชบุตรมังระว่า เป็นผู้เตือนพระบิดาคือพระเจ้าอลองพญาว่า การบุกคราวนี้ยังไม่พร้อมพอที่จะเอาชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยาที่มีปราการธรรมชาติระดับนี้ได้ ซึ่งการณ์ก็เป็นไปดังนั้น และพระองค์ยังต้องเสียพระราชบิดาไปในศึกคราวนี้ด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2306 หลังจากขึ้นครองราชย์ พระองค์ปรารภในที่ประชุมขุนนางว่า ''"อยุธยาไม่เคยแพ้อย่างราบคาบมาก่อน"'' พระองค์สืบทอดเจตนารมณ์ของพระราชบิดา ด้วยการส่ง[[เนเมียวสีหบดี]]เข้ามากวาดต้อนผู้คนและกำลังพลจากหัวเมืองทางเหนือก่อนในปี พ.ศ. 2307 และได้ส่งทัพจากทางใต้คือ[[มังมหานรธา]]เข้ามาเสริมช่วยอีกทัพหนึ่ง ทั้ง 2 ทัพได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง 1 ปีกับสองเดือน แม้ถึงฤดูน้ำหลากก็ไม่ยกทัพกลับ สามารถเข้าตีพระนครได้เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ตรงกับวันอังคาร ขึ้นเก้าค่ำ เดือนห้า ปีกุน <ref>Myint-U, p. 90</ref><ref name=rlf-88>Myint-U, pp. 88–91</ref>
 
บรรทัด 58:
แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อกองทัพของ[[เนเมียวสีหบดี]]กลับมาถึงหลังจากพิชิตกรุงศรีอยุธยาลงได้แล้ว อะแซหุว่นกี้จึงเปลี่ยนแผนโดยใช้กองทัพเข้าโจมตีจุดสำคัญในเวลาพร้อมๆกัน เพื่อบีบให้กองทัพต้าชิงที่กระจายตัวอยู่ถอยกลับมารวมกับกองทัพใหญ่ จากนั้นกองทัพพม่าจึงเข้าตีกระหนาบและล้อมกองทัพต้าชิงไว้ได้ แม้ชัยชนะจะอยู่ต่อหน้าแล้ว แต่[[อะแซหวุ่นกี้]]ก็ไม่ได้สั่งให้ทหารพม่าเข้าทำลายกองทัพต้าชิง ทำแต่เพียงล้อมเอาไว้แล้วบีบให้ยอมเจรจา{{Sfn|Harvey|1925|p=255–257}} หลังจากการรบยืดเยื้อจนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2312 พม่าและจีนก็พักรบเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างเหนื่อยล้าเต็มทน และยิ่งนานไปยิ่งไม่เป็นผลดีต่อทั้งคู่ โดยฝ่ายต้าชิงที่ติดอยู่ในวงล้อมตัดสินใจยอมเจรจากับทางพม่า การสู้รบที่ยาวนานถึง 4 ปีก็จบลงมีการทำ[[สนธิสัญญากองตน]] เป็นการจบสงครามระหว่าง พระเจ้ามังระ กับ จักรพรรดิเฉียนหลง ลงในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312
 
การรบครั้งนี้ทำให้ต้าชิงต้องสูญเสียฟู่เหิง กับอาหลีกุ่นแม่ทัพใหญ่และรองแม่ทัพด้วยไข้มาเลเรีย หลังจากนั้น 20 ปี เมื่อพระเจ้ามังระสิ้นไปแล้วราชวงค์คองวงค์โก้นบองและจีนก็ได้ฟื้นความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ในยุคของ[[พระเจ้าปดุง]]หลังพระองค์ทรงพ่ายแพ้ต่อกรุงรัตนโกสินทร์ถึง2ครั้ง โดยพม่ายอมส่งบรรณาการให้แก่อาณาจักรต้าชิง แลกกับการที่จีนยอมรับราชวงค์คองวงค์โก้นบองของพม่า{{Sfn|Htin Aung|1967|pp=181–183}}
 
=== บทสรุปของสงคราม ===
* ฝ่ายราชวงค์ชิง ในสงครามจีน-พม่านี้นับเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของราชวงค์ชิง และถือเป็นรอยด่างเล็กๆของจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก[[จักรพรรดิเฉียนหลง]] อีกทั้งพระองค์ยังต้องสูญเสียเสนาบดีกลาโหมผู้ร่วมแผ่เสนยานุภาพแทนพระองค์ถึง2คน ไม่ว่าจะเป็น [[หมิงรุ่ย]], [[ฟู่ เหิง|ฟู่เหิง]] และแม่ทัพใหญ่อาหลีกุ่น แต่ถึงแม้ต้าชิงจะไม่สามารถสยบพม่าได้อย่างราบคาบ แต่นั้นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้พม่าเห็นถึงศักยภาพในการระดมกองทัพขนาดใหญ่ ที่สามารถสั่นคลอนราชวงค์คองวงค์โก้นบองได้ตลอดเวลา
* ฝ่ายราชวงค์คองบองวงค์โก้นบอง เป็นการรบครั้งใหญ่ที่สุดและสูญเสียมากที่สุดในยุคของพระเจ้ามังระ แต่นั้นก็ทำให้ได้เห็นถึงความแข็งแกร่งของพระองค์ รวมถึงการใช้คนแบ่งงานให้แม่ทัพแต่ละนายได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ แม้จะสูญเสียทหารไปมากแต่ก็สามารถรักษาแผ่นดินเอาไว้ได้ ถือเป็นผลงานชิ้นเอกที่พระองค์ฝากไว้ให้ราชวงค์คองบองวงค์โก้นบอง หลังจากสิ้นยุคพระองค์ไปแล้วขีดความสามารถทางการทหารของพม่าก็ไม่เคยกลับไปอยู่จุดเดิมได้อีกเลย
 
== หมายพิชิตกรุงธนบุรี ==
{{บทความหลัก|สงครามอะแซหวุ่นกี้}}
พระเจ้ามังระทราบว่าขณะนี้ทางอยุธยากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง ราชธานีแห่งใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นนั้นคือ[[กรุงธนบุรี]] แต่ในช่วงเวลานี้ภัยคุกคามจากต้าชิงสำคัญกว่ามาก เพราะหากพลาดพลั้งนั้นหมายถึงการล่มสลายของอาณาจักรคองบโก้นบองที่พระองค์เพียรสร้างขึ้น ดั่งเช่นอาณาจักรพุกามที่ถูกกองทัพมองโกลทำลายล้างในอดีต หลังจากจบศึกกับต้าชิง พระองค์ประเมินแล้วว่าอาณาจักรของพระองค์บอบช่ำเกินกว่าจะทำศึกต่อไปได้อีก พระองค์จึงทรงให้ไพร่พลได้พักฟื้นถึง 5 ปี ในระหว่างพักพื้นนั้นก็ได้มีการตระเตรียมเสบียงอาหารเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับทำศึกกับอาณาจักรที่พึ่งก่อตั้งอย่างกรุงธนบุรี หลังเตรียมการเป็นอย่างดีในปี [[พ.ศ. 2318]] พระเจ้ามังระได้ให้[[อะแซหวุ่นกี้]]เป็นแม่ทัพใหญ่ลงมาทำศึกด้วยตนเอง อะแซหวุ่นกี้ได้นำทัพ 35,000 นาย พิชิตหัวเมืองต่างๆมาได้ตลอดทางรวมแล้วมีกำลังพลมากกว่า 50,000 นาย จนสามารถตีเมืองพิษณุโลกแตกและเตรียมรวมทัพมุ่งสู่กรุงธนบุรี อีกเส้นพระองค์ได้ให้[[เนเมียวสีหบดี]]เป็นแม่ทัพไปปราบปรามหัวเมืองทางเหนือจนสามารถยึดเชียงใหม่ได้เตรียมนำกองทัพลงไปสมทบกับ[[อะแซหวุ่นกี้]]ที่เป็นแม่ทัพใหญ่อีกทางหนึ่ง ส่วนทัพทางใต้ก็สามารถตีเมืองกุย เมืองปราณได้สำเร็จพร้อมนำทัพบุกเข้ากรุงธนบุรีอีกทางหนึ่ง แต่แล้วในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2319 ราชสำนักอังวะได้แจ้งข่าวมาถึงอะแซหวุ่นกี้ ว่าพระเจ้ามังระได้เสด็จสวรรคตแล้ว [[พระเจ้าจิงกูจา]]กษัตริย์องค์ใหม่จึงมีบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ยกทัพกลับกรุงอังวะในทันที <ref name=app-207>Phayre, pp. 207–208</ref><ref>Phayre, p. 206</ref>
 
== สวรรคต ==
บรรทัด 95:
{{สืบตำแหน่ง
| ก่อนหน้า = [[พระเจ้ามังลอก]]
| ตำแหน่ง = [[รายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า|พระมหากษัตริย์พม่า]]<br /> ([[ราชวงศ์คองบโก้นบอง|อาณาจักรพม่ายุคที่ 3]])
| ราชวงศ์ = ราชวงศ์คองบโก้นบอง
| ปี = พ.ศ. 2306 - พ.ศ. 2319
| ถัดไป = [[พระเจ้าจิงกูจา]]
บรรทัด 103:
 
{{อายุขัย|2279|2319}}
{{คองบโก้นบอง}}
 
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์โกนบองโก้นบอง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา]]