ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลเจ้ายาซูกูนิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Yasukuni Shrine 201005.jpg|thumb|ศาลเจ้ายะซุกุนิในปัจจุบัน]]
[[ไฟล์:Tokyo Shokonsha.JPG|thumb|ในยุคแรกหรือโตเกียวโชกนชะ]]
'''ศาลเจ้ายะซุกุนิ''' ({{ญี่ปุ่น|靖国神社, 靖國神社|Yasukuni JinJa}}) เป็น[[ศาลเจ้าชินโต]]ตั้งอยู่ที่ เขต[[ชิโยะดะ|ชิโยดะ]] [[กรุงโตเกียว]] สร้างขึ้นครั้งแรกใน[[ยุคเมจิ]] ปี พ.ศ. 2412 ตามความเชื่อของ[[ชินโต|ลัทธิชินโต]] มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้เสียชีวิตใน[[สงครามโบะชิง|สงครามโบชิง]] ระหว่างกองกำลังฝ่าย[[รัฐบาลเอโดะ]]กับฝ่าย[[ราชสำนักเกียวโต]] หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังถูกใช้เป็นที่สถิตของเหล่าดวงวิญญาณของทหารญี่ปุ่นที่สละชีพในสงคราม
 
== ประวัติ ==
ใน[[ยุคเมจิ]] เกิดสงครามกลางเมืองภายในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า[[สงครามโบะชิง|สงครามโบชิง]] ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายรัฐบาลเอโดะและฝ่ายของผู้จงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิ สุดท้ายฝ่ายองค์จักรพรรดิเป็นผู้ชนะ สิ้นสุดยุคของโชกุนโทะกุกะวะโทกูงาวะที่ปกครองญี่ปุ่นยาวนานกว่า 260 ปี มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก องค์จักรพรรดิเมจิมีรับสั่งให้สร้างอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สงครามโบะชิง โบชิงและพระราชทานชื่อว่า โตเกียวโชกนชะ ({{ญี่ปุ่น|東京招魂社|Tōkyō Shōkonsha}}) ต่อมา จักรพรรดิเมจิ ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเป็น''ยะซุกุนิจินจะยาซูกูนิ''ในปี พ.ศ. 2422 ซึ่งหมายถึง ''ประเทศที่สงบสุข''
 
ตัวศาลในปัจจุบันสร้างขึ้นด้วยโครงสร้างเหล็กน้ำหนักรวมกว่า 100 ตัน หรือประมาณ 100,000 กิโลกรัม นับเป็นศาลเจ้าตามลัทธิชินโตที่ใหญ่ที่สุดของกรุงโตเกียว
 
== ความเชื่อ ==
ศาลเจ้ายะซุกุนิยาซูกูนิ นับเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อตามลัทธิชินโต ซึ่งเป็นเสมือนศาสนาพื้นเมืองของญี่ปุ่น มีอิทธิพลต่อแนวความคิดทางการเมืองและทางทหารของญี่ปุ่นเป็นอย่างสูง ในคัมภีร์ชินโตระบุว่า[[หมู่เกาะญี่ปุ่น]]ได้ถูกสร้างขึ้นโดยเทพเจ้า พระจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่นสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ และชาวญี่ปุ่นก็ล้วนได้รับการคัดเลือกจากเทพเจ้า ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นเสมือนดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า
 
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นได้พัฒนาประเทศให้เจริญเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้มีการแบ่งลัทธิชินโตออกเป็น 2 ส่วน คือ
บรรทัด 19:
ญี่ปุ่นแผ่ขยายอำนาจทางการทหารในประเทศแถบเอเชียกลายเป็น[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ซึ่งในที่สุดญี่ปุ่นประสบกับความพ่ายแพ้สงครามในปี พ.ศ. 2488 ความเชื่อตามลัทธิชินโตถูกล้มล้างอย่างสิ้นเชิงโดยฝ่ายสัมพันธมิตร องค์จักรพรรดิโชวะแห่งญี่ปุ่นมีรับสั่งว่า ''สายใยแห่งความผูกพันระหว่างเรากับประชาชนของเรา มิอาจจะขึ้นอยู่กับเพียงตำนานและเทพนิยายเท่านั้น จะต้องไม่มีการกล่าวอ้างต่อไปอีกถึงแนวความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าพระจักรพรรดิคือเทพเจ้า และชนชาติญี่ปุ่นสูงส่งกว่าชนชาติอื่นและถูกกำหนดมาให้ปกครองโลก พระจักรพรรดิมิใช่เทพเจ้า''
 
เมื่อ[[สหรัฐ]]เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการภายในของประเทศญี่ปุ่น ได้กำหนดให้ทางการญี่ปุ่นเลือกว่าศาลเจ้าแห่งนี้เป็นของรัฐหรือจะให้เป็นอิสระจากรัฐ ซึ่งญี่ปุ่นเลือกที่จะให้เป็นอิสระจากรัฐบาล หลังจากนั้นศาลเจ้ายะซุกุยาซูกูนิถูกใช้เพื่อเป็นที่สถิตให้แก่เหล่าดวงวิญญาณของทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 กว่า 2,466,000 คนด้วย
ภายในศาลมีป้ายชื่อทหารที่เสียชีวิตระหว่างสงคราม บางคนมีชื่อเป็นอาชญากรสงครามรวมอยู่ด้วยกว่า 12 คน รวมทั้งนาย[[ฮิเดะกิ โทโจ|ฮิเดกิ โทโจ]] นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการให้กองทัพญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ของสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการอัญเชิญดวงวิญญาณให้มาที่สถิตอยู่ในศาลเจ้าแห่งนี้ด้วยเช่นกัน<ref name ="manager">[http://www.manager.co.th/around/ViewNews.aspx?NewsID=9480000083219 ศาลเจ้าต้องห้าม 'ยะซุกุนิ']</ref>
 
ในเวลากว่า 100 ปี ตั้งแต่ยุคเมจิ ยุคไทโช ยุคโชวะ องค์จักรพรรดิญี่ปุ่นเสด็จเยือนศาลเจ้ายะซุกุนิยาซูกูนิ รวมทั้งสิ้น 77 ครั้ง ไม่รวมการเสด็จเยือนขององค์จักรพรรดินี มกุฎราชกุมาร ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ต่างก็เสด็จเยือนศาลเจ้าแห่งนี้เช่นกัน นอกจากนี้เหล่าญาติของทหารที่เสียชีวิตในสงครามต่างก็มาเยือนศาลเจ้าแห่งนี้เป็นประจำ ซึ่งแต่ละปีจะมีการจัดสักการะปีละ 2 ครั้ง คือช่วงวันที่ 21 - 23 เมษายน และ 17 - 20 ตุลาคม ของทุกปี<ref name="cadet" />
 
== ความขัดแย้ง ==
ศาลเจ้ายะซุกุยาซูกูนิเป็นสัญลักษณ์แห่งความโหดร้ายของสงครามในสายตาของชาวเอเชียตะวันออกอย่างจีนและเกาหลีใต้ เป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่างประเทศมาโดยตลอด และตกเป็นข่าวดังภายหลังจาก[[จุงอิชิโรจุนอิจิโร โคะอิซุมิโคอิซูมิ]] นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ในขณะนั้นเดินทางไปสักการะศาลเจ้า ซึ่งถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในรอบหลายปีของญี่ปุ่นที่เดินทางไปสักการะ แม้การกระทำดังกล่าวสร้างความไม่พอใจแก่ประเทศจีนและเกาหลีใต้เป็นอย่างมาก แต่จุงอิชิโระจุนอิจิโรก็ยังคงปฏิบัติเช่นเดิมตลอดวาระของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกว่า 6 ปี มีเพียงปีเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้ไปเนื่องจากการประชุมเอเชีย-แอฟริกา<ref name="manager" /> <ref>[http://www.wonder12.com/2011/09/yasukuji-shrine.html ยาสุกุนิ ศาลเจ้าประเด็นความขัดแย้ง]</ref>
 
== การท่องเที่ยว ==
ในด้านการท่องเที่ยวศาลเจ้ายะซุกุนิยาซูกูนิ เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางเข้าชม และมีการจัดงานฉลองเกือบทั้งปี<ref>[http://www.yasukuni.or.jp/english/festivals/index.html Festivals (Matsuri Rituals)]</ref>
 
== อ้างอิง ==