ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บทบิดลิ้น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''บทบิดลิ้น'''<ref>สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. ''พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา (แก้ไขเพิ่มเติม).'' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 526.</ref> ({{lang-en|tongue-twister}}) คือข้อความที่ออกแบบให้ผู้พูดข้อความนั้นเกิดอาการลิ้นพันหรือออกเสียงอย่างถูกต้องได้ลำบาก กลวิธีที่นิยมใช้ในการสร้างบทบิดลิ้นได้แก่ [[การสัมผัสอักษร]] การสลับ[[หน่วยเสียง]] [[คำพ้องเสียง]] และการซ้ำคำ
 
บทบิดลิ้นนิยมใช้เป็น[[เกมคำ]] แบบฝึกการออกเสียงให้ชัดเจน บทร้อยกรองสำหรับเด็ก บทร้อยกรองที่ไม่มุ่งเอาแก่นสารเท่าไรนัก และเพลงที่เล่นสัมผัสและคำซ้ำ นอกจากนี้ยังใช้ในการอุ่นเสียงของผู้ประกาศข่าว นักร้อง และนักแสดง<ref>{{Cite web|url = http://www.spiritsound.com/twisters.html|title = Vocal Warmup Tongue Twisters|first = David|last = Gordon|date =|website = Spirit Sound|publisher =|accessdate = 6 March 2016}}</ref> บทบิดลิ้นบางบทก่อให้เกิดความหมายที่น่าตลกขบขันหรือหยาบโลนหากออกเสียงผิด ในขณะที่บางบทมุ่งสร้างความสนุกสนานจากความสับสนหรือการออกเสียงผิดพลาดเท่านั้น
 
ตัวอย่างบทบิดลิ้น เช่น ''เช้าฟาดผัดฟัก เย็นฟาดฟักผัด'' ใน[[ภาษาไทย]]; {{lang|en|''She sells seashells by the seashore''}} ("เธอขายเปลือกหอยอยู่ริมชายหาด") ใน[[ภาษาอังกฤษ]]; {{lang|es|''Tres tristes tigres tragaban trigo en un trigal''}} ("เสือเศร้าสามตัวกลืนข้าวสาลีในทุ่งข้าวสาลี") ใน[[ภาษาสเปน]] เป็นต้น