ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอแจ้ห่ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 41:
คนแจ้ห่มเป็นใคร? ศูนย์มานุษยวิทยา กรุงเทพฯ ระบุว่ามีแหล่งชุมชนยุคประวัติศาสตร์ลำปางมี 3 แห่ง คือ 1) ชุมชนบ้านใหม่ผ้าขาว 2) ชุมชนอักโขชัยคีรี 3) ชุมชนบ้านสบมอญ จากชุมชนดังกล่าว ปัจจุบันพบหลักฐานที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น แหล่งชุมชนอักโขชัยคีรี (บ้านสวนดอกคำ) มีกำแพงดินเรียงรายเป็นหย่อม ๆ กลางทุ่งนา ผู้เขียนกับเพื่อนๆ ขณะเป็นเด็กเคยปีนขึ้นไปเล่นซ่อนแอบกันอย่างสนุก ส่วนด้านทิศใต้ของวัดพบคูน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่าห้วยม่วง และแหล่งชุมชนบ้านสบมอญ พบร่องน้ำบริเวณชายป่าบ้านทุ่งทอง ชาวบ้านเรียกว่า “คูลั๊วะ”
 
คำว่า ลั๊วะ ในเอกสารตำนานพื้นเมืองที่จารด้วยอักษรล้านนา เช่น [[ตำนานพระเจ้าเลียบโลก]] ตำนานพุทธจารีต ตำนานพุทธจาริก ต่างระบุว่าแจ้ห่มเป็นแหล่งที่อยู่ของชาวลั๊วะ ผู้ปกครองเมืองคือพญาอาฬวี มีนิสัยโหดร้าย ต่อมาถูกพระพุทธเจ้าเทศนาสั่งสอนจนกลับใจ และได้ประทับรอยพระบาทไว้บนดอยพระบาท และบรรจุพระเกศาธาตุไว้ตามวัดต่าง ๆ ใน อ.แจ้ห่ม อ.เมืองปาน เช่น วัดดงนั่ง วัดทุ่งทอง วัดอักโขชัยคีรี เป็นต้น หลังจากเสด็จปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์สาวกนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ทุกแห่ง
 
และจากตำนานพระพุทธรูปแก่นจันทร์แดง ฉบับพงศาวดารโยนก ถอดความโดยพระมหารุ่งรพ สิริปัญโญ (รุ่งรพ ใจวงค์ษา) มีดังนี้ พระแก่นจันทร์แดงเป็นพระยืน มีแท่นสูง 6 นิ้ว ส่วนองค์พระสูง 22 นิ้ว วัดโดยรอบได้ 23 นิ้วครึ่ง หนังแปดพันน้ำ จากความในตำนานกล่าวว่าเป็นของโบราณเมืองสุวรรณภูมิ ภายหลังเมืองเกิดศึกสงคราม ราชบุตรเจ้าสุวรรณภูมิสองพี่น้องพากันหนีข้าศึก พระอนุชาชื่อว่าจันทรราชกุมารได้นำพระบรมธาตุมาไว้ที่ตำบลลำปาง แคว้นเขลางค์นคร พระเชษฐาชื่อว่าอาทิตยราชนำพระแก่นจันทร์แดงมาไว้ที่เมืองแจ้ตาก พระแก่นจันทร์อยู่ที่เมืองแจ้ตากประมาณ 300 ปีต่อมาเมืองแจ้ตากเกิดภัยพิบัติพระพุทธรักขิตะมหาเถระจึงได้ไปอัญเชิญมาไว้ที่เมืองแจ้หมปลายแม่น้ำวัง มีพระยาหลวงคำแดงเจ้าเมืองแจ้หมรับอุปัฏฐากไว้ ครั้นพระยาหลวงคำแดงถึงแก่อนิจกรรม พระยาคำลือที่เป็นสหายท้าวตาแหวนนายบ้านสบสอยเป็นผู้สืบครองเมือง ท้าวตาแหวนได้นำไม้แก่นจันทร์ที่มีค่าแสนคำ นำมาขอแลกเปลี่ยนพระแก่นจันทร์แดงเพื่อนำไปบูชา ณ ตำบลสบสอย