ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสาทร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5:
ถนนสาทร เป็นถนนที่เชื่อมระหว่าง[[ถนนพระราม 4]] และ[[ถนนนราธิวาสราชนครินทร์]] และเป็นเส้นทางหนึ่งที่เชื่อมกับ[[ฝั่งธนบุรี]]โดย[[สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน]] (สะพานสาทร) โดยแบ่งได้เป็น 2 ฝั่ง ได้แก่ ฝั่งเหนือคือ "ถนนสาทรเหนือ" อยู่ในแขวงสีลม เขตบางรัก และฝั่งใต้คือ "ถนนสาทรใต้" อยู่ในแขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร เป็นถนนที่ตัดขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยในปี พ.ศ. 2431 คหบดีชาวจีนที่ชื่อ "เจ้าสัวยม" ได้อุทิศที่ดินระหว่าง[[ถนนสีลม]]และถนนบ้านหวายเพื่อขุดคลอง โดยจ้างกรรมการชาวจีนเพื่อทำการขุด โดยขุดจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ฝั่งตะวันออกไปบรรจบกับคลองถนนตรงหรือคลองวัวลำพอง (ปัจุบันถมเป็น ถนนพระราม 4) เรียกคลองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ว่า "คลองเจ้าสัวยม" ([[คลองสาทร]] ในปัจจุบัน) และได้นำดินที่ขุดคลองมาทำเป็นถนนอีกด้วย ต่อมาเจ้าสัวยมได้รับบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น "หลวงสาทรราชายุกต์" จึงทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนนี้ว่า "ถนนสาทรราชายุกต์" รวมถึงคลอง คือ "คลองสาทรราชายุกต์" แต่ผู้คนนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "สาทร"
 
ในอดีตถนนสาทรมีต้นมะฮอกกานี ปลูกอยู่ริมคลองสาทรทั้ง 2 ด้าน เดิมเป็นถนนเพียง 1 เลนช่องจราจรทั้งไปและกลับ ต่อมาขยายเป็นถนนลาดยาง 2 เล่นช่องจราจรทั้งไปและกลับ และขยายเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 เลนช่องจราจรทั้งไปและกลับ โดยถนนเลนช่องจราจรที่สาม 3 ได้กินพื้นที่ของคลองสาทรบางส่วนไปด้วย ทำให้คลองสาทรในปัจจุบันเล็กกว่าเดิมเกือบเท่าตัว และกลายเป็นท่อระบายน้ำเสียขนาดใหญ่ จากอาคารและชุมชนที่อยู่ริมซึ่งการขยายถนนสาทรครั้งหลังสุดเกิดขึ้นเมื่อมีการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในช่วงปี พ.ศ. 2522 - 2525 ถนนสาทรเคยเป็นย่านเก่าแก่ของพ่อค้าชาวจีนและชาวยุโรป จึงปรากฏบ้านทรงตะวันตกหลายหลังริมถนน
 
ในอดีตเคยใช้ตัวสะกดชื่อถนนว่า "สาธร" ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น "สาทร" ตามคำสะกดที่ถูกต้องเช่นในปัจจุบัน