ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็ลเซ็ท 129 ฮินเดินบวร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 45:
โดยความเป็นจริงแล้วเรือเหาะกราฟ เซบเปลินของยเอรมันไม่เคยประสบอุบัติเหตุใดๆ มาก่อนเหตุการณ์ครั้งนี้เลย จะมีก็เป็นของผู้ผลิตอื่นของประเทศอื่น เซบเปลินเดินทางมาแล้ว 1. 6 ล้านกิโลเมตร รวมทั้งการเดินทางรอบโลกเป็นผลสำเร็จ บริษัท “ลุฟท์ชิฟฟ์บาว เซพเพลิน” มีความภาคภูมิใจที่ไม่เคยมีผู้โดยสารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว
 
กาการรายงานข่าวที่น่าตระหนกมีผลให้คนหมดความเชื่อมั่นในการเดินทางด้วยเรือเหาะและหันไปโดยสารเครื่องบินที่แม้จะอึดอัดคับแคบกว่าแต่ก็เร็วกว่ามากยิ่งขึ้น ทำให้บริษัทการบินแพนอเมริกันของสหรัฐฯ สามารถเปิดบริการธุรกิจบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้เป็นประจำ
 
ในสมัยนั้น เทคโนโลยีการสืบสวนหายนะยังไม่ดีนัก การสืบสวนในสมัยนั้นจึงไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ เมื่อนักวิชาการยุคปัจจุบันจะมาสืบสวน สิ่งที่มีให้สืบสวนก็มีเพียง หลักฐานแสดงคำบอกเล่าของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ฟิล์มวิดีโอบันทึกเหตุการณ์ การสืบสวนดำเนินไปนานพอสมควร ก็ได้ข้อสรุปที่แน่นอนว่า การใช้ผ้าลินินในการห่อหุ้มเรือเหาะฮินเดนบูร์กทั้งลำนั้น ระหว่างการเดินทางจะเกิดการเสียดสีกับอากาศ ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต การเสียดสีเกิดขึ้นตลอดเส้นทางจนกลายเป็นไฟฟ้ามหาศาล สถิตอยู่ในผ้าลินิน และลวดภายในเรือ เมื่อเดินทางมาถึงและเตรียมลงจอดนั้น เกิดมีลมเปลี่ยนทิศ ถ้าหากจะจอดดีๆ ต้องอ้อมสนามบินไปลงจอด แต่ในขณะนั้น ฮินเดนบูร์กเดินทางมาถึงล่าช้าไปแล้ว 6 ชม. กัปตันตัดสินใจเลี้ยวเรือเหาะโดยตีวงเลี้ยวแคบมาก ซึ่งฮินเดนบูร์กไม่ได้ออกแบบให้มีวงเลี้ยวแคบขนาดนั้น ลวดเส้นหนึ่งทนแรงเหวี่ยงจากการเลี้ยวไม่ไหวจึงขาด และสะบัดไปโดนถุงแก๊ส[[ไฮโดรเจน]] ทำให้แก๊สรั่วออกมา และเมื่อฮินเดนบูร์กปล่อยเชือกลงมายังพื้นดินเพื่อให้ภาคพื้นดินดึงเรือเหาะลงไป ไฟฟ้าสถิตในเรือเหาะถูกส่งผ่านสายเชือกลงมายังพื้นดิน ลวดสามารถนำไฟฟ้าผ่านไปยังเชือก และนำลงสู่พื้นดินได้อย่างรวดเร็ว แต่ผ้าลินินไม่นำไฟฟ้าดีนัก ไฟฟ้าจึงเดินทางออกไปได้ช้ากว่า ไม่นานก็เกิดเป็นความต่างศักย์ของไฟฟ้าภายในเรือเหาะ และในที่สุดเมื่อความต่างศักย์ระหว่างผ้าลินินกับลวดสูงมากพอ ก็เกิดกระแสไฟฟ้าที่มองเห็นได้ (คล้ายๆกับฟ้าผ่า) เดินทางจากผ้าลินินไปหาลวด ซึ่งการเดินทางของไฟฟ้าทำให้มีอุณหภูมิสูงพอที่ทำให้แก๊สไฮโดรเจนที่รั่วออกมาอยู่แล้วเกิดติดไฟ และฮินเดนบูร์กก็พบจุดจบ
 
=== ยอดผู้เสียชีวิต ===