ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชาธิปไตย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7892459 สร้างโดย 27.55.159.41 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ขาดอ้างอิง}}
{{ระบอบการปกครอง}}
 
'''ราชาธิปไตย''' ({{lang-en|monarchy}}) เป็นรูปแบบการปกครองที่ตำแหน่ง[[ประมุขแห่งรัฐ]]โดยปกติถืออยู่กระทั่งสวรรคตหรือสละราชสมบัติ โดยมากมักได้อำนาจมาโดย[[การสืบราชสมบัติ]] และโดยปกติมักให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์แห่ง[[ราชวงศ์]]ที่ปกครองอยู่ก่อนอย่างเป็นทางการ พระมหาษัตริย์มักมีฐานันดรศักดิ์เป็นพระราชาหรือพระราชินี อย่างไรก็ดี จักรพรรดิ/จักรพรรดินี, แกรนด์ดยุก/แกรนด์ดัชเชส, เจ้าชาย/เจ้าหญิง และคำอื่น ถูกใช้เพื่อระบุตำแหน่งพระมหากษัตริย์ด้วย แม้คำว่า "monarch" จะมาจากคำว่า "ผู้ปกครองคนเดียว" แต่โดยประเพณี ประมุขแห่งรัฐที่มีตำแหน่ง[[ประธานาธิบดี]]หรือผู้นำ (premier) ไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ
 
ลักษณะที่ทำให้ระบอบราชาธิปไตยแตกต่างจากระบอบ[[สาธารณรัฐ]]คือ พระมหากษัตริย์ทรงครองแผ่นดินเป็นประมุขตลอดพระชนม์ชีพ และสืบราชสันตติวงศ์ให้กับ[[รัชทายาท]]เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตหรือทรงสละราชสมบัติ แม้จะมีบ้างที่มีการเลือกตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ส่วนใน[[สาธารณรัฐ]] ประมุขของรัฐ (ซึ่งมักเรียกว่าประธานาธิบดี) โดยปกติแล้วมีที่มาจากการเลือกตั้ง และทำหน้าที่อยู่ในช่วงในเวลาที่แน่นอน เช่น 4 ปี 6 ปี เป็นต้น
 
ราชาธิปไตยเป็นหนึ่งในระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุด อาจถือกำเนิดขึ้นจากระบบการปกครองแบบหัวหน้า[[เผ่า]] (tribal kingship) หรือสมณเพศหลวง (royal priesthood) ในอดีต บางประเทศเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงได้[[เทวสิทธิ์ของกษัตริย์|เทวสิทธิ์]]ให้มาปกครองประเทศตามความปรารถนาของ[[พระเจ้า]] หรือบางประเทศอาจเชื่อว่าพระมหากษัตริย์มาจากพระเจ้า ตำแหน่งพระมหากษัตริย์นี้มักจะสืบตกทอดแก่ลูกหลาน จึงส่งผลให้เกิด[[ราชวงศ์]]ขึ้น พระมหากษัตริย์ยังอาจมาจากพฤติการณ์รุนแรงของกลุ่มรุกรานต่อชุมชนท้องถิ่น ซึ่งแย่งชิงสิทธิของชุมชนเหนือประเพณี ผู้นำของกลุ่มที่แย่งชิงสิทธินั้นมักสถาปนาตนเป็นพระมหากษัตริย์ สถานะพระมหากษัตริย์กล่าวกันว่าเป็นผลซึ่งเผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากร ชุมชน พระมหากษัตริย์และตำแหน่งของพระองค์
 
ราชาธิปไตยเคยเป็นระบอบการปกครองที่แพร่หลายที่สุดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ปัจจุบันมิได้แพร่หลายอีกต่อไป อย่างน้อยก็ในระดับชาติ ประเทศซึ่งยังปกครองแบบราชาธิปไตยอยู่ ปัจจุบันมักพบในรูปของ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] โดยพระมหากษัตริย์ทรงถือบทบาททางกฎหมายและพิธีกรรมเป็นเอกลักษณ์ แต่ไม่ทรงใช้หรือใช้อำนาจทางการเมืองอย่างจำกัดตาม[[รัฐธรรมนูญ]]หรือประเพณีซึ่งจัดสรรรฝ่ายปกครองที่อื่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ แต่[[อำนาจอธิปไตย]]อยู่ที่ประชาชน ([[ปรมิตตาญาสิทธิราชย์]]) พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ถูกสถาปนาขึ้นตาม[[จารีตประเพณี]]หรือตาม[[ประมวลกฎหมาย]]เพื่อไม่ให้มีอำนาจทางการเมืองอย่างแท้จริง บางประเทศ พระมหากษัตริย์อาจทรงมีอำนาจอยู่บ้าง แต่ก็ถูกจำกัดไว้ด้วยความเห็นชอบของประชาชนหรือบรรทัดฐานของพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน
 
ปัจจุบันมี 44 รัฐอธิปไตยในโลกที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ โดย 16 รัฐเป็น[[เครือจักรภพแห่งชาติ]] ซึ่งยอมรับว่า[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร]]เป็นประมุขแห่งรัฐของตน ประเทศราชาธิปไตยทุกประเทศในยุโรปเป็นแบบภายใต้รัฐธรรมนูญ ยกเว้น[[นครรัฐวาติกัน]] แต่พระมหากษัตริย์ในรัฐเล็ก ๆ มักมีอิทธิพลทางการเมืองมากกว่าในรัฐใหญ่ ๆ พระมหาษัตริย์กัมพูชา ญี่ปุ่น จอร์แดน มาเลเซียและโมร็อกโก "ครองราชย์ แต่ไม่ปกครอง" แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างในอำนาจที่พระมหากษัตริย์ในประเทศเหล่านี้ทรงถือ แม้พระมหากษัตริย์จะทรงปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระมหากษัตริย์บรูไน โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบียและ[[สวาซิแลนด์]]ดูเหมือนว่าจะทรงมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือแหล่งแห่งอำนาจหน้าที่แหล่งหนึ่งแหล่งใดในชาตินั้นต่อไป ไม่ว่าจะโดยอำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือโดยประเพณี
 
{| align="center" style="background:transparent;"
| [[ไฟล์:World Monarchies.svg|thumb|700px|<!--
-->{{legend|#ff0000|[[สมบูรณาญาสิทธิราช]]}}<!--
-->{{legend|#ff7f40|ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ}}<!--
-->{{legend|#285F27|[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]}}<!--
-->{{legend|#008000|[[เครือจักรภพแห่งชาติ]]}}<!--
-->{{legend|#ff00ff|ราชาธิปไตยต่ำกว่ารัฐ (ประเพณี)}}
]]
|}
{{clear}}
 
== ประเภทของราชาธิปไตย ==