ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 70:
 
=== งานการเมือง ===
เมื่อกลับมาอยู่[[เชียงใหม่]] ได้รับมอบหมายจากพระพิจิตรโอสถผู้เป็นบิดาให้ดูแลไร่นาและเก็บผลประโยชน์ที่[[จังหวัดเชียงราย]] ระหว่างนั้นได้ศึกษากฎหมายจนจบเนติบัณฑิต ด้านชื่อเสียงในสังคมได้รับเลือกเป็น[[เทศบาลนครเชียงใหม่|นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่]]เป็นคนแรก เมื่อปี [[พ.ศ. 2479]]–[[พ.ศ. 2480]] ได้รับเลือกเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย|ผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย]]หลายสมัย และได้เข้าร่วมตำแหน่งสำคัญ ๆ ในคณะรัฐบาล [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]]<ref>[http://www.cabinet.thaigov.go.th/cab_26.htm คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]</ref> หลังการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490|รัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2490]] ด้วยการร่วมในการรัฐประหารด้วย โดยบุคคลในคณะรัฐประหารเรียก พันเอก นายวรการบัญชาอย่างเคารพว่า ''"พี่วร"''

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงเช่น รัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีสั่งการกระทรวงคมนาคม, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ]], [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ]], [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง]] ต่อมาได้รับตำแหน่ง[[รายนามรองนายกรัฐมนตรีของไทย|รองนายกรัฐมนตรี]]และเคยเป็น[[รายนามประธานรัฐสภาไทย|ประธานวุฒิสภา]]อีกด้วย
 
ในเหตุการณ์ [[กบฏแมนฮัตตัน]] วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น.นายวรการบัญชา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการให้ประกาศ[[กฎอัยการศึก]] ใน[[จังหวัดพระนคร]]และ[[จังหวัดธนบุรี]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/041/3.PDF</ref> โดยผ่าน[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร]] นับว่าเป็นบุคคลแรกที่รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ การใช้กฎอัยการศึกในรัชกาลของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
 
== บั้นปลายชีวิต ==