ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนเยาวราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Chinatown bangkok.jpg|thumb|250px|เยาวราชในปัจจุบัน ยามพลบค่ำ]]
 
'''ถนนเยาวราช''' ({{lang-roman|Thanon Yaowarat}}; {{lang-zh|耀華力路}}) เป็นถนนสายหนึ่งใน[[กรุงเทพมหานคร]] ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "[[ถนน]][[มังกรจีน|มังกร]]" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน<ref>[http://www.thaitravelhealth.com/blog/%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/ ถนนมังกร]</ref> สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี [[พ.ศ. 2434]] - [[พ.ศ. 2443]] เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช"<ref>[http://www.thaitravelhealth.com/blog/%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/ ถนนเยาวราช ถนนเก่าแก่ในสมัย ร.5]</ref>
 
ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น [[วงเวียนโอเดียน]] [[ถนนเจริญกรุง]] ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ [[เขตสัมพันธวงศ์]] ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับ[[ถนนทรงสวัสดิ์]] (สี่แยกเฉลิมบุรี) [[ถนนราชวงศ์]] (สี่แยกราชวงศ์) และ[[ถนนจักรวรรดิ]] (สี่แยกวัดตึก) ข้าม[[คลองรอบกรุง]] (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ [[เขตพระนคร]] สิ้นสุดที่แยก[[ถนนพีระพงษ์]]ตัดกับ[[ถนนมหาไชย]]และ[[ถนนจักรเพชร]]
บรรทัด 28:
 
เนื่องด้วยในเวลานั้นมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างคนไทยกับคนไทยเชื้อสายจีนหรือชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านเยาวราช ถึงกับมีการทำร้ายร่างกายคนไทยที่เข้าไปในบริเวณนี้ อันเนื่องมาจากความฮึกเหิมในเชื้อชาตินิยมหลังจากการที่จีนเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจ หลังสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งที่ต้องจารึกไว้ อันเป็นการสลายความขัดแย้งทั้งหมดไปได้<ref>รักชาติ ผดุงธรรม. ''เบื้องหลังกรณีสวรรคต รัชกาลที่ ๘''. กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, 2550. 288 หน้า. ISBN 978-974-8130-47-7</ref>
== วัฒนธรรมและเทศกาล ==
 
== วัฒนธรรม ==
{{โครง-ส่วน}}
 
== เทศกาล ==
{{โครง-ส่วน}}
=== เทศกาลตรุษจีน ===
ในช่วง[[เทศกาลตรุษจีน]]ของทุกปี เยาวราชจะมีความคึกคักเป็นอย่างมาก จนมีการปิดถนนเป็นถนนคนเดิน มีการประดับโคมไฟสีแดงจำนวนมากเพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของจีน โดยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง เช่น [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] มักจะเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานเป็นประจำทุกปี ด้วยการดำเนิน<ref>{{cite web|url=https://news.mthai.com/general-news/421621.html|title=ด่วน! แจ้งปิด ถนนเยาวราช 17-20ก.พ. รับเทศกาลตรุษจีน|date=2015-02-16|accessdate=2017-01-20|work=[[เอ็มไทยดอตคอม]]}}</ref> <ref>{{cite web|url=http://news.ch3thailand.com/royal/4089|title=พระเทพฯ เสด็จเปิดงานตรุษจีนเยาวราชสานสัมพันธ์ 2 ประเทศ|date=2016-02-08|accessdate=2018-01-20|work=[[ช่อง 3]]}}</ref>
=== เทศกาลกินเจ ===
ในช่วงเทศกาล[[กินเจ]] เยาวราชก็มีความคึกคักเช่นเดียวกัน โดยจะมีผู้คนออกมาจับจ่ายหาซื้ออาหารเจเป็นจำนวนมากเป็นประจำทุกปี<ref>{{cite web|title=กินเจย่านเยาวราชบรรยากาศคึกคัก|date=2016-10-02|accessdate=2018-01-20|work=ไอเอ็นเอ็น|url=http://www.innnews.co.th/show/733329/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%84%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%81}}</ref> <ref>{{cite web|url=https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/35823|work=[[พีพีทีวี]]|date=2016-09-30|accessdate=2018-01-20|title=เยาวราชคึกคัก คนแห่กินเจ ไม่หวั่นแม้ราคาสูงขึ้น (คลิป)}}</ref>
 
=== ศาสนสถาน ===
== สถานมงคล ==
เยาวราชและรวมไปถึงฝั่งถนนเจริญกรุงเป็นแหล่งที่ตั้งของ[[ศาสนสถาน]]มากมายหลายแห่ง ในหลากหลายความเชื่อทั้งพุทธ[[หินยาน]], [[มหายาน]] รวมถึง[[อนัมนิกาย]]<ref>{{cite web|url=https://anamnikayathai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=105:watloka&catid=14&Itemid=119|title=วัดโลกานุเคราะห์|work=อนัมนิกายแห่งประเทศไทย}}</ref> เช่น ศาลเจ้า[[กวนอู]]ถึง 2 แห่ง (แขวงตลาดน้อยและย่านตลาดเก่า), ศาล[[เจ้าแม่กวนอิม]], ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ, [[วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร]], [[วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร]] (วัดเกาะ), [[วัดโลกานุเคราะห์]], วัด[[เล่งเน่ยยี่]], วัดชัยภูมิการาม, [[วัดกันมาตุยาราม]], วัดบำเพ็ญจีนพรต เป็นต้น<ref>{{cite web|title=ยิ่งไหว้ยิ่งรวย! เที่ยวเยาวราชไหว้ 5 วัดเด็ด เอาเคล็ดเสริมมงคลตรุษจีน |url= https://www.thairath.co.th/content/482050|date=2015-02-10|accessdate=2018-01-20|work=ไทยรัฐ}}</ref> <ref>{{cite web|work=[[ผู้จัดการรายวัน]]|date=2009-01-25|author=หนุ่มลูกทุ่ง|accessdate=2018-01-20|url=https://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000010761|title=ตระเวนเยาวราช ไหว้ 8 ศาลเจ้าเอาฤกษ์ตรุษจีน}}</ref>
ศาลเจ้าไต่เสี่ยฮุกโจ้ว ที่ตั้ง หลังวัดไตรมิตรวิทยาราม
ศาลเจ้าแม่กวนอิม ที่ตั้ง มูลนิธิเทียนฟ้า
 
== ธุรกิจการค้า ==
เยาวราชเป็นแหล่งรวมธุรกิจการค้าต่าง ๆ หลากหลายประเภท เช่น เทปและซีดีสวดมนต์รวมไปถึงเพลงของจีน, ของเล่นเด็ก, ชุด[[กี่เพ้า]], โคมไฟและผ้าแดงมงคล, [[เครื่องประดับ]], ปฏิทิน, อาหารแห้ง, ห้างทอง รวมไปถึงโรงแรมที่พักต่าง ๆ และยังเคยเป็นที่ตั้งของ[[โรงภาพยนตร์]]และโรง[[อุปรากรจีน|งิ้ว]]ต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในอดีตอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/03/K9035222/K9035222.html|title= รายชื่อโรงภาพยนต์ในย่านเยาวราชจนถึงวังบูรพา{แตกประเด็นจาก K9026952}|author=suchu|date=2010-03-25|accessdate=2018-01-20|work=[[พันทิปดอตคอม]]}}</ref> ซึ่งผลจากธุรกิจที่หลากหลายอันนี้ ทำให้ราคาซื้อขายที่ดินที่เยาวราชยังติดอันดับที่ดินราคาแพงที่สุดลำดับต้น ๆ ในประเทศไทยอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.thansettakij.com/content/54776|title=เปิดพื้นที่ราคาที่ดินแพงสุด/ถูกสุด|date=2016-05-24|accessdate=2018-01-20|work=[[ฐานเศรษฐกิจ]]}}</ref>
{{โครง-ส่วน}} ธุรกิจการค้าในเยาวราชมีสิ่งต่างๆหลายอย่างมากมาย อาทิ เช่น เทปสวดมนต์/ของจีนแดง ของเล่นโทมี่เท็กซ์ เต็งลั้ง/เสื้อผ้าไสตล์จีน/โคมไฟ/ผ้าแดงมงคล/ อาหาร ปฐิทินของในและนอก ณ ถนนเยาวราชยังคงมีโรงภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในเยาวราช ชื่อว่า โรงภาพยนตร์ไชน่าเทาว์ราม่า ศรีเมืองเก่า ฉายหนัง2เรื่องควบทั้งวัน เปิดตั้งแต่ เวลา 12.00 - 21.00 50บาทดูได้ตลอดวัน
=== ห้างทอง ===
=== ภัตตาคารอาหารจีน ===
ภัตตาคาร หรือร้านอาหารส่วนใหญ่ในย่านเยาวราช จะเป็นร้าน[[อาหารจีน]] ที่ขึ้นชื่อและมีชื่อเสียงในระดับโลกจะเป็น[[อาหารริมทาง]]รวมถึง[[เครื่องดื่ม]]ชนิดต่าง ๆ มีเมนูที่หลากหลาย ถึงขนาดที่สำนักข่าว[[ซีเอ็นเอ็น]]ให้การยกย่องว่าเป็นแหล่งอาหารริมทางที่ดีที่สุดในโลกติดต่อกันถึง 2 ปีซ้อน บางร้านยังเป็นร้านที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น[[บิบกูร์มองด์]]จาก[[มิชลินไกด์]]<ref>{{cite web|url=http://www.brandage.com/article/2588/MICHELIN-Guide-Bib-Gourmand-|title=เปิดรายชื่อ 33 ร้าน “บิบ กูร์มองด์” ร้านอาหารสำหรับคนกระเป๋าเบา|date=2017-12-07|accessdate=2018-01-20|author=S.Vutikorn|work=BrandAge}}</ref> เปิดจำหน่ายทั้งกลางวันและกลางคืน เช่น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาและ[[เย็นตาโฟ]], ข้าวขาหมู, [[หมูสะเต๊ะ]], [[หอยทอด]], [[ผัดไทย]], [[กวยจั๊บ]], [[น้ำเต้าหู้]], ห่านและเป็ด[[พะโล้]], [[หูฉลาม]]และกระเพาะปลา, ข้าวหมูแดง, อาหารตามสั่ง, [[เกาลัด]]คั่ว, [[บ๊ะจ่าง]], [[ติ่มซำ]], [[พระรามลงสรง]]<ref>{{cite web|url=http://www.thaipost.net/home/?q=node/39150|title=ข้าวพระรามลงสรง ซ.แปลงนาม เยาวราช|date=2017-12-10|accessdate=2018-01-20|work=[[ไทยโพสต์]]}}</ref> เป็นต้น <ref>{{cite web|url=|title=เผยโฉมเยาวราชสตรีทฟู้ด “รายงานวันจันทร์”-เมืองอาหารริมทางดีที่สุดของโลก |url=https://www.thairath.co.th/content/969837|date=2017-06-12|accessdate=208-01-20|work=[[ไทยรัฐ]]}}</ref> <ref>{{cite web|url=https://mgronline.com/travel/detail/9570000128047|title=หลากเมนูเด็ด อร่อยชวนชิมในตรอก “สำเพ็ง”|date=2014-11-07|accessdate=2018-01-20|work=ผู้จัดการรายวัน}}</ref>
ร้านอาหารที่จะเห็นได้ที่ถนนเยาวราชนั้นก็ต้องเป็นอาหารจีนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหูฉลาม รังนก ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ข้าวผัดหมู ข้าวแกง เป็นต้น
ร้านอาหารที่จะเป็นห้องๆ ส่วนใหญ่จะขายหูฉลามไม่ก็รังนก โดยเฉพาะหูฉลามร้านจะมีเยอะเป็นพิเศษ จึงเป็นสถานที่ ที่เหมาะกับคนรักหูฉลามอย่างมาก
 
=== ตลาดเยาวราช ===
ตลาดเยาวราช หรือที่นิยมเรียกว่า ตลาดเก่า ตั้งอยู่ระหว่างซอยเจริญกรุง 18 กับ ซอยเยาวราช 6 เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารแห้งและอาหารสดพร้อมรับประทานจำนานมาก ได้รับความนิยมและเป็นที่คึกคักอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล เช่น [[ตรุษจีน]]และ[[กินเจ]]<ref>{{cite web|url=http://www.naewna.com/local/237936|work=[[แนวหน้า]]|date=2016-09-30|accessdate=2018-01-20|title=บรรยากาศ'ตลาดเก่าเยาวราช' ปชช.เริ่มล้างทอง-เลือกซื้อเมนูเจ}}</ref>
 
==ในวัฒนธรรมร่วมสมัย==
เส้น 60 ⟶ 53:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{geolinks-bldg|13.741136|100.508305}}
*[http://www.chinatownyaowarach.com/ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ]
*[https://www.facebook.com/chinatownyaowarach/ เฟซบุก]
*[https://thai.tourismthailand.org/%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A เยาวราช] เยาวราช จาก[[การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย]]
{{สร้างปี|2441}}
[[หมวดหมู่:ถนนในเขตสัมพันธวงศ์|ยเยาวราช]]