ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
=== พระเจ้าแผ่นดินที่ 2 ===
{{wikisource|1=นิทานโบราณคดี/นิทานที่ ๑๙|2= ''เมืองไทยมีพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์'' โดย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ}}
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้สวรรคต [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)|เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)]] เดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร กราบทูลว่าจะเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎตรัสว่าท่านฟากข้างโน้น (หมายถึงเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์) มีพระชะตาแรงต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ให้ถวายราชสมบัติแก่ท่านนั้นด้วย เพราะหากพระองค์รับราชสมบัติเพียงพระองค์เดียวจะเกิดอัปมงคล ด้วยไปกีดกันบารมีของสมเด็จพระอนุชา ถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์เหมือนอย่างสมเด็จพระนเรศวรสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยก็จะพ้นจากอัปมงคล เจ้าพระยาพระคลังจึงไปเข้าเฝ้าเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ณ พระราชวังเดิมตามรับสั่ง<ref name="พระองค์ที่สอง">[http://vajirayana.org/นิทานโบราณคดี/นิทานที่-๑๙-เรื่องเมืองไทยมีพระเจ้าแผ่นดิน-๒-พระองค์ นิทานโบราณคดี : นิทานที่ ๑๙ เรื่องเมืองไทยมีพระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์]</ref> เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เหล่าขุนนางมาประชุมพร้อมกันแล้วกราบทูลเชิญทั้งสองพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ<ref>[http://vajirayana.org/พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๔/๒-กราบทูลอัญเชิญสมเด็จฯ-เจ้าฟ้ามงกุฎฯ-ขึ้นเสวยราชย์ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๒. กราบทูลอัญเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขึ้นเสวยราชย์]</ref> เมื่อเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว จึงมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ก็ทรงพระปรีชารอบรู้กิจการต่าง ๆ มีผู้ใหญ่ผู้น้อยนิยมนับถือมาก สมควรที่จะพระราชทานยศใหญ่กว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลแต่ก่อน ๆ<ref>[http://vajirayana.org/พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๔/๗-เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๗. เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค]</ref> เมื่อเฉลิมแต่เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯ ยังไม่ได้รับพระสุพรรณบัฏตั้งพระนาม ทำให้ไม่มีพระนามเดิม ดูเป็นการต่ำทรามไป จึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏตั้งพระนามเป็น ''สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอิศเรศจุฑามณี'' ชั้นหนึ่งก่อน<ref>{{cite namejournal|journal="สกุลวงศ์"ราชกิจจานุเบกษา|volume=8|issue=39|pages=349-352|title=พระบรมราชโองการ ประกาศ การสมโภชในงานรับพระสุพรรณบัตร|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2434/039/349_1.PDF|date=27 ธันวาคม ร.ศ. 110| accessdate= 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561|language=ไทย}}</ref> แล้วจึงโปรดให้ตั้งพระราชทานพระสุพรรณบัฏในการพระราชพิธีบวรราชาภิเษกในวันที่ 25 พฤษภาคม มีพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า
"''พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศวร์ มหิศเรศรรังสรรค์ มหันตวรเดโช ไชยมโหฬารคุณอดุลยเดช สรรพเทเวศรานุรักษ บวรจุลจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนารถ อิศวรราชรามวรังกูร บรมมงกุฎนเรนทรสูรยโสทรานุชาธิบดินทร เสนางคนิกรินทรบวราธิเบศร พลพยุหเนตรนเรศวรมหิทธิวรนายก สยามาทิโลกดิลกมหาบุรุษรัตน ไพบูลยพิพัฒนสรรพศิลปาคม สุนทโรดมกิจโกศล สัตปดลเศวตฉัตร สิริรัตนบวรมหาราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศพิชิตไชย อุดมมไหสวริยมหาสวามินทร สเมกธรณินทรานุราช บวรนารถชาติอาชาวศรัย ศรีรัตนไตรสรณารักษ อุกฤษฐศักดิสรรพรัษฎาธิเบนทร ปวเรนทรธรรมมิกราชบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว''"<ref>[http://vajirayana.org/พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๔/๘-พระราชพิธีบวรราชาภิเศก พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๘. พระราชพิธีบวรราชาภิเศก]</ref>