ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การทับศัพท์ญี่ปุ่นกับการ์ตูนญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
 
:ชื่อทุกสิ่งอย่าง เห็นว่าควรอิงจากงานแปลลิขสิทธิ์ชิ้นแรก ถ้าไม่มี ถึงจะทับศัพท์ครับ --[[ผู้ใช้:Nechigawara|พ่อบ้านลูกหนี้]] 14:49, 22 ตุลาคม 2561 (ICT)
 
----
จากที่ทุกท่านกล่าวมาสามารถสรุปได้คือ
# '''ชื่อตัวละคร รวมทั้งชื่อเรือง และชื่ออื่น ๆ ที่เกียวข้องทุกอย่างที่เป็นเรื่องแต่ง''' (ไม่รวมการ์ตูนญี่ปุ่นที่ยังไม่มีลิขสิทธิ์) มีอยู่สองแนวทางโดยผมลองพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียเพิ่มคือ
## '''ใช้ทั้งชื่อเรื่อง ตัวละคร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามผู้ถือลิขสิทธิ์'''
### '''ข้อดี''' ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความคุ้นเคย และใช้หลักเกณฑ์เดียวตลอดการเขียนบทความทั้งหมด
### '''ข้อเสีย''' ผู้แก้ไขบทความอาจต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนชื่อที่ถูกต้องตามผู้ถือลิขสิทธิ์ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา
## '''ใช้เฉพาะชื่อเรื่องตามผู้ถือลิขสิทธิ์ ชื่อตัวละคร และอาจรวมถึงชื่ออื่น ๆ ใช้ตามการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา'''
### '''ข้อดี''' เนื้อหาบทความมีความสอดคล้องกับบทความเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นอื่น ๆ มีมาตรฐาน และง่ายต่อการแก้ไขโดยผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องนั้น ๆ เพราะนำหลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภามาใช้ได้เลย
### '''ข้อเสีย''' ชื่อเรื่องและชื่อตัวละครใช้คนละหลักเกณฑ์เมื่อเทียบกับการใช้ชื่อตามผู้ถือลิขสิทธิ์หรือราชบัณฑิตยสภาแบบทั้งบทความ และสร้างความสับสนต่อผู้อ่านเพราะไม่คุ้นเคย
# '''อะนิเมะ''' ไม่มีท่านใดเห็นด้วยกับคำว่า "อานิเมะ" ดังนั้นจึงเหลือว่าจะใช้คำว่า "อะนิเมะ" หรือ "อนิเมะ" ที่มีการใช้คำพอ ๆ กัน ซึ่งหากเป็นไปตามที่คุณ Potapt อธิบายเรี่องการออกเสียงและการทับศัพท์จะเห็นว่าควรใช้ "อะนิเมะ" มากกว่า "อนิเมะ"
 
มีท่านใดมีความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกไหมครับเผื่อตกประเด็นอะไรไป หากไม่มีเพิ่มในคืนนี้อาจขอให้มีการลงคะแนนเพื่อโหวตเกณฑ์การใช้นะครับ --[[ผู้ใช้:Geonuch|Geonuch]] ([[คุยกับผู้ใช้:Geonuch|คุย]]) 09:42, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)