ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปีแยร์ รอซีเย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เกินเวลาเสนอ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
[[ไฟล์:French Sailors at Canton.jpg|300px|thumb|''French Sailors at Canton'', ค.ศ. 1858. ภาพสามมิติ, [[Albumen print|การพิมพ์ภาพแบบอัลบูเมน]]]]
 
รอซีเยอยู่ที่ฮ่องกงในปี ค.ศ. 1858 และเริ่มถ่ายภาพในไม่ช้า ภาพส่วนใหญ่ถ่ายใน[[กว่างโจว]]และรอบ ๆ กว่างโจว<ref>Bennett. เวอร์ซิกระบุว่ารอซีเยอยู่ในจีนระหว่างปี ค.ศ. 1857 ถึง 1859 แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรมากไปกว่านั้น (Worswick, 146).</ref> ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1859 ''เนเกรตตีและแซมบรา'' จัดพิมพ์ภาพของรอซีเย 50 ภาพ รวมถึงภาพสามมิติด้วย ซึ่งได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกจากสิ่งพิมพ์รายคาบด้านการถ่ายภาพในช่วงเวลานั้น ใน ค.ศ. 1858 หรือ 1859 รอซีเยเดินทางมาถึงฟิลิปปินส์ เขาเดินทางมาถ่ายภาพ[[ภูเขาไฟตาอัล]] รอซีเยถึงประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1859 ถ่ายภาพแรก ๆ ใน[[นะงะซะกินางาซากิ]] [[คะนะงะวะคานางาวะ]] [[โยะโกะฮะโยโกฮามะ]] และ[[เอโดะ]] (ปัจจุบันคือโตเกียว) เขาเป็นช่างภาพอาชีพคนแรกที่เดินทางมายังประเทศญี่ปุ่น<ref name="Yokoe, 167.">Yokoe, 167.</ref> ภาพถ่ายของรอซีเยภาพหนึ่งในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1859 (ขณะที่เขาอยู่ในนะงะซะกินางาซากิ) เป็นภาพลูกชายของ[[ฟีลิพพ์ฟิลลิพ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์]] ที่ชื่อ[[อาเล็กซันเดอร์อเล็คซันเดอร์ ฟ็อน ซีบ็อลท์|อาเล็กซันเดอร์อเล็คซันเดอร์]] กับกลุ่ม[[ซะมุไรซามูไร]]จากกลุ่มนะเบะชิมะ<ref>ภาพถ่ายนี้อยู่ในคลังสะสมของพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ซีบ็อลท์ในนะงะซะกิบ็อลท์ในนางาซากิ (Himeno, 22).</ref>
 
ปลายเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1860 รอซีเยอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ และเป็นไปได้ว่าเขาเดินทางมายังเมืองนี้เพื่อพยายามขออนุญาตติดตามกองทัพอังกฤษ-ฝรั่งเศสที่เดินทัพไปถึงภาคเหนือของประเทศจีนแล้ว เพื่อจะบันทึกภาพสงครามฝิ่นครั้งที่สองตามที่ได้รับว่าจ้างมาให้ลุล่วง<ref>กองทัพอังกฤษและฝรั่งเศสได้มาสมทบกันอยู่ก่อนแล้วที่อ่าวต้าเหลียนและจีฝู (เอียนไถ) ตามลำดับในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1860 (Harris, 17) และรอซีเยได้อยู่ที่เซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1860 เป็นไปได้ว่าเขาอยู่ที่เซี่ยงไฮ้เพื่อหาซื้อสารเคมีสำหรับถ่ายภาพ (Bennett).</ref> หากเขาตั้งใจเช่นนั้นจริง เขาก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะกองทัพทั้งสองได้จ้างช่างภาพเพื่อบันทึกภารกิจไว้แล้ว กองทัพอังกฤษจ้างช่างภาพชื่อ ฟีลิกซ์ เบอาโต และจอห์น แพพิยอน ส่วนกองทัพฝรั่งเศสจ้างอ็องตวน โฟเชอรี, พันโท ดูว์ แป็ง และอาจรวมถึงหลุยส์ เลอกร็อง<ref>Bennett; Thiriez. แพพิยอนได้ถ่ายภาพตั้งแต่กว่างโจวไปจนถึงป้อมต้ากู แต่ล้มป่วยและถูกเคลื่อนย้ายออกไปก่อนเสร็จสิ้นภารกิจ ภาพถ่ายการเดินทัพที่เป็นผลงานของโฟเชอรีก็ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นอน แต่น่าจะรวมถึงภาพสามมิติของกองทัพฝรั่งเศส 24 ภาพในกว่างโจว เซี่ยงไฮ้ [[เทียนจิน]] และ[[ปักกิ่ง]] นอกจากนี้ก็ไม่พบหลักฐานยืนยันว่าดูว์ แป็ง และเลอกร็องได้ถ่ายภาพระหว่างการเดินทัพจริง ๆ. Thiriez, 6-7.</ref> แม้รอซีเยจะพลาดภารกิจที่เขาได้รับว่าจ้างมา แต่เขาก็ยังอยู่ในเอเชียตะวันออกเพื่อบันทึกภาพต่อไป
 
เมื่อถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1860 รอซีเยก็ได้กลับไปยังนะงะซะกินางาซากิ เขาถ่ายภาพท่าของเมืองในนามของจอร์จ เอส. มอร์ริสัน กงสุลบริเตนซึ่งจ่ายค่าจ้างให้เขาเป็นเงิน 70 เหรียญสหรัฐ<ref>Dobson, 20; Clark, Fraser, and Osman, 137-138).</ref> ถึงแม้ ''เนเกรตตีและแซมบรา'' โฆษณาภาพถ่ายของรอซีเยอย่างน้อย 2 ครั้งใน ค.ศ. 1860 แต่บริษัทก็ไม่ได้จัดพิมพ์ภาพเหล่านั้นจนเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 1861<ref>หนังสือพิมพ์ ''[[เดอะไทมส์]]'' ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1860 มีโฆษณาภาพสามมิติ "ลงสีสมบูรณ์" ของ "สตรีญี่ปุ่นในชุดเต็มยศ" ซึ่งถ่ายโดยรอซีเย และโฆษณาใน ''เดอะไทมส์'' ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1860 อ้างว่าจะมี "ภาพถ่ายจากญี่ปุ่น – กรณีภาพถ่ายแปลกและหาดูยากของฉากหลังธรรมชาติในประเทศที่น่าสนใจประเทศนี้ และภาพประกอบแสดงกิริยาอาการและประเพณีของเผ่าชนในญี่ปุ่น ฝีมือศิลปินพิเศษที่ถูกส่งไปเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวโดยบริษัทห้างร้านเนเกรตตีและแซมบราแห่งลอนดอน" เบ็นนิตต์ยังคาดว่า ''เนเกรตตีและแซมบรา'' เลื่อนการเผยแพร่ภาพเหล่านี้ออกไปเนื่องจากปัญหาเรื่องคุณภาพของเนกาทิฟ ซึ่งอาจเป็นเพราะความเสียหายระหว่างการขนส่ง หรือเป็นเพราะรอซีเยประสบความยากลำบากในการหาสารเคมีที่ถูกต้องสำหรับการถ่ายภาพในเอเชีย (Bennett).</ref> มีการเผยแพร่ภาพถ่ายทิวทัศน์ญี่ปุ่น 5 ภาพของรอซีเยก่อนในหนังสือ ''เท็นวีกส์อินเจแปน'' ของจอร์จ สมิท ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1861 และในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน ภาพถ่ายในญี่ปุ่นอีก 8 ภาพของเขาก็ปรากฏในรูปแบบ[[ภาพพิมพ์หิน]]ในหนังสือ ''Japan, the Amoor, and the Pacific'' ของเฮนรี อาร์เทอร์ ทิลลีย์<ref name="Bennett PiJ, 49.">Bennett PiJ, 49.</ref> นิตยสาร ''Illustrated London News'' ฉบับหนึ่งในปี ค.ศ. 1861 ได้ตีพิมพ์[[ภาพพิมพ์แกะไม้|ภาพพิมพ์ลายแกะ]]หลายภาพร่วมกันในชื่อ ''Domestic Life in China'' โดยใช้ภาพสามมิติที่ถ่ายโดยรอซีเย<ref>Bennett OJP, 119.</ref> หนึ่งในภาพถ่ายที่ ''เนเกรตตีและแซมบรา'' ได้โฆษณาไว้ในปี ค.ศ. 1860 กลายเป็นภาพถ่ายทิวทัศน์ญี่ปุ่นเชิงพาณิชย์ภาพแรกที่มีการจัดพิมพ์ และเป็นภาพถ่ายญี่ปุ่นที่ลงสีด้วยมือที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบ<ref>ภาพนั้นคือภาพ ''Japanese ladies in full dress'' (Bennett PiJ, 47; 49, fig. 45).</ref>
 
จากเอกสารจำนวนมากในช่วงนั้น ทำให้สามารถยืนยันได้ว่ารอซีเยเป็นผู้ถ่ายภาพทิวทัศน์ในจีนและญี่ปุ่นของบริษัท ''เนเกรตตีและแซมบรา'' แต่คนทั้งหลายต่างเชื่อว่าผู้อื่นถ่ายภาพเหล่านี้เป็นเวลาหลายปี ไม่ว่าจะเป็น[[วอลเทอร์ บี. วุดเบอรี]] ที่ได้รับการว่าจ้างจาก ''เนเกรตตีและแซมบรา'' เช่นกัน แต่เขาประจำการอยู่ใน[[ปัตตาเวีย]] (ปัจจุบันคือ[[จาการ์ตา]]) หรือ[[เอเบิล กาวเวอร์]] ช่างภาพสมัครเล่นในญี่ปุ่น สิ่งที่น่าสนใจคือ คลังสะสมภาพถ่ายของ[[มหาวิทยาลัยไลเดิน]]มีภาพถ่ายที่กล่าวกันว่าเป็นภาพของกาวเวอร์ แต่มีการเซ็นว่า "เป. รอซีเย" และในปี ค.ศ. 1859 ทั้งรอซีเยและกาวเวอร์ได้เดินทางไปด้วยกันใน[[เรือหลวงแซมป์สัน|เรือหลวง''แซมป์ซัน'']] จากนะงะซะกิไปยังเอะโดะนางาซากิไปยังเอะโดะ<ref>Bennett PiJ, 45; 117, fig. 141.</ref>
 
== การสอนถ่ายภาพ ==
[[ไฟล์:Yokohama 1859.jpg|300px|thumb|''View of Yokohama'', ค.ศ. 1859. ภาพสามมิติ, การพิมพ์ภาพแบบอัลบูเมน]]
รอซีเยเดินทางมาถึงประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1859 อันเป็นช่วงเวลาที่การทดลองการถ่ายภาพสมัยแรก ๆ กำลังเริ่มต้นใน[[เกาะคีวชู]] โดยเฉพาะที่นะงะซะกินางาซากิ เมืองนี้เป็นศูนย์กลางของ[[รังงะกุ]] (องค์ความรู้ที่ต่อยอดจากวิทยาการตะวันตก) และเป็นเมืองที่แพทย์ 2 คน ได้แก่ [[ยัน กาเริล ฟัน แด็นบรุก]] และ[[เย. แอ็ล. เซ. โปมเปอ ฟัน เมร์เดอร์โฟร์ต]] เป็นกำลังสำคัญในการถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษาชาวญี่ปุ่น ไม่เฉพาะวิชาการแพทย์ แต่ยังรวมถึงวิชาเคมีและวิชาการถ่ายภาพอีกด้วย<ref>Himeno, 18, 20-21.</ref> แต่ทั้งฟัน แด็นบรุก และโปมเปอ ฟัน เมร์เดอร์โฟร์ต ต่างก็ไม่ใช่ช่างภาพผู้มีประสบการณ์ ความพยายามถ่ายภาพส่วนมากก็ล้มเหลว<ref>แม้กล้องถ่ายภาพที่ฟัน แด็นบรุก นำเข้ามาในญี่ปุ่นจะมีคู่มือการใช้แนบมาด้วย แต่ดูเหมือนว่าเขาก็ยังไม่สามารถผลิตภาพถ่ายได้เป็นที่น่าพอใจ และเขาตัดสินว่า ช่างภาพที่มีประสบการณ์เท่านั้นที่จะสามารถสอนการใช้กล้องได้ ส่วนโปมเปอ ฟัน เมร์เดอร์โฟร์ต ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จไปมากกว่ากัน โดยมะสึโมะโตะ จุง ได้บรรยายผลการทดลองถ่ายภาพครั้งหนึ่งของโปมเปอ ฟัน เมร์แดรโฟร์ตว่าเป็น "เงาดำ ๆ" (Himeno, 21-22).</ref> ถึงกระนั้น พวกเขาก็ได้สอนการถ่ายภาพด้วย[[กระบวนการกระจกเปียก]]ให้แก่เคอิไซ โยชิโอะ,<ref>เคอิไซ เป็นลุงและครูของช่างภาพอุชิดะ คุอิชิ (Himeno, 24-25).</ref> ฟุรุกะวะ ชุมเป, คะวะโนะ เทโซ, [[มะเอะดะ เก็นโซ]], [[อุเอะโนะ ฮิโกะมะ]], [[โฮะริเอะ คุวะจิโร]] เป็นต้น<ref>Himeno, 21-22.</ref>
 
เมื่อรอซีเยมาถึงประเทศญี่ปุ่น คาดว่าเขาคงแนะนำตัวเองว่าเป็นช่างภาพที่บริษัท ''เนเกรตตีและแซมบรา'' ส่งมาทำงานในญี่ปุ่น นี่อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน กล่าวคือ ระหว่างที่อยู่ญี่ปุ่น เขาถูกเรียกว่าช่างภาพชาวอังกฤษอยู่บ่อยครั้ง ในนะงะซะกินางาซากิ รอซีเยมีผู้ช่วยคือมะเอะดะ เก็นโซ ซึ่งได้รับคำสั่งให้ติดตาม "คนอังกฤษ" และเรียนรู้การถ่ายภาพเพิ่มเติม<ref>มะสึโมะโตะ จุง สั่งให้มะเอะดะช่วยเหลือรอซีเย ความเชื่อมโยงระหว่างมะสึโมะโตะกับการถ่ายภาพอีกครั้งหนึ่งย้อนไปถึงช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1857 ถึง 1859 เมื่อเขารับอุชิดะ คุอิชิ วัย 13 ปี เป็นลูกบุญธรรม ในอนาคตอุชิดะจะได้เป็นช่างถ่ายภาพ (Bennett EJI, 54).</ref> ทั้งมะเอะดะและนักเรียนคนอื่น ๆ ติดตามเขาระหว่างอยู่ในเมือง รอซีเยได้ถ่ายภาพนักบวช ขอทาน ผู้ชมการแข่งขัน[[ซูโม่]] นิคมชาวต่างชาติ และถ่ายภาพอาเล็กซันเดอร์ภาพอเล็คซันเดอร์ ฟ็อน ซีบ็อลท์ กับกลุ่ม[[ซะมุไรซามูไร]] รอซีเยเชื่อว่าความล้มเหลวในการถ่ายภาพของโปมเปอ ฟัน เมร์เดอร์โฟร์ต มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนสารเคมีที่จำเป็น ดังนั้นเขาจึงเขียนจดหมายรับรองให้มะเอะดะเพื่อให้ได้มาซึ่งอุปกรณ์และสารเคมีสำหรับการถ่ายภาพจากแหล่งหนึ่งในเซี่ยงไฮ้ ทั้งมะเอะดะและฟุรุกะวะได้ซื้อเลนส์ สารเคมี และกระดาษแอมบูเมนผ่านทางรอซีเย<ref>Himeno, 21–22. มะเอะดะและฟุรุกะวะประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพด้วยอุปกรณ์เหล่านี้ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1860 ในวันนี้ยังคงมีการเฉลิมฉลองในฟุกุโอะกะซึ่งเป็นสถานที่ที่พวกเขาถ่ายภาพนั้น (Himeno, 22)</ref>
 
ในช่วงเวลานั้น รอซีเยยังได้สอนถ่ายภาพให้กับอุเอะโนะ ฮิโกะมะและโฮะริเอะ คุวะจิโรอีกด้วย ชัดเจนว่าในช่วงแรก อุเอะโนะมีเจตนาเรียนรู้ไม่เพียงแต่การถ่ายภาพแต่อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการผลิตกล้องด้วย ดูเหมือนว่าการพบกับรอซีเยจะทำให้อุเอะโนะเกิดความมุ่งมั่นไล่ตามฝันเป็นช่างภาพมืออาชีพ แต่เขาก็จำนนต่อเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพจนเลิกล้มความคิดผลิตกล้องของตัวเองอย่างรวดเร็ว ภายในไม่กี่เดือน เขาและโฮะริเอะซื้อกล้องถ่ายรูปและสารเคมีต่าง ๆ จากฝรั่งเศส ก่อนยึดอาชีพเป็นช่างภาพอิสระ<ref>Himeno, 22. อุเอะโนะได้ก้าวหน้าจนกลายเป็นช่างภาพที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดและสำคัญที่สุดคนหนึ่งในญี่ปุ่นสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19</ref>