ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าอโศกมหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Samai2008 (คุย | ส่วนร่วม)
Samai2008 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 40:
===ขึ้นสู่อำนาจ===
[[ไฟล์:Mauryan Empire Map.gif|thumb|250px|จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278]]
ข้อความในพุทธศาสนาอธิบายว่า พระเจ้าอโศกไปปราบปรามการลุกฮือขึ้นของกบฏอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของรัฐมนตรีที่ชั่วร้ายให้สงบลง เหตุการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลารัชกาลของพระเจ้าพินทุสาร บันทึกของนักบวชลามะชื่อ Taranatha บอกว่า [[ชานัคยา]] Chanakya หัวหน้าที่ปรึกษาของพระเจ้าพินทุสาร ทำลายล้างขุนนางและกษัตริย์ของเมือง 16 เมืองและตั้งเขาเองพระเจ้าอโศกเป็นเจ้าของดินแดนเหล่านั้นทั้งหมดระหว่างดินแดนจากฝั่งทะเลตะวันออกกับฝั่งทะเลตะวันตก นักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่า นี่เป็นข้อบ่งชี้ถึงการพิชิตที่ราบ[[เดคคาน]](Deccan) ของพระเจ้าพิทุสาร ในขณะที่คนอื่น ๆ พิจารณาว่าเป็นการปราบปรามการจลาจล ตามดังกล่าวนี้ พระเจ้าอโศกถูกส่งไปประจำการอยู่ที่เมือง[[อุชเชน]] Ujain เมืองหลวงของ [[มัลวา]] Malwa ในฐานะเจ้าเมือง
 
เมื่อพระเจ้า[[พินทุสาร]]สวรรคตในปี 272 ก่อนคริสตกาลก็นำไปสู่สงครามแย่งชิงราชบัลลังก์ของรัชทายาท ตามที่บันทึกใน Divyavadana พระเจ้าพินทุสารต้องการที่จะให้พระโอรสองค์โตของพระองค์พระนามว่า สุสิมะ Susima เป็นรัชทายาทของพระองค์ แต่พระเจ้าอโศกได้รับการสนับสนุนจากบรรดาอำมาตย์รัฐมนตรีของพระราชบิดาของพระองค์ เพราะบรรดารัฐมนตรีที่ปรึกษาเห็นว่า[[พระเจ้าสุสิมะ]] Susima เป็นคนหยิ่งและไม่สุภาพต่อพวกเขา รัฐมนตรีชื่อ Radhagupta ดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญในการขึ้นครองบัลลังก์ของพระเจ้าอโศก คัมภีร์อโศกาวทานบันทึกว่า Radhagupta ได้เสนอมอบช้างหลวงแก่พระเจ้าอโศกเพื่อเป็นพาหนะนั่งไปสู่สวนแห่งศาลาทองคำสถานที่ซึ่งพระเจ้าพินทุสารกำหนดเลือกผู้สืบทอดราชบัลลก์ ต่อมาพระเจ้าอโศกได้กำจัดองค์รัชทายาทที่ถูกต้องตาม[[กฎมณเฑียรบาล]]ลงจากบัลลังก์ โดยการหลอกล่อองค์รัชทายาทให้เข้าไปยังหลุมเป็นหลุมที่เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ส่วน Radhagupta นั้น อโศกาวทานบันทึกว่า ต่อมาภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีที่สำคัญโดยพระเจ้าอโศกในฐานะที่ครั้งหนึ่งได้ให้การช่วยเหลือพระองค์ในการขึ้นครองบัลลังก์ คัมภีร์[[ทีปวงศ์]] Dipavansa และคัมภีร์[[มหาวงศ์]] Mahavansa ได้กล่าวถึงพระเจ้าอโศกได้สังหารพี่น้องไป 99 พระองค์ เหลือไว้เพียงแค่คนเดียว ชื่อว่า วิทาโศก หรือ ทิสษา Vitashoka or Tissa แม้ว่าเรื่องนั้นยังไม่ชัดเจนที่จะพิสูจน์ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ (บันทึกดังกล่าวเต็มไปด้วยองค์ประกอบทางตำนาน) พิธีราชาภิเษกมีขึ้นเมื่อ 269 ปีก่อน ค.ศ. สี่ปีหลังจากการสำเร็จรัชกาลของพระองค์เพื่อขึ้นครองบัลลังก์