ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วีรพงษ์ รามางกูร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
| footnotes =
}}
'''ดร. วีรพงษ์ รามางกูร''' หรือ '''ดร.โกร่ง'''<ref name=parchachat>[http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1321070016&grpid=no&catid=04 เปิดใจ...วีรพงษ์ รามางกูร ขอ 1 ปี ปรับโฉมประเทศฟื้นเชื่อมั่น-เศรษฐกิจ]</ref> [[รองนายกรัฐมนตรี]] ในรัฐบาลของพลเอก[[ชวลิต ยงใจยุทธ]] และ[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง]]ในรัฐบาลของพลเอก[[ชาติชาย ชุณหะวัณ]] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)<ref>http://www.ryt9.com/tag</ref> นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]]<ref>http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000085950</ref> อดีตที่ปรึกษาเศรษฐกิจในหลายรัฐบาล อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก[[เปรม ติณสูลานนท์]] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ <ref>http://webcache.googleusercontent.com/search?</ref> อดีตคณบดี[[คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 
== ชาติภูมิ ==
วีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เดิมชื่อนายประดับ บุคคละ เกิดวันที่ [[1 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2486]] ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร (แดง) หรือนายประดิษฐ์ บุคคละ และนางบุญศรี รามางกูร (สกุลเดิม เกิดเล็ก) เชื้อสายฝ่ายปู่เป็นตระกูลเจ้านาย[[ลาว]][[เวียงจันทน์]] ผู้ปกครองเมือง[[ธาตุพนม]] (เมืองพนม) ในอดีต ส่วนเชื้อสายฝ่ายย่าเป็นตระกูลเจ้านาย[[ภูไท]][[เมืองวัง]] ผู้ปกครองเมือง[[เรณูนคร]] (เมืองเว) ในอดีต ปัจจุบันทั้งสองเมืองนี้คือ[[อำเภอธาตุพนม]]และ[[อำเภอเรณูนคร]]ใน[[จังหวัดนครพนม]]
 
ปู่ของวีรพงษ์ รามางกูร มีนามว่า เจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ผู้ตั้งสกุลรามางกูรแห่ง[[อำเภอธาตุพนม]] บุตรชายท่านที่ 3 ของ[[อาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุณ]] (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมองค์ที่ 2 กับอาชญานางบุษดี ธิดาอาชญาหมื่นนำรวง [[กรมการเมือง]]ธาตุพนม หลานสาวกวานหลวงอามาตย์ (อำนาจ) [[นายกอง]][[ข้าโอกาส]][[พระธาตุพนม]]และอดีตกวาน[[เวียงชะโนด]] ใน[[อำเภอหว้านใหญ่]] [[จังหวัดมุกดาหาร]] ต้นตระกูลฝ่ายคุณปู่พระนามว่า [[อาชญาหลวงรามราชรามางกูร]] หรือ[[ขุนรามราชรามางกูร]] (ราม ต้นตระกูล รามางกูร) คนทั่วไปรู้จักในนามเจ้าพ่อขุนรามหรือเจ้าพ่อขุนโอกาส เจ้าเมืองธาตุพนมพระองค์แรกจาก[[ราชวงศ์เวียงจันทน์]] กับอาชญานางยอดแก้วสิริบุญมา ธิดาเจ้าอุปละ (ศรีสุมังค์) แห่งนคร[[จำปาศักดิ์]] นอกจากนี้ วีรพงษ์ รามางกูร ยังมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของ[[พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท]] (เมฆ รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมองค์ที่ 3 ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) และวีรพงษ์ รามางกูร ยังมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของ[[เจ้าพระอัครบุตร์]] (บุญมี ต้นตระกูล บุคคละ) กรมการชั้นผู้ใหญ่ของเมืองธาตุพนมผู้เป็นพี่ชายของเจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ด้วย <ref>http://viratts.wordpress.com/</ref> ตระกูลฝ่ายบิดาของวีรพงษ์ รามางกูร นับได้ว่าสืบเชื้อสายจากเจ้าเมือง นายกอง และเจ้านายชั้นสูง (ขุนโอกาส) ผู้ดูแลรักษาพระบรมธาตุพนมมาหลายชั่วอายุคน ตลอดจนรับราชการในเมืองนครจำปาศักดิ์ และสืบเชื้อสายปฐมวงศ์จากราชวงศ์เวียงจันทน์สายสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารอีกด้วย
บรรทัด 41:
 
== ประวัติ ==
เมื่อวัยเยาว์นั้นกรุงเทพมหานครเกิดสงคราม ดร.วีรพงษ์ รามางกูร จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับยายซึ่งมีอาชีพทำนา ที่[[อำเภอบางบ่อ]] โดยมีป้าเป็นผู้เลี้ยงดูใกล้ชิด ส่วนบิดาทำงานอยู่ที่โรงพักบางรักแล้วย้ายไปอยู่พญาไท ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานตามบิดาไปอยู่ที่อำเภอธาตุพนม [[จังหวัดนครพนม]] โดยอาศัยอยู่กับเจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ผู้เป็นปู่ที่ธาตุพนมเป็นเวลาถึง 7 ปี ด้วยปัญหาความขัดแย้งของตระกูลเจ้านายธาตุพนมเดิม เป็นเหตุให้เจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ซึ่งแต่เดิมใช้สกุล บุคคละ ตามพี่ชายคนโตคือ เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) เจ้าพระอุปฮาตได้ปรึกษากับบุตรชายคนรองคือ นายดวง รามางกูร (ป.ธ., พระราชทานเพลิง) ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของวีรพงษ์ รามางกูร ตั้งสกุลรามางกูรขึ้นใหม่ เป็นเหตุให้ทายาทสกุลบุคคละเดิม รวมถึง วีรพงษ์ต้องเปลี่ยนสกุลจากบุคคละมาเป็นรามางกูรตามปู่และบิดาของตน วีรพงษ์ รามางกูร เป็นคนเฉลียวฉลาดมีสติปัญญาดีมาก และมีความขยันขันแข็งพากเพียร ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนเป็นอันดับ 1 ในชั้นเรียนมาโดยตลอด จนเป็นที่เล่าลือและชื่นชมในหมู่ญาติและครูอาจารย์ เมื่อวัยเยาว์ได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ตัวจังหวัดนครพนม คือโรงเรียนเทศบาล 2 และโรงเรียนสุนทรวิจิตร จนจบประถม 4 ก่อนจะย้ายตามบิดาเข้ากรุงเทพมหานคร อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2496 ฝ่ายบิดานั้นได้ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนศรีอยุธยา เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่[[โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย]] จากนั้นศึกษาต่อที่[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] แผนกวิทยาศาสตร์ รุ่นเดียวกับสุรศักดิ์ นานานุกูล เมธี ครองแก้ว และศิริบุญ เนาถิ่นสุข จากนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง เป็นคนแรกจาก[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ในขณะที่ศึกษาอยู่ก็สอบได้เป็นอันดับ 1 มาตลอดทุกเทอม ต่อมาได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำแผนกวิชาการต่างประเทศและการทูต ร่วมมือกับ ศ. บำรุงสุข สีหอำไพ ก่อตั้งแผนกอิสระสื่อสารมวลชน ซึ่งต่อมาคือคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่นานจึงได้รับทุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เข้าศึกษาต่อทางด้านวิชาเศรษฐมิติ ([[Econometrics]]) ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ใช้ชีวิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกานาน 5 ปีครึ่ง และมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มอบทุนค่าใช้จ่ายให้มากสุดถึงเดือนละ 300 เหรียญ เป็นเหตุให้หลังจากกลับจากการศึกษาต่อ วีรพงษ์สามารถสร้างบ้านส่วนตัวหลังแรกได้สำเร็จ ต้นปี พ.ศ. 2515 ได้กลับมาเป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2519 อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร สังกัดธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังปี พ.ศ. 2526 เข้าทำงานที่สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย จากนั้น พ.ศ. 2533 ได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาลประเทศลาว ในการวางแผนเศรษฐกิจจากระบบสังคมนิยมมาเป็นระบบทุนนิยม ตามนโยบายเปิดประเทศ เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน และยกย่องกันว่าทางรัฐบาลลาวได้ไว้วางใจและนับถือ วีรพงษ์ รามางกูร ว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจประเทศลาวเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ได้ให้วีรพงษ์ เข้าไปช่วยเหลือการสร้างแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการเงินและเศรษฐกิจของลาว<ref>http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=9942</ref>
 
วีรพงษ์ รามางกูร มีพี่น้องทั้งหมด 6 ท่าน ได้แก่