ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระดูก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Reverted to revision 4698032 by Nullzerobot (talk). (TW)
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 3:
'''กระดูก''' ({{Lang-en|Bones}}) เป็น[[อวัยวะ]]ที่ประกอบขึ้นเป็น[[โครงร่างแข็งภายใน]] (endoskeleton) ของ[[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]] หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสม[[แร่ธาตุ]]และการสร้าง[[เซลล์เม็ดเลือด]]
 
กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วย[[เนื้อเยื่อกระดูก]] (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่น[[กะโหลกศีรษะ]] (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของ[[สมอง]] หรือ[[กระดูกต้นขา]] (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของ[[กล้ามเนื้อ]]ต่างๆต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของ[[รยางค์ล่าง]] เป็นต้น
 
== ลักษณะทั่วไปของกระดูก ==
บรรทัด 14:
เนื้อเยื่อพื้นฐานของกระดูกคือ[[เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน]]ชนิดพิเศษ เรียกว่า[[เนื้อเยื่อกระดูก]] (osseous tissue) ประกอบขึ้นจาก[[วัสดุคอมโพสิท]]ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วย[[แคลเซียมฟอสเฟต]] (calcium phosphate) ในรูปของ[[แคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทท์]] (calcium hydroxyapatite) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีความแข็งเกร็ง (rigidity) สูง และต่อต้านแรงกดได้มาก นอกจากนี้ยังมี[[คอลลาเจน]] (collagen) เป็น[[โปรตีน]]เส้นใยที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูก
 
เมื่อดูโครงสร้างของกระดูกเนื้อแน่นใต้[[กล้องจุลทรรศน์]] จะพบว่าเนื้อเยื่อกระดูกมีลักษณะที่เป็นวงซ้อนๆซ้อน ๆ กัน โดยที่มีศูนย์กลางเป็นช่องขนาดใหญ่ที่เรียกว่า [[ช่องฮาเวอร์เชียน]] (Haversian canal) ซึ่งเป็นที่อยู่ของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเนื้อเยื่อกระดูก และวงรอบๆจะเป็นที่อยู่ของเซลล์กระดูกที่โตเต็มที่แล้ว ในเนื้อเยื่อกระดูกจะประกอบด้วย[[เซลล์กระดูก]] (bone cells) ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างและการก่อรูปของกระดูกอีกด้วย เซลล์กระดูกมีสามชนิด ได้แก่
[[ไฟล์:Gray77.png|thumb|250px|right|ภาพวาดแสดงภาคตัดขวางของเนื้อเยื่อกระดูกของกระดูกเนื้อแน่น แสดงการเรียงตัวของช่องฮาเวอร์เชียนและเซลล์กระดูกโดยรอบ]]
* '''[[ออสติโอบลาสต์]]''' (Osteoblast) เป็นเซลล์สร้างเนื้อกระดูกที่เจริญพัฒนามาจาก[[เซลล์ต้นกำเนิดเซลล์กระดูก]] (osteoprogenitor cells) เซลล์นี้จะอยู่ตามขอบของเนื้อกระดูก และสร้างโปรตีนที่เรียกว่า [[ออสติออยด์]] (osteoid) ซึ่งโปรตีนดังกล่าวนี้จะมีสารอนินทรีย์มาสะสมและกลายเป็นเนื้อกระดูก นอกจากนี้ออสติโอบลาสต์ยังสร้าง[[เอนไซม์]][[อัลคาไลน์ ฟอสฟาเทส]] (alkaline phosphatase) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างเนื้อกระดูก รวมทั้งสารนอกเซลล์อื่นๆอีกด้วย
บรรทัด 26:
* '''Endochondral ossification''' เป็นการสร้างเนื้อกระดูกที่มีแบบมาจาก[[กระดูกอ่อน]] (cartilage) ที่มีการเจริญมาก่อนแล้ว โดยที่กลุ่มเซลล์มีเซนไคม์จะเข้าไปแทนที่เซลล์กระดูกอ่อนผ่านทางหลอดเลือด เริ่มจากส่วนกลางของกระดูกซึ่งเป็นจุดการสร้างกระดูกปฐมภูมิ เมื่อเซลล์มีเซนไคม์มีการพัฒนาไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์กระดูก จึงมีการสะสมของเนื้อกระดูกมากขึ้น นอกจากนี้ มักพบว่าจะมี[[จุดการสร้างกระดูกทุติยภูมิ]] (secondary ossification center) ที่บริเวณปลายกระดูก โดยการสร้างกระดูกในจุดนี้จะเริ่มหลังจากคลอด การสร้างกระดูกในทั้งสองจุดจะดำเนินต่อไปจนกระทั่งมาบรรจบกันที่แนว[[แผ่นอิพิไฟเซียล]] (epiphysial plate) ซึ่งเป็นแนวของกระดูกอ่อนที่ยังสามารถทำให้เกิดการยืดของกระดูกได้ จนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แนวดังกล่าวนี้จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกทั้งหมด
 
สำหรับในผู้ใหญ่ แม้กระบวนการเจริญพัฒนาของกระดูกจะหยุดไปแล้ว แต่ยังคงมีกระบวนการก่อรูปของกระดูกอย่างต่อเนื่อง เพื่อซ่อมแซมความเสียหายเล็กๆน้อยๆเล็ก ๆ น้อย ๆ ของกระดูก และเป็นการรักษาระดับแคลเซียมในกระแสเลือดอีกด้วย
 
== ชนิดของกระดูก ==
บรรทัด 41:
* การป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น กะโหลกศีรษะที่ป้องกันสมอง หรือกระดูกซี่โครงที่ป้องกันอวัยวะในทรวงอกจากอันตรายและการกระทบกระเทือน
* การค้ำจุนโครงร่างของร่างกาย
* การเคลื่อนไหว โดยกระดูกทำหน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆต่าง ๆ และยังประกอบเข้าด้วยกันเป็นข้อต่อที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆต่าง ๆ ได้
* การผลิตเม็ดเลือด โดยไขกระดูกที่อยู่ภายใน เป็นแหล่งผลิต[[เม็ดเลือดแดง]]และ[[เม็ดเลือดขาว]]ที่สำคัญ
* การเก็บสะสมแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังดึงเอา[[โลหะหนัก]]บางชนิดที่อยู่ในกระแสเลือดมาเก็บไว้ เพื่อลดความเป็นพิษลง
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กระดูก"