ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาบู่มหิดล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39:
== เนื้อหา ==
[[ไฟล์:FMIB 39763 Waitea mystacina (Cuvier & Valenciennes).jpeg|thumb|right|ภาพวาดขณะที่ยังใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Waitea mystacina'']]
ปลาบู่มหิดล ค้นพบเป็นครั้งแรกในรั้วไซมาน ณ [[แม่น้ำจันทบุรี|ปากแม่น้ำจันทบุรี]] ในเขตพื้นที่[[อำเภอแหลมสิงห์]] จังหวัดจันทบุรี <ref>ทศพร วงศ์รัตน์. (2534). ปลาบู่มหิดล, วารสารการประมง, ปีที่ 44 ฉบับที่ 4 หน้า 295-313.</ref> <ref>นายวิทยา โสภิกุล อดีตประมงอำเภอแหลมสิงห์</ref> <ref>ลือชัย ดรุณชู. (2536). การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาบู่มหิดลในแม่น้ำจันทบุรี. กรมประมง. หน้า 7-23.</ref> และปัจจุบันได้รับการ[[สัตว์ป่าคุ้มครอง|คุ้มครอง]]ได้ในลำดับที่ 49 โดยระบุปลาบู่มหิดลทุกชนิดในสกุล ''Mahidolia'' ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสตูล พ.ศ. 2549 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2549 โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น เพราะปลาบู่มหิดลนอกจากจะค้นพบที่จังหวัดจันทบุรีแล้ว ยังค้นพบที่จังหวัดระนอง และจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย
 
=== สถานการณ์ปลาบู่มหิดล ===
ปลาบู่มหิดลเป็นปลาขนาดเล็กที่หาได้ยาก ไม่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ในปัจจุบันป่าชายเลนเสื่อมโทรม อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆต่าง ๆ เช่น การปล่อยน้ำทิ้ง และของเสียจากแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และการเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นต้น นอกจากนี้แหล่งน้ำต่างๆต่าง ๆ เกือบตลอดแขนงชายฝั่งทะเลมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะตื้นเขิน เนื่องจากมี[[การชะล้างหน้าดิน]] ([[soil erosion]]) บนพื้นที่ดินจากการประกอบกิจกรรมดังกล่าวแล้ว รวมทั้งการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประจำที่ประเภทกางกั้นจำพวก[[โพงพางปีก]] เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาวะความเปลี่ยนแปลงของแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีผลต่อความเสื่อมโทรมของพันธุ์สัตว์น้ำสำคัญๆสำคัญ ๆ อย่างปลาบู่มหิดล ที่มีให้พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก อาจเป็นผลให้ปลาชนิดนี้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต <ref name="หน้า 4"/>
 
=== ลักษณะสำคัญของปลาบู่มหิดล ===
ปลาบู่มหิดลมีลักษณะเด่น คือ หัวค่อนข้างโต และแบนข้างมาก ปากกว้างจนมีกระดูขากรรไกรที่ยื่นไปทางข้างเลยขอบหลังตา ฟันมีขนาดเล็ก และมีแถวเดียวที่ขากรรไกรบน แต่มีหลายแถวที่ขากรรไกรล่าง ลำตัวสั้น ไม่มีเกล็ดบนหัว และบนฝาเหงือกมีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ <ref>Smith, H.M. 1945. The Fresh-Water Fishes of Siam, or Thailand. United States Government Printing office, Washington. 512-525</ref> <ref>The Journal of the Siam Society. 1933. Natural History Supplement. Bangkok. 255-262 pp.</ref>
 
=== ถิ่นอาศัยของปลาบู่มหิดล ===
ปลาบู่มหิดลชอบอาศัยในบริเวณปากแม่น้ำ และป่าชายเลนที่สภาพเป็นอ่าว พื้นทะเลเป็นโคลนปนทราย มักพบเสมอว่า ปลาชนิดนี้มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่กับ[[กุ้งดีดขัน]] (''Alpheas'' spp.) โดยกุ้งเป็นผู้สร้างรูเป็นที่อาศัยร่วมกันกับปลา และปลาเป็นผู้ทำความสะอาดภายในรู <ref>สุด แสงวิเชียร. (2531). “ปลาบู่มหิดล บทความพิเศษ” โรงพยาบาลศิริราช ปีที่ 40 เล่ม 9 เดือนกันยายน. หน้า 659 – 666.</ref>
 
== แผนที่การกระจายของปลาบู่มหิดล ==