ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีรถไฟศิลาอาสน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
น้องท่าเหนือ (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล สถานีรถไฟ
|image = ศิลาอาสน์ศาสตราSila At Station 2.JPG
|short_description = สถานีรถไฟศิลาอาสน์
|station_id = 1151
บรรทัด 35:
|seealso = สายเหนือ
}}
[[file:Sila At Station 1.JPG|250px|thumb|อาคารสถานี]]
'''สถานีรถไฟศิลาอาสน์''' ตั้งอยู่ที่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1045]] (ถนนย่านศิลาอาสน์) [[ตำบลท่าเสา]] [[อำเภอเมืองอุตรดิตถ์]] [[จังหวัดอุตรดิตถ์]] เป็นสถานีรถไฟระดับ 1 ออกแบบโดยนายประยูร ศรีสำรวล เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ สถานีรถไฟศิลาอาสน์เป็นย่านสถานีรถไฟที่สำคัญของภาคเหนือ<ref>[http://web.archive.org/20080401120335/www.geocities.com/railsthai/north.htm รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายเหนือ]</ref> และศูนย์คอนเทนเนอร์ของรถไฟสายเหนือ ระยะทางจากกรุงเทพถึงสถานีศิลาอาสน์ คือ 487.52 [[กิโลเมตร]] ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7ชั่วโมง
 
สถานีรถไฟศิลาอาสน์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2495 และเปิดให้บริการเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 เวลา 7.00 นาฬิกาน. ตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการตัดขบวนรถไฟขึ้นภาคเหนือ สร้างขึ้นหลังจากที่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ประสบปัญหาการตัดขบวนรถไฟจึงย้ายที่ทำการตัดขบวนรถมาไว้ที่สถานีรถไฟศิลาอาสน์ และ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]]ต้องการจะปิดสถานีรถไฟอุตรดิตถ์เก่า เพราะ ย่านสถานีอุตรดิตถ์เก่า นั้น คับแคบ ไม่มีทางขยายออกไปได้ เพราะ เนื้อที่จำกัดและ ทางราชการมีนโยบายขยายตัวเมืองอุตรดิตถ์ออกไป ทางเหนือ และต้องการมอบพื้นที่ให้กับฝ่ายช่างกล การรถไฟฯ เพื่อตั้งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักร และรถพ่วงภาคเหนือ ในดังนั้น เพื่อสนองนโยบายดังกล่าว และเพื่อให้ สถานีอุตรดิตถ์ใหม่ เป็นศูนย์กลางในการเดินรถภาคเหนือ โดยขยายหลีกรถโดยสาร หลีกสับเปลี่ยน และหลีกรถสินค้า และ สร้างอาคารที่ทำการและบ้านพัก หลังจาก คณะกรรมการสำรวจพื้นที่ ได้มีมติให้ซื้อที่เอกชนเหนือสถานีอุตรดิตถ์แห่งเดิม 2 กิโลเมตร โดยเปลี่ยนแนวทาง และ วางแนวโค้งใหม่ ให้บรรจบกับทางเข้าสถานีท่าเสา และ วางผังย่านสถานีอุตรดิตถ์ใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2495 จนสามารถเปิด การเดินรถ (โดยไม่รับผู้โดยสารและสินค้า) เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2499 โดยใช้ชื่อสถานีแห่งนี้ใหม่ว่า สถานีอุตรดิตถ์ใหม่ เป็นย่านสถานีรถไฟที่รองรับการบริการด้านโดยสาร และแปรรูปขบวนรถสินค้า ซึ่งบริเวณตั้งแต่สถานีขึ้นไปเป็นทางตอนภูเขา
 
ในปี พ.ศ. 2499 ได้รับงบประมาณก่อสร้างสถานีอุตรดิตถ์ใหม่ ตามแบบหมายเลข 5150-2 ผลการประมูล นายชิง บุญไทย เป็นผู้ประกวดได้ในราคา 544,500 บาท โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 19 มกราคม 2500 เป็นเวลา 221 วัน แต่ เมื่อถึงกำหนด อายุสัญญาเมื่อ 26 สิงหาคม 2500 งานไม่แล้วเสร็จ รฟท. จึงต่อเวลาให้อีก 90 วัน ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2500 ผู้รับเหมาทิ้งงาน ทั้งๆที่งานเสร็จไปแล้ว 80% ทำให้ต้องประกวดราคา ก่อสร้างต่อเติมส่วนที่ผู้รับเหมายังทำไม่เสร็จ ปรากฏว่า นาย นาค สอนคม ในนามบริษัทไทยเสรีพานิชจำกัด เป็นผู้ประกวดได้ ในราคา 280,000 บาท มีกำหนด 120 วัน เริ่มตั้งแต่ 18 กุมภาพันธ์ 2502 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2502 ณ บัดนี้ การก่อสร้างอาคารสถานีอุตรดิตถ์ใหม่ได้สำเร็จลงเป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว ตามแบบ 5150-2 ขนาด 14.00 x 40.00 เมตร และ สรุปค่าก่อสร้างดังนี้ 1. ค่ารับเหมา 2 ครั้ง รวม 715,600 บาท 2. ค่าวัสดุของรฟท. ที่จ่ายให้ผู้รับเหมา เช่นปูนซีเมนต์ หิน ดินกากหิน 166,759.39 บาท 3. ค่าติดตั้งไฟฟ้าโดยฝ่ายการช่างกล 42,000 บาท สิ้นค่าก่อสร้างรวม 924,359.39 บาท ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานประกอบพิธีเปิดป้ายชื่อสถานีอุตรดิตถ์ใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคล