ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DOPA LIKID (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kittichai putt (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: เพิ่มเติมการแยกพื้นที่อำเภอและการจัดตั้งตำบลขึ้นใหม่
บรรทัด 32:
หลังจากนั้นค่ายพักพลดังกล่าวได้ถูกทอดทิ้งให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่ามาเป็นเวลานาน ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และเถาวัลย์นานาพันธุ์ แต่เนื่องจากที่นี่มีทำเลที่เหมาะสมเพราะติดกับบึงละเลิงหวาย ต่อมาจึงได้มีผู้คนอพยพไปหักร้างถางป่าปลูกบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ จึงได้ชื่อว่า '''บ้านเมืองพล''' ขึ้นต่อเมืองชนบท ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บ้านเมืองพลได้ถูกยกฐานะเป็น '''ตำบลเมืองพล''' ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอชนบท 45 กิโลเมตร
 
ครั้นต่อมาในปี [[พ.ศ. 2457]] กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่า การคมนาคมและการติดต่อราชการของตำบลเมืองพลกับอำเภอชนบทไม่สะดวก เพราะต้องอาศัยการเดินเท้า เกวียน และม้าเป็นพาหนะ จึงได้แบ่งเขตการปกครองของอำเภอชนบทโดยยกฐานะตำบลเมืองพลเป็นอำเภอใหม่ให้ชื่อว่า '''อำเภอพล''' โดยมีขุนมัชการธนานุรักษ์ (แสง ภาสะฐิติ) เป็นนายอำเภอคนแรก มีเขตการปกครอง 5 ตำบล คือ 1. ตำบลเมืองพล 2. ตำบลหนองเม็ก 3. ตำบลแวงน้อย 4. ตำบลแคนเหนือ 5. ตำบลเปือยน้อย **ตำบลแคนเหนือ ย้ายไปขึ้นกับกิ่งอำเภอบ้านไผ่ ปี พ.ศ. 2471 **ตำบลเปือยน้อย ย้ายไปขึ้นกับอำเภอบ้านไผ่ ปี พ.ศ. 2482 อาณาเขตของอำเภอพลในขณะนั้นถือว่ามีพื้นที่กว้างขวางมาก ด้านทิศเหนือจรด อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ทิศตะวันออกจรด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ทิศใต้จรด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกจรด ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
 
พ.ศ. 2460 ขุนมัชการธนานุรักษ์ (แสง ภาสะฐิติ) ได้ขออนุมัติย้ายที่ว่าการอำเภอเดิมจากที่ตั้งวัดสระจันทราวาสในปัจจุบัน ไปสร้างใหม่ที่เนินดินนอกคูเมืองทางทิศเหนือห่างจากที่เดิมประมาณ 3 เส้น (ปัจจุบันเป็นที่ปลูกสร้างศูนย์อนามัยแม่และเด็กชนบท ที่ 41 เมืองพล ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข และที่ทำการไปรษณีย์ของกรมไปรษณีย์โทรเลขกระทรวงคมนาคม )
 
พ.ศ. 2468 พระศรีพลรัตน์ (ยะฟะระ เกตุเลขา) นายอำเภอคนที่ 3 เห็นว่าที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟ ไม่สะดวกในการขนส่งสินค้าและราชการต่างๆ จึงได้พิจารณาร่วมมือกับหม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ ซึ่งเป็นนายสถานี วางผังเมืองเสียใหม่ให้เหมาะสม โดยมีทางขยับขยายบ้านเมืองได้มากขึ้น จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเสียใหม่ (ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน)
 
พ.ศ. 2480 ทางราชการได้ประกาศราชกฤษฎีกายกฐานะท้องถิ่นบางส่วนในตำบลเมืองพล (เขตเทศบาลปัจจุบัน) ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร เป็นเทศบาลตำบล มีชื่อว่า "เทศบาลตำบลเมืองพล" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 ตอนที่ 76 ลงวันที่ 14 มีนาคม พุทธศักราช 2480
 
พ.ศ. 2482 อำเภอพล มีเขตการปกครองทั้งหมด 14 ตำบล 1. ตำบลเมืองพล 2. ตำบลเพ็กใหญ่ 3. ตำบลหนองมะเขือ 4. ตำบลบลเก่างิ้ว 5. ตำบลโคกสง่า 6. ตำบลหนองแวงโสกพระ 7. ตำบลคอนฉิม 8. ตำบลโนนทอง 9. ตำบลแวงน้อย 10. ตำบลละหานนา 11. ตำบลหนองเม็ก 12. ตำบลคึมชาด 13. ตำบลตะกั่วป่า 14. ตำบลโนนธาตุ
 
พ.ศ. 2506 กระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาเห็นว่าอำเภอพล มีอาณาเขตกว้างขวางมากจึงได้แบ่ง 4 ตำบล คือ ตำบลหนองเม็ก ตำบลคึมชาด ตำบลตะกั่วป่า และตำบลโนนธาตุ ให้ไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองสองห้อง (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนองสองห้อง)
 
พ.ศ. 2514 (วันที่ 9 มิถุนายน 2514) กระทรวงมหาดไทย ได้ยกฐานะตำบลแวงน้อย ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอแวงน้อยแยกจากอำเภอพล มีเขตการปกครอง 6 ตำบลคือ ตำบลแวงน้อย ตำบลท่าวัด ตำบลตำบลก้านเหลือง ตำบลละหานนา ตำบลทางขวาง และตำบลท่านางแนว
 
พ.ศ. 2519 กระทรวงมหาดไทย ได้ยกฐานะกิ่งอำเภอแวงใหญ่(พื้นที่ตำบลคอนฉิม)แยกจากอำเภอพล มีเขตการปกครอง 3 ตำบลคือ ตำบลคอนฉิม ตำบลโนนทอง ตำบลใหม่นาเพียง ส่วนที่ยังอยู่ในการปกครองของอำเภอพล มี 8 ตำบล คือ 1. ตำบลเมืองพล 2. ตำบลหนองมะเขือ 3. ตำบลเพ็กใหญ่ 4. ตำบลเก่างิ้ว 5. ตำบลโคกสง่า 6. ตำบลหนองแวงโสกพระ 7. ตำบลโจดหนองแก (แยกออกจากตำบลเมืองพล) 8. ตำบลหนองแวงนางเบ้า (แยกจากตำบลเก่างิ้ว)
 
ภายหลังได้มีการจัดตั้งตำบลใหม่อีก 4 ตำบลคือ 1. ตำบลลอมคอม(แยกจากตำบลเพ็กใหญ่ เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2528 ) 2. ตำบลโนนข่า(แยกจากตำบลหนองมะเขือ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2529) 3. ตำบลโสกนกเต็น(แยกจากตำบลเมืองพล เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 4. ตำบลหัวทุ่ง(แยกจากตำบลเก่างิ้ว เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2532) ทำให้ปัจจุบันอำเภอพลมีเขตการปกครองทั้งหมด 12 ตำบล
 
== การแบ่งเขตการปกครอง ==