ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กู่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 7516059 โดย Miwako Satoด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 14:
 
 
คำว่า "จินฉาน" เป็นไวพจน์ของคำว่า "กู่" พบครั้งแรกในเอกสารสมัย[[ราชวงศ์ถัง]] เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นพระนิพนธ์ซึ่ง[[หลี่ เสียน (เจ้าชายแห่งราชวงศ์ถัง)|หลี่ เสียน]] (李賢) โอรสของ[[จักรพรรดิถังเกาจง]] (唐高宗) เขียนอธิบายหนังสือ ''[[โฮ่วฮั่นชู]]'' (後漢書; "หนังสือฮั่นสมัยหลัง") โดยใช้คำ "จินฉาน" เป็นชื่อเครื่องประดับงานศพที่ทำขึ้นจากทองคำ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซู เอ้อ (蘇鶚) เขียนหนังสือพรรณนาว่า "จินฉาน" เป็นตัวหนอนสีทองที่ผูู้คนผู้คนร่ำลือกัน ได้มาจากแคว้น[[รัฐชัมมูและกัศมีร์|กัศมีร์]]ของอินเดีย
 
[[โวลแฟรม อีเบอร์ฮาร์ด]] (Wolfram Eberhard) กล่าวว่า การทำกู่เป็นประเพณีของ[[ชาวเหมียว]] (苗族) โดยในวัน 15 ค่ำ เดือน 5 พวกเขาจะจับสัตว์มีพิษชนิดต่าง ๆ ใส่ลงในหม้อ และขังปล่อยให้สัตว์เหล่านั้นกัดกินกันเอง ตัวใดรอดมาก็เอาไว้ใช้ฆ่าคน พวกเขาเรียกสัตว์นี้ว่า "กู่" แต่ในยุคของอีเบอร์ฮาร์ด นิยมเรียกว่า "จินฉาน" แล้ว ยิ่งกู่เป็นที่นิยมนำไปใช้ฆ่าคนมากเท่าไร เจ้าของกู่ก็ยิ่งร่ำรวยมากเท่านั้น จนกู่ได้ชื่อว่า สัตว์ที่สร้างทอง จึงเกิดการทำกู่โดยทั่วไป แต่ผู้เลี้ยงกู่ต้องหาคนมาสังเวยเลี้ยงกู่ มิฉะนั้น ตัวเขาเองจะถูกกู่ทำร้าย<ref>Eberhard, 1968: 149–150.</ref>
บรรทัด 20:
ส่วนหลุยซา เชน (Louisa Schein) ระบุว่า คนทั่วไปกลัวชาวเหมียว โดยเฉพาะสตรีชาวเหมียว มานานหลายร้อยปี เพราะพวกเขาเลี้ยงกู่ไว้ใช้ฆ่าคน ใครถูกพิษกู่ จะทำค่อย ๆ ตายอย่างทุกข์ทรมาน<ref>Schein, 2000: 50–51.</ref>
 
[[เจ.เจ.เอ็ม. ดี กรูต]] (J.J.M. de Groot) อ้างถึงหนังสือฉบับหนึ่งในสมัย[[ราชวงศ์ซ่ง]]ที่พรรณนาว่า จินฉานเป็นตัวหนอนสีทอง เลี้ยงด้วยไหมที่ได้จากดินแดน[[ฉู่ (รัฐ)|ฉู่]] มูลของหนอนจินฉานนี้ถ้าใส่ลงในอาหาร ใครกินเข้าไปก็จะตายอย่างประหลาด หนอนเช่นนี้ืทำให้นี้ทำให้ผู้เลี้ยงร่ำรวยมาก แต่กำจัดยาก ไม่ว่าน้ำ ไฟ ดาบ หรืออาวุธอื่น ก็ไม่อาจทำอันตรายหนอนนี้ได้<ref>Groot, 1910, 5: 854.</ref>
 
กรูตยังอ้างถึงหนังสือเรื่อง ''เถี่ยเหวย์ชานฉงถาน'' (鐵圍山叢談) ที่ไช่ เทา (蔡絛) แต่งขึ้นในคริสต์วรรษที่ 12 ว่า จินฉานเกิดขึ้นครั้งแรกใน[[ฉู่ (รัฐ)|รัฐฉู่]] (蜀國) ซึ่งปัจจุบันคือ[[มณฑลเสฉวน]] แล้วภายหลังแพร่ไปใน[[มณฑลหูเป่ย์|หูเป่ย์]] [[มณฑลหูหนาน|หูหนาน]] [[มณฑลฝูเจี้ยน|ฝูเจี้ยน]] [[มณฑลกวางตุ้ง|กว่างตง]] และ[[เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง|กว่างซี]]<ref>Groot, 1910, 5: 850–851.</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กู่"