ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิริกร มณีรินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
}}
 
ดร.'''สิริกร มณีรินทร์''' เป็นอดีต[[รายนามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย|รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ]] และ[[รายนามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทย|รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข]] ใน[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 54 ของไทย|รัฐบาลของ พ.ต.ทดร.ทักษิณ ชินวัตร]] อดีตอาจารย์ประจำที่[[คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง[[พรรคไทยรักไทย]] และเป็นเหรัญญิกพรรคคนแรก (คณะกรรมการชุดที่ขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง) <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/D/070/101.PDF ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย]</ref>
 
== ประวัติ ==
สิริกร มณีรินทร์ หรือ ดร.สิริกร มณีรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ [[22 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2494]] ที่[[กรุงเทพมหานคร]]<ref>[http://www.khonthai.com/Election/Result/SS/0001200070096.html ประวัติผู้สมัคร ส.ส.][[กรมการปกครอง]] [[กระทรวงมหาดไทย]]</ref> สมรสกับพลตำรวจเอก[[วงกต มณีรินทร์]] (เพื่อนร่วมรุ่นกับ พ.ต.ทดร.ทักษิณ ชินวัตร) <ref>[http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stauthorid=39&stcolcatid=1&stcolumnid=926&stissueid=2452 ระหว่างการเป็นอาจารย์-นักธุรกิจ-แม่-แม่บ้าน-รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ของ ดร.สิริกร มณีรินทร์]</ref> สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต จาก[[มหาวิทยาลัยซิดนีย์]] [[ประเทศออสเตรเลีย]] ปริญญาโท สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ จากมหาวิทยาลัยเกรนอป [[ประเทศฝรั่งเศส]] และปริญญาเอกในสาขาเดียวกัน จาก[[มหาวิทยาลัยปารีส]]
 
== การทำงาน ==
สิริกร มณีรินทร์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำที่[[คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2517]] จากนั้นในปี พ.ศ. 2531 จึงได้ลาออกมารับตำแหน่งผู้บริหารบริษัทเครือยนตรกรุ๊ป ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว โดยเป็นผู้บริหารธุรกิจรถยนต์ที่เป็นผู้หญิงคนเดียวของประเทศไทยในขณะนั้น จากนั้นจึงได้เข้าสู่งานการเมืองโดยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง[[พรรคไทยรักไทย]] ต่อมาจึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของ พ.ต.ทดร.ทักษิณ ชินวัตร และในเวลาต่อมาจึงได้ปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบใน[[คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549]]<ref>[http://www.moneychannel.co.th/Menu6/BreakingNews/tabid/98/newsid533/22585/Default.aspx เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!]</ref> ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก[[พรรคเพื่อไทย]]<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20120601/454583/บ้านเลขที่-111-ซบอกเพื่อไทยแล้ว.html บ้านเลขที่ 111 ซบอก'เพื่อไทย'แล้ว]</ref>
บรรทัด 51:
 
[[หมวดหมู่:ข้าราชการพลเรือนชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักวิชาการชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองสตรีชาวไทย]]