ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังกยอชวา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
| birth_date = [[พ.ศ. 2101]]
| death_style = สิ้นพระชนม์
| death1 = 18 [[18 มกราคม]] [[พ.ศ. 2135]]
| succession = พระมหาอุปราชา
| father1 = [[พระเจ้านันทบุเรง]]
บรรทัด 24:
'''มังกะยอชวา''' (พระนาม[[ภาษาพม่า]]: မင်းကြီးစွာ; [[อักษรโรมัน]]: Minyekyawswa, Minchit Sra; ออกเสียง: ''เมงเยจอสวา'') หรือ '''มังสามเกียด''' (ตามที่พงศาวดารไทยและพงศาวดารมอญเรียก) เป็นพระราชโอรสใน[[พระเจ้านันทบุเรง]] เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยโดยทรงนำทัพมาตี[[กรุงศรีอยุธยา]]หลายครั้ง รวมถึงได้ทรงทำ[[ยุทธหัตถี]]กับ[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]
 
== พระราชประวัติ ==
=== วัยเยาว์ ===
มังกะยอชวาเสด็จพระราชสมภพที่[[กรุงหงสาวดี|หงสาวดี]] พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์มีปรากฏใน'''[[คำให้การชาวกรุงเก่า]]'''กับ'''คำให้การขุนหลวงหาวัด''' ว่าเดิมทรงมีความสนิทสนมกับพระนเรศวรดี ต่อมาได้มีการชนไก่ระหว่าง[[พระนเรศวร]]และมังกะยอชวา ไก่ของพระนเรศวรชนะไก่ของมังกะยอชวา มังกะยอชวาจึงกล่าววาจาเหยียดหยามพระนเรศวรทำให้พระนเรศวรรู้สึกเจ็บช้ำพระทัย
 
=== การเป็นพระมหาอุปราชา ===
เมื่อ [[พ.ศ. 2124]] ภายหลัง[[พระเจ้าบุเรงนอง]]เสด็จสวรรคต [[พระเจ้านันทบุเรง]]ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ มังกะยอชวาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหาอุปราชมังกะยอชวา หรือ พระมหาอุปราชานั่นเอง
 
=== ศึกเมืองคัง ===
ในปีที่พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์ เจ้าฟ้า[[เมืองคัง]]แข็งเมืองต่อ[[หงสาวดี|กรุงหงสาวดี]] พระเจ้านันทบุเรงจึงโปรดเกล้าฯให้ พระนเรศวร [[พระสังขทัต]]และ พระมหาอุปราชมังกะยอชวา ไปปราบเมืองคัง หลังจากการตกลงกันมังกะยอชวาจึงยกขึ้นไปตีเมืองคังเป็นพระองค์แรกในเดือน 5 ขึ้น 7 ค่ำ ตั้งแต่สี่ทุ่มแต่ไม่สำเร็จ จนรุ่งสางจึงต้องถอยทัพกลับ หลังจากนั้นสองวันพระนเรศวรทรงสามารถตีเมืองคังได้
 
=== กบฏพระเจ้าอังวะและการประกาศอิสรภาพของอยุธยา ===
ใน[[พ.ศ. 2127]] ตะโดเมงสอพระเจ้าอังวะเป็นกบฏ มีการกล่าวว่าเพราะพระมหาอุปราชวิวาทพระชายาซึ่งเป็นธิดาของตะโดเมงสอถึงขั้นทำร้ายตบตีกันจนเลือดตกยางออก ทำให้นางเอาผ้าซับเลือดแล้วใส่ผอบส่งไปให้พระบิดา ทำให้พระเจ้าอังวะแยกตัวออกจากหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงจึงยกทัพไปปราบด้วยพระองค์เอง ส่วนพระมหาอุปราชมังกะยอชวาได้อยู่รักษาพระนคร
 
บรรทัด 41:
* '''พงศาวดารพม่า''' กล่าวว่าพระนเรศวรยกทัพมาถึงเมืองหงสาวดี พระมหาอุปราชาจึงมีรับสั่งให้พระนเรศวรเสด็จไปอังวะ แต่พระนเรศวรไม่ฟังและยกเข้ามาตีหงสาวดีและตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ พระมหาอุปราชาจึงให้ทหารขึ้นประจำเชิงเทินกำแพงเมือง แต่เมืองรู้ข่าวว่าพระเจ้านันทบุเรงกำลังเสด็จกลับมา พระนเรศวรจึงกวาดต้อนผู้คนหนีกลับกรุงศรีอยุธยา
 
=== ศึกนันทบุเรง ===
[[พ.ศ. 2129]] พระเจ้านันทบุเรงยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชมังกะยอชวาทรงยกทัพมาด้วยแล้วตั้งค่ายที่ทุ่งชายเคืองทางทิศตะวันออกของพระนคร ได้ทรงให้กองทัพม้าตีทัพพระยากำแพงเพชรที่มาป้องกันผู้คนที่ออกไปเกี่ยวข้าวแตกพ่าย การรบติดพันมาถึง [[พ.ศ. 2130]] พระเจ้านันทบุเรงจึงทรงยกทัพกลับ พระมหาอุปราชาก็ยกทัพกลับด้วย
 
=== พระมหาอุปราชาตีกรุงศรีอยุธยา ===
[[พ.ศ. 2133]] [[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]]เสด็จสวรรคต [[สมเด็จพระนเรศวร]]ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ พระเจ้านันทบุเรงจึงให้พระมหาอุปราชมังกะยอชวายกไปตีกรุงศรีอยุธยา แต่ก็เสียทีจนกองทัพแตกพ่ายจนพระองค์เกือบถูกจับได้ พระมหาอุปราชาเสด็จกลับถึงหงสาวดีเมื่อเดือน 5 [[พ.ศ. 2134]] ทรงถูกพระราชบิดาภาคทัณฑ์ให้ทำการแก้ตัวใหม่
 
=== สงครามยุทธหัตถี ===
[[ไฟล์:Seal Suphanburi.png|thumb|220px|right|[[ตราประจำจังหวัดของไทย|ตราประจำ]][[จังหวัดสุพรรณบุรี]]ในปัจจุบัน แสดงถึงสงครามยุทธหัตถีระหว่าง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับ พระมหาอุปราชมังกะยอชวา]]พระเจ้านันทบุเรงจึงมีรับสั่งให้พระมหาอุปราชมังกะยอชวาไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง พระองค์เสด็จจากหงสาวดีเมื่อ [[วันพุธ]] [[เดือนอ้าย]] ขึ้น 7 ค่ำ ปีมะโรง [[พ.ศ. 2135]]
 
บรรทัด 59:
* [[พระนเรศวรมหาราช]]
 
== อ้างอิง ==
{{commonscat|Mingyi Swa|มังกะยอชวาที่ 1 แห่งตองอู}}
* '''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล'''. --กรุงเทพฯ : โฆษิต, 2549. ISBN 9749489993