ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏแมนฮัตตัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
ในส่วนของผู้ก่อการได้ถูกบีบบังคับให้ขึ้นรถไฟไปทางภาคเหนือ จากนั้นจึงแยกย้ายกันหลบหนีข้ามพรมแดนไป[[พม่า]]และ[[สิงคโปร์]] ในส่วนของ น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี [[พ.ศ. 2495]]
 
โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เฉพาะผู้เสียชีวิตมีจำนวนประมาณ 180187 คนราย<ref>[http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8E%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99 กบฎแมนฮัตตัน ฐานข้อมูลการเมืองสถาบันพระปกเกล้า]</ref>แบ่งเป็นประชาชน 118 ราย ทหารเรือ 43 ราย ทหารบก 17 ราย และ ตำรวจ 9 ราย นับเป็นเหตุการณ์สงครามกลางเมืองที่คนไทยฆ่าคนไทยมากที่สุดจวบจนปัจจุบัน ความเสียหายที่เป็นสิ่งของและอาวุธยุทโธปกรณ์ในส่วนของประชาชน ทางราชการได้แถลงว่าทรัพย์สินของประชาชนที่เสียหายมีจำนวนถึง 670,000 บาท ไม่นับทรัพย์สินที่ถูกลักขโมยไปในช่วงที่เกิดความวุ่นวายและค่าทำศพของราษฎรอีกเป็นจำนวนมาก โดยรัฐบาลจ่ายให้แก่ผู้เสียชีวิตคนละ 1,500 บาท ผู้ทุพพลภาพคนละ 1,200 บาท และผู้บาดเจ็บสาหัสคนละ 400 บาท ทางด้านความสูญเสียและความเสียหาย กองทัพบกเสียหายประมาณ 6,000,000 บาท กองทัพเรือเสียหายมากที่สุด เป็นทรัพย์สินประมาณ 5,000,000 บาท ทั้งนี้ไม่นับรวมมูลค่าเสียหายของเรือหลวงศรีอยุธยาและเรือคำรณสินธ์ที่อับปางลง เรือหลวงศรีอยุธยานั้นเป็นเรือรบที่เรียกว่าเรือปืนหนัก เป็นเรือที่สั่งต่อพิเศษจากประเทศญี่ปุ่น เรือคำรณสินธ์เป็นเรือขนาดเล็ก นอกจากนี้ กรมอู่ทหารเรือยังถูกไฟไหม้วอด มีเชื้อเพลิงและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สูญหายอีกจำนวนมาก เหล่าที่สูญเสียน้อยที่สุดคงเป็นกองทัพอากาศ ซึ่งรัฐบาลถือว่าเป็น “ อัศวินขี่ม้าขาว ” ที่ทำให้กบฏครั้งนี้จบลงเร็วขึ้น ส่วนกรมตำรวจเสียหายประมาณ 380,000 บาท งบประมาณที่ใช้ปราบกบฏมีมูลค่าเป็นเงินทั้งหมด 15 ล้านบาท
 
การดำเนินคดีมีการจับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ซึ่งควบคุมตัวไว้ที่สนามกีฬาแห่งชาติ เนื่องจากมีจำนวนมาก ในที่สุดก็ต้องปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เพียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อปี [[พ.ศ. 2500]] เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ ในส่วนของ[[กองทัพเรือไทย|กองทัพเรือ]] แม้ทหารที่ก่อการจะไม่ใช่ทหารระดับสูงและทหารเรือส่วนใหญ่ก็ไม่เกี่ยวข้องด้วย กระนั้น พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ และนายทหารเรือระดับสูงหลายคน ก็ยังต้องโทษตัดสินจำคุกนานถึง 3 ปี โดยที่ไม่มีความผิด และได้มีการปรับลดอัตรากำลังพลของกองทัพเรือลงไปมาก เพราะถือเป็นความพยายามก่อรัฐประหารเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันของทหารเรือ ต่อจาก[[กบฏวังหลวง]] ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นเพียง [[พ.ศ. 2492|2 ปี]] โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ยุบกรมนาวิกโยธินกรุงเทพ, ยุบกองการบินกองทัพเรือไปรวมกับ[[กองทัพอากาศไทย|กองทัพอากาศ]], ย้ายกองสัญญาณทหารเรือที่[[ถนนวิทยุ]] ที่ต่อมากลายเป็นที่ตั้งของ[[โรงเรียนเตรียมทหาร]] ซึ่งในปัจจุบันคือที่ตั้งของ [[วัน แบงค็อก]] นั่นเอง<ref>{{cite news|url=http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=326&contentID=75395|title= 29 มิถุนายน |first=นรนิติ|last=เศรษฐบุตร|date=July 2, 2012|work=เดลินิวส์}}</ref><ref>{{อ้างหนังสือ