ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระคันธารราฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kraiwitlee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
|full_name = พระคันธารราฐ
|common_name = พระคันธารราฐ
|image_object = พระคันธารราฐ [[วัดหน้าพระเมรุ]] Dvaravati Buddha Wat Na Phramen.jpg
|short_describtion = พระประธานในพระวิหารน้อย [[วัดหน้าพระเมรุ]]
|type_of_object = พระพุทธรูป
|school_of_art = ศิลปะทวาราวดี
บรรทัด 10:
|tall = 5.2 เมตร
|material = แกะสลักจากศิลาเขียว
|place_of_enshrined = พระวิหารน้อย[[วัดหน้าพระเมรุ]] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
|important = เป็นพระพุทธรูปศิลาเขียวขนาดใหญ่จากสมัยทวาราวดี เป็น 1 ใน 5 องค์ของพระพุทธรูปศิลาในประเทศไทยที่สันนิษฐานว่าสร้างในยุคเดียวกัน และเป็น 1 ใน 6 องค์ของพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในโลกที่สร้างจากศิลา
|footnote = วัดหน้าพระเมรุ อยู่ในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บรรทัด 19:
พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปศิลาเขียว ศิลปะทวารวดี ประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางคว่ำอยู่บนพระชานุ (เข่า) เบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง) มีพนักพิง และเหนือขึ้นไปหลังพระเศียรมีประภามณฑลหรือรัศมี มีสลักลายที่ขอบ คาดว่าเดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา แต่จากการบูรณะเมื่อขุดพบและนำมาประดิษฐานที่วัดหน้าพระเมรุ พระหัตถ์ทั้งสองด้านเปลี่ยนเป็นวางคว่ำอยู่บนพระชานุ (เข่า) มีขนาดหน้าตักกว้าง 1.7 เมตร สูง 5.2 เมตร<ref>[Ebook] ๑๐๘ องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน กรมการศาสนา <nowiki>http://www.dra.go.th/th/cmsdetail-4-59-1-3213.html</nowiki></ref> ศิลาเขียวที่สร้างเป็นวัสดุหินปูนที่มีสีเขียวแก่ (Bluish Limestone)
 
แต่เดิมพระคันธารราฐน่าจะเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ ในเกาะเมืองอยุธยามาก่อน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ พระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยาในขณะนั้น เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุ จึงได้ขุดพบพระคันธารราฐองค์นี้ แล้วได้มีการเคลื่อนย้ายอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารน้อย ที่พึ่งที่เพึ่งสร้างขึ้นใหม่ ณ [[วัดหน้าพระเมรุ]] จนถึงปัจจุบัน
 
พระยาไชยวิชิต (เผือก) ได้จารึกไว้ในศิลาติดตั้งไว้ที่ฝาผนังเมื่อปี พ.ศ. 2381 ที่สร้างพระวิหารน้อยว่า พระคันธารราฐนี้ พระอุบาลีมหาเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำมาจากประเทศลังกา ในคราวที่ท่านเป็นสมณทูตพร้อมด้วยพระสงฆ์นำพระพุทธศาสนากลับคืนไปประดิษฐานในประเทศลังกา<ref>วัดพระเมรุราชิการาม จัดพิมพ์เนื่องในงานสมโภช 513 ปี วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559</ref> ซึ่งก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นความเห็นของพระยาไชยวิชิตถึงที่มาของพระคันธารราฐหรือไม่ หรือได้ข้อมูลมาจากแหล่งใด
บรรทัด 27:
สำหรับพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สร้างจากศิลาประทับนั่งห้อยพระบาทปางปฐมเทศนานี้ ปรากฏในโลกเพียง 6 องค์เท่านั้น (ในจำนวนนี้อยู่ในประเทศไทยจำนวน 5 องค์) ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
 
1. [[วัดหน้าพระเมรุ]] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปศิลาเขียว คือ พระคันธารราฐ องค์นี้
 
2. วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปศิลาขาว ชื่อ หลวงพ่อประทานพร เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ
บรรทัด 39:
6. พระวิหารเมนดุต ณ จันทิเมนดุต (Candi Mendut) หรือวัดเมนดุต พุทธสถานขนาดเล็กที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) ประเทศอินโดนีเซีย เป็นพระพุทธรูปศิลาขาว อยู่ภายในอาคารทรงปราสาทยอดสถูปที่สร้างครอบศาสนสถานเดิมที่ก่อด้วยอิฐ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำจากหินภูเขาไฟเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 ตั้งอยู่ห่างจากบุโรพุทโธไปประมาณ 3 กิโลเมตร พระพุทธรูปศิลาในประเทศอินโดนีเซียองค์นี้ มีขนาดใหญ่กว่าตัวคนจริง คือ มีขนาดสูง 3 เมตร แกะสลักจากหินลาวาจากภูเขาไฟ อายุ 1,200 กว่าปี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก นับว่าแปลกกว่าพระพุทธรูปในจันทิ (วัด) อื่นๆ ที่ล้วนหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรพระวิหารบุโรพุทโธ และพระวิหารเมนดุต โดยสมาคมพุทธศาสนาแห่งอินโดนีเซียได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปองค์หนึ่งพร้อมด้วยธงฉัพพรรณรังสี ซึ่งเป็นธงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา
 
ในจำนวนพระพุทธรูปศิลา 6 องค์นี้ มีเพียงองค์เดียวที่สร้างขึ้นจากศิลาเขียว ก็คือ พระคันธารราฐ อยู่ที่[[วัดหน้าพระเมรุ]] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนที่เหลือทั้งหมดสร้างขึ้นจากศิลาขาวทั้งสิ้น ถึงกระนั้นก็ยังมีความสับสนกันอยู่เนืองๆ
 
พระวิหารน้อย หรือ พระวิหารเขียน ที่ประดิษฐานพระคันธารราฐองค์นี้ มีลายเขียนภายในพระวิหาร พระวิหารนี้มีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 6 เมตร ยาวประมาณ 16 เมตรเท่านั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถ ห่างจากพระอุโบสถประมาณ 2 เมตรเศษ หันหน้าออกไปทางทิศใต้หรือทางแม่น้ำลพบุรี พระยาไชยวิชิต (เผือก) ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2381 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระวิหารมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ปิดทองประดับกระจกเช่นเดียวกับพระอุโบสถ หน้าบันสลักลายดอกไม้และนก มีประตูเข้าสู่ภายในพระวิหารเฉพาะด้านหน้าประตูเดียว เป็นประตูไม้แกะสลักลายก้านขดเคล้าภาพเป็นภาพเทพนม ครุฑ นาค และนก ตอนล่างแกะลายฐานสิงห์ ตอนบนเป็นวิมานและลายเปลว (ฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย อาจเป็นสมัยพระเจ้าปราสาททอง) ซุ้มประตูเป็นลายปูนปั้นปิดทอง ตรงกลางทำเป็นรูปอาคารแบบยุโรป ล้อมด้วยลายดอกไม้มีลายเครือเถาอยู่ที่กรอบ เป็นลายแบบฝรั่งปนจีนฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 4 ผนังด้านข้างของพระวิหารมีหน้าต่างด้านละ 1 บาน ผนังด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนภาพเล่าเรื่องชาดกโดยรอบ<ref>พระพุทธปฏิมากรองค์สำคัญของประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547</ref> ปัจจุบันภาพเขียนจิตรกรรมยังคงอยู่แม้จะลบเลือนไปมากตามกาลเวลา