ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัคส์ แอ็นสท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
เทคนิคการสร้างภาพพิมพ์ถูของแอ็นสท์โดยใช้กระดาษปิดทับผิวหน้าวัตถุแล้วฝนถูบนกระดาษให้เกิดเป็นภาพขึ้นมา รวมทั้งเทคนิคการขูดเซาะสีตลอดทั้งปี ค.ศ. 1920 จนถึงช่วงปี ค.ศ. 1931 เพื่อล้อเลียนสรรพสิ่งที่เป็นอยู่แบบแปลก ๆ และจากประเด็นความบังเอิญที่เกิดขึ้น ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดผลอย่างไรของกระบวนการกดทาบซับสี การถ่ายโอนลวดลายสีจากกระดาษไปยังไม้ โลหะ เครื่องเคลือบ หรือเครื่องแก้วอื่น ๆ เทคนิคของแอ็นสท์เป็นแบบอัตโนมัติ กล่าวคือ ผลลัพธ์เกิดจากความบังเอิญโดยลักษณะวิธีการของตัวมันเอง เขาเพียงแต่เพ่งพิจารณาด้วยจินตนาการ ใช้เทคนิคการระบายสีเข้าไปเสริมเพียงเล็กน้อย เพื่อเน้นรูปจากจินตนาการให้ชัดเจนขึ้นด้วยเส้นและสีเท่านั้น
 
===ช่วงต่าง ๆ ของผลงานของแอ็นสท์===
[[ไฟล์:Immortality,1913-1914.jpg|thumbnail|''Immortality'', 1913–1914. Oil on Wood, 46 × 31 cm.]]
====1. การบรรลุสิ่งที่ห่างไกลเหนืองานจิตรกรรม (Reaching Beyond Painting), 1915–1922====
 
จิตรกรรมเกี่ยวกับรูปร่างคนหรือสัตว์ในระยะแรก ๆ ของเขามีลักษณะใหญ่โตประชดประชันเป็นสิ่งที่ล้ำยุคที่ศิลปินคนอื่นยังไม่ได้ทำขึ้นในช่วงขณะนั้น เป็นการถ่ายทอดรูปแบบที่มีลักษณะทวิรูปคือการใช้รูปแบบของสิ่งสองสิ่งที่ต่างกันมาไว้ด้วยกัน และจากการต่อต้านศิลปะตามแบบอย่างอนาคตนิยมรวมถึงบาศกนิยมที่นิยมในขณะนั้น
ในปี ค.ศ. 1919 งานเทคนิคผสมได้ถูกนำมารวมกับงานพิมพ์เพื่อการค้า การพิมพ์ถูแล้วระบายสีเคลือบทับของภาพประกอบในวัสดุสิ่งพิมพ์และงานภาพปะติดได้เข้ามาแทนทีการใช้พู่กัน ปากกา หรือดินสอ วิธีนี้ถือเป็นการท้าทายในเชิงทำลายที่ต่างจากมาตรฐานศิลปะในสมัยนั้นแอ็นสท์ปฏิเสธการทำงานที่มุ่งรูปแบบธรรมชาติโดยตรง ทั้งไม่พยายามส่งผลกระทบต่อผู้ชมให้เกิดการยอมรับความจริง อีกแง่มุมหนึ่งถือเป็นแบบรากฐานแห่งการเข้าถึงชีวิตโลกแบบใหม่ เป็นการกระทำเพื่อล้อเลียนรูปแบบต้นแบบวัตถุที่เขาแสดงออกในงานภาพตัดปะ
 
ในปี ค.ศ. 1919 งานเทคนิคผสมได้ถูกนำมารวมกับงานพิมพ์เพื่อการค้า การพิมพ์ถูแล้วระบายสีเคลือบทับของภาพประกอบในวัสดุสิ่งพิมพ์และงานภาพปะติดได้เข้ามาแทนทีการใช้พู่กัน ปากกา หรือดินสอ วิธีนี้ถือเป็นการท้าทายในเชิงทำลายที่ต่างจากมาตรฐานศิลปะในสมัยนั้นแอ็นสท์ปฏิเสธการทำงานที่มุ่งรูปแบบธรรมชาติโดยตรง ทั้งไม่พยายามส่งผลกระทบต่อผู้ชมให้เกิดการยอมรับความจริง อีกแง่มุมหนึ่งถือเป็นแบบรากฐานแห่งการเข้าถึงชีวิตโลกแบบใหม่ เป็นการกระทำเพื่อล้อเลียนรูปแบบต้นแบบวัตถุที่เขาแสดงออกในงานภาพตัดปะ
===2. ประสบการณ์จากยุคดาดาและภาพปะติด (Fruit of a Long Experience Dada), 1919–1922===
 
====2. ประสบการณ์จากยุคดาดาและภาพปะติด (Fruit of a Long Experience Dada), 1919–1922====
ผลงานศิลปะที่นำวัสดุและวิธีเสนอเป็นภาพปะติด โดยการตัดเฉพาะส่วนที่แตกต่างกัน สิ่งที่ขัดแย้งกันมารวมกัน ถือเป็นการต่อต้านความจริงขั้นพื้นฐานทางสายตา เพื่อสร้างสรรค์สู่โลกใหม่และหนีจากโลกความจริง โดยเฉพาะความจริงจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาซึ่งการทำลายล้างก่อเกิดเป็นสงคราม แนวคิดของแอ็นสท์ที่ยึดหลักความไร้เหตุผลมาเป็นเหตุผล เพื่อแสดงออกถึงความมีสิทธิและเสรีภาพ จนกระทั่งกลายเป็นกระบวนการคติดาดา คตินิยมที่ปฏิเสธกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางสังคมและรสนิยมทางศิลปะอย่างสิ้นเชิง
 
====3. ลัทธิเหนือจริงมนุษย์ไม่ควรรู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนี้ (Surrealism Men Shall Know Nothing of this), 1923–1924====
จากการตีความหลักจิตวิทยาวิเคราะห์ของฟร็อยท์ ในความหมายที่เกี่ยวกับเนื้อหาความฝันที่เปิดเผย จุดประสงค์แห่งขีดความไร้สำนึกที่ปราศจากการควบคุม ถือเป็นแนวทางที่เด่นชัดของกลุ่มลัทธิลัทธิเหนือจริง โดยภาพวาดของแอ็นสท์ใช้รูปแบบคนโดยการลดทอนและนำมาจัดรวมกันใหม่ให้ดูแปลกไปจากเดิม หรือนำอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของคนมานำเสนอเฉพาะส่วนที่จำเป็น ใช้วิธีการระบายสีเน้นลักษณะพื้นผิวด้วยรอยแปรงอย่างชัดเจน
 
====4. การพิมพ์ถูและประวัติธรรมชาติ (Frottage and History Natural), 1925–1926====
การค้นพบเทคนิคการลอกลาย หรือเทคนิคอัตโนมัต เป็นการแสดงออกซึ่งอารมณ์และจิตไร้สำนึก เทคนิค Frottage หรือพิมพ์ถูเป็นการแสดงให้เห็นถึงขอบเขตของทฤษฎีการกระทำแบบอัตโนมัติของกลุ่มเซอร์เรีบลิสม์ การทำซ้ำ ๆ ในการออกแบบตามความรู้สึกนึกคิด ซึ่งวิธีการที่เกี่ยวข้องกลับสวนทางกับความคิดของการวาดภาพที่ต่อเนื่องรวดเร็ว โดยผลลัพธ์เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพผิวและรูปร่าง เข้าเป็นหน่วยสื่อความหมายทางภาษาด้วยการแสดงออกชุดผลงานอย่างต่อเนื่อง การผันแปรสับเปลี่ยนองค์ประกอบภายในชุดผงงาน ความสอดคล้องของรูปทรงหนึ่งกับอีกรูปทรงหนึ่ง
 
====5. นก เจ้าสาว ป่า และดอกไม้ (Birds, Brides, Forests and History Natural), 1927–1939====
จากเทคนิคภาพพิมพ์ถูโดยใช้กระดาษ แอ็นสท์ได้พัฒนามาเป็นการใช้ผ้าใบ ใช้เทคนิคที่เรียกว่าการขูดครูดสี ซึ่งนำไปสู่ภาพความคิดฝันที่เปลี่ยนแปลงใหม่อันน่าพิศวง ผลงานของแอ็นสท์ทีเป็นช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงสงครามยุติ สามารถค้นพบเบื้องหลังความครุ่นคิดของแอ็นสท์กับดวงอาทิตย์ และป่าไม้ที่ถูกเผาผลาญด้วยไฟป่า จากทรรศนะที่ถือว่าคนเป็นศูนย์กลางจักรวาล ถูกแทนที่ด้วยสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดขึ้น
[[ไฟล์:The Scenery Changes Three Time.jpg|400*278px|thumbnail|''The Scenery Changes Three Time'']]
 
====6. นวนิยายภาพปะติดและการแผ่ขยาย (The Collage Novels and Loplop), 1930–1936====
รูปแบบภาพตัดปะด้วยเทคนิคสื่อประสม(Mix Media) คือการเปลี่ยนจากภาพประกอบนิยายราคาถูกแกะสลักไม้ และเปลี่ยนมาเป็นพิมพ์แม่พิมพ์โลหะ เพื่อจะเอาชนะวิธีการแบบใหม่ของการคัดลอกงานด้วยวิธีการต่าง ๆ แอ็นสท์ได้เสนอความหลากหลายของการจัดองค์ประกอบศิลป์ การผสมผสานการปะติดในส่วนที่เกี่ยวกับลวดลายต้นแบบวัตถุจริง
 
===7. ทัศนียภาพโรแมนติก เมือง และป่า (The Romantic Vision : Cities and Jungles), 1935–1938===
เทคนิคแกรททาจและภาพพิมพ์ถูนั้นปรากฏเด่นชัดเจนมากขึ้นด้วยลักษณะของลวดลายต้นแบบจากเครื่องจักสานที่นำไปแทนความหมายของป้อมปราการเมืองหรือบ้านเรือนที่ปรักหักพังลง รกร้างเนิ่นนานจนเถาวัลย์แทรกขึ้นปะปนดูเป็นส่วนเดียวกัน ภาพมุมมองเกี่ยวกับป่านั้นมีลักษณะพืชพันธุ์ไม้กลายร่างเป็นคน หรืออาจโดยนัยตรงกันข้ามว่า คนกลายร่างเป็นต้นไม้ มันคือหน่วยเดียวกันที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะเป็นสัมพันธภาพระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นเมืองบนภูเขาให้ความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งที่หักพังของเมืองแห่งความฝัน แอ็นสท์นำเอาความไม่สวยงาม ความผุพังเสื่อมโทรมมาสร้างให้เกิดคุณค่าและความหมายใหม่
 
===8. ยุโรปหลังฝน (Europe after the Rain), 1938–1942===
แอ็นสท์แสดงออกด้วยเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับสงคราม การวาดภาพเทวดาของหัวใจและบ้าน เป็นเทพแห่งความตายที่มีรูปร่างประหลาด แอ็นสท์ได้อธิบายไว้ว่ารูปที่ทำขึ้นเพื่อเยาะเย้ยเสียดสีสิ่งที่ผู้คนพากันศรัทธาต่อการเสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ การต่อสู้เท่ากับสงคราม ซึ่งสิ่งนั้นได้ทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาอยู่ในเส้นทางของมัน
 
===9. ยุคแห่งการแสวงหาสู่ความเรียบง่าย (From the Age of Anxiety to the Childhood), 1943–1976===